จักกวัตติ

ก่อนหน้า

จักกวัตติ วรรคที่สาม

พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ต้องถือเอาองค์ห้าประการแห่งแผ่นดิน เป็นไฉน?"

พระเถรเจ้าทูลว่า "ขอถวายพระพร ในเมื่อบุคคลเรี่ยรายของที่พึงใจและของไม่พึงใจ มีการบูร กฤษณา แก่นจันทน์ หญ้าฝรั่น เป็นต้นก็ดี มีดี เสมหะ บุพโพ โลหิต เหงื่อ มันข้น เขฬะ น้ำมูก น้ำไขข้อ นํ้ามูตร อุจจาระ เป็นต้นก็ดี ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินก็เป็นของเฉยอยู่เช่นนั้น ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียรก็ต้องเป็นผู้มีจิตเพิกเฉยเช่นนั้น ในลาภและมิใช่ลาภ ยศและมิใช่ยศ ความนินทาและความสรรเสริญ สุขและทุกข์ อันเป็นของพึงใจและมิใช่ของพึงใจทั้งปวง ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่หนึ่งแห่งแผ่นดิน.

อนึ่ง แผ่นดินปราศจากเครื่องตกแต่ง ก็อบอวลด้วยกลิ่นของตนเอง ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียรปราศจากเครื่องตกแต่งก็ต้องเป็นผู้อบอวลแล้วด้วยกลิ่น คือ ศีลของตนเอง ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สองแห่งแผ่นดิน.

อนึ่ง แผ่นดินเป็นของไม่มีระหว่าง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นของหนาทึบ กว้างขวาง ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียรก็ต้องเป็นผู้มีศีลอันไม่เป็นระหว่าง ไม่เป็นท่อน ไม่ทะลุ ไม่เป็นโพรง เป็นของหนาทึบกว้างขวาง ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สามแห่งแผ่นดิน.

อนึ่ง แผ่นดินแม้ทรงไว้ซึ่งบ้าน นิคม เมือง ชนบท และหมู่แห่งต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ สระบัว เนื้อ นก มนุษย์ชายหญิง ก็เป็นของไม่ย่อท้อ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียรกล่าวสอนก็ดี พรํ่าสอนก็ดี ให้รู้แจ้งก็ดี ให้เห็นพร้อมก็ดี ให้ถือเอาพร้อมก็ดี ให้กล้าหาญก็ดี ให้ร่าเริงก็ดี ก็ต้องไม่เป็นผู้ย่อท้อ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่นึ่แห่งแผ่นดิน.

อนึ่ง แผ่นดินเป็นของพ้นพิเศษแล้วจากความยินดีและความยินร้าย ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้พ้นพิเศษแล้วจากความยินดีและความยินร้าย มีจิตเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ทุกอิริยาบถ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่ห้าแห่งแผ่นดิน.

แม้นางจุฬสุภัททาอุบาสิกา ผู้ยกย่องสมณะทั้งหลายของตน ก็ได้กล่าวไว้ว่า:-
"ข้าพเจ้ามีใจโกรธแล้ว พึงทาสมณะองค์หนึ่งด้วยของหอม. ความยินร้ายย่อมไม่มีในสมณะองค์นั้น, ความยินดีย่อมไม่มีในสมณะองค์นั้น, สมณะทั้งหลายนั้น เป็นผู้มีจิตเสมอด้วยแผ่นดิน, สมณะทั้งหลายของข้าพเจ้าเป็นผู้มีใจเฉยอยู่ เช่นนั้น ดังนี้."

ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ต้องถือเอาองค์ห้าประการแห่งน้ำ เป็นไฉน?"

ถ. "ขอถวายพระพร น้ำเป็นของบริสุทธิ์โดยความเป็นเอง ด้วยความเป็นของตั้งอยู่พร้อมดี และไม่หวั่นไหว ไม่ขุ่นมัว ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้มีอาจาระบริสุทธิ์โดยความเป็นเอง ด้วยความเป็นผู้มีจิตตั้งอยู่พร้อมดี และไม่หวั่นไหว ไม่ขุ่นมัว เพราะนำเสียซึ่งความเป็นคนมีชื่อเสียงชั่ว เหตุพูดโกง และเป็นคนขี้ฉ้อ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่หนึ่งแห่งน้ำ.

อนึ่ง น้ำตั้งอยู่พร้อมโดยความเป็นของมีอันเย็นเป็นสภาพ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยความอดทน และเมตตา และความเอ็นดู มีปกติแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลในสัตว์ทั้งปวง ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สอง แม่น้ำ.

อนึ่ง น้ำย่อมทำของที่ไม่สะอาดให้สะอาด ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้ไม่มีอธิกรณ์ มักทำสิ่งที่มิใช่โอกาสที่ตั้งแห่งอธิกรณ์ ในที่และบุคคลทั้งปวง คือในบ้านหรือป่า ในอุปัชฌาย์อาจารย์ หรือชนทั้งหลายผู้เป็นอาจารย์ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สามแห่งน้ำ.

อนึ่ง น้ำเป็นของอันชนมากปรารถนา ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ยินดีตามมี มีจิตสงัด มีจิตวังเวง ก็ต้องเป็นผู้อันโลกทั้งปวงปรารถนาเฉพาะเนือง ๆ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สี่แห่งน้ำ.

อนึ่ง น้ำย่อมไม่เข้าไปตั้งไว้ซึ่งสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ใคร ๆ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องไม่กระทำซึ่งบาปด้วยกาย วาจา ใจ อันยังความบาดหมาง ทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาท เพ่งความเสีย ความริษยาให้เกิด ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่ห้าแห่งน้ำ.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เทพาดิเทพ ก็ได้ทรงภาสิตไว้ในกัณหชาดกว่า:-
"ข้าแต่ท้าวสักกะ ผู้เป็นอิสระแห่งภูตทั้งปวง ถ้าพระองค์จะประทานสิ่งที่ให้เลือกแก่ข้าพระองค์, ใจหรือสรีระของข้าพระองค์กระทำแล้ว ไม่พึงเข้าเบียดเบียนใคร ๆ ในกาลไร ๆ ข้าพระองค์ขอเลือกสิ่งที่ให้เลือกนี้ ดังนี้."

ร. "พระนาคเสนผู้เจริญ, ต้องถือเอาองค์ห้าประการแห่งไห เป็นไฉน?"

ถ. "ขอถวายพระพร ไฟย่อมเผาหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเผากิเลสทั้งหลายซึ่งไปตามอารมณ์ที่พึงใจและไม่พึงใจ มีในภายในและภายนอกทั้งหวง ด้วยไฟ คือ ญาณปรีชา ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่หนึ่งแห่งไฟ.

อนึ่ง ไฟเป็นของไม่มีความเอ็นดูไม่มีความกรุณา ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องไม่ทำความเอ็นดูความกรุณาในกิเลสทั้งปวง ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สองแห่งไฟ.

อนึ่ง ไฟย่อมบำบัดเสียซึ่งความหนาว ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องยังไฟอันร้อนพร้อมกล่าว คือ ความเพียรให้เกิดเฉพาะแล้ว บำบัดเสียซึ่งกิเลสทั้งหลาย ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สามแห่งไฟ.

อนึ่ง ไฟพ้นพิเศษแล้วจากความยินดีและความยินร้าย ย่อมยังความร้อนให้เกิดเฉพาะ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้พ้นพิเศษแล้วจากความยินดีและความยินร้าย มีจิตเสมอด้วยไฟอยู่ทุกอิริยาบถ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สี่แห่งไฟ.

อนึ่ง ไฟย่อมกำจัดเสียซึ่งความมืด ส่องแสงสว่าง ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องกำจัดเสียซึ่งความมืด คือ อวิชชา ส่องแสงสว่าง คือ ญาณ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่ห้าแห่งไฟ.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เทพาดิเทพ ทรงสั่งสอนพระราหุลพระโอรสของพระองค์ก็ได้ตรัสไว้ว่า:-
"ราหุล ท่านจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟ, เพราะว่าเมื่อท่านเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดก็จะไม่เกิดขึ้นได้ อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ ดังนี้."

ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ต้องถือเอาองค์ห้าประการแห่งลม เป็นไฉน?"

ถ. "ขอถวายพระพร ลมย่อมหอมเอากลิ่นดอกไม้อันบานในภายในป่า ฉันใด โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องไปในราวป่า คือ อารมณ์ ซึ่งมีดอกไม้ คือ วิมุตติ อันประเสริฐบานแล้ว ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่แรกแห่งลม.

อนึ่ง ลมย่อมยํ่ายีเสียซึ่งหมู่ต้นไม้อันขึ้น ณ แผ่นดิน ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องไปภายในป่า พิจารณาสังขารทั้งหลาย ยํ่ายีเสียซึ่งกิเลสทั้งหลาย ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สองแห่งลม.

อนึ่ง ลมย่อมพัดไปในอากาศ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องยังจิตให้สัญจรไปในโลกุตตรธรรมทั้งหลาย ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สามแห่งลม.

อนึ่ง ลมย่อมเสวยซึ่งกลิ่นแห่งคันธชาติ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเสวยกลิ่นเป็นที่ยินดีด้วยดี กล่าวคือ ศีลของตน ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สี่แห่งลม.

อนึ่ง ลมของเป็นไม่มีอาลัย ไม่มีที่อยู่ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้ไม่มีอาลัย ไม่มีที่อยู่ ไม่มีความชมเชย เป็นผู้พ้นพิเศษแล้วในที่ทั้งปวง ฉันนั้น. นี้แลต้องถือเอาองค์ที่ห้าแห่งลม.

แม้พุทธภาสิตนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ในสุตตนิบาตว่า:-
"ภัยเกิดแล้วแต่ความชมเชย ธุลีย่อมเกิดแต่ที่อยู่, ความไม่มีที่อยู่ ความไม่มีความชมเชยนั้น เป็นเครื่องส่อให้รู้ความเป็นนักปราชญ์ ดังนี้."

ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ต้องถือเอาองค์ห้าประการแห่งภูเขา เป็นไฉน?"

ถ. "ขอถวายพระพร ภูเขาเป็นของไม่หวั่นไหวไม่สะเทือน ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องไม่ยินดี ไม่ขัดเคือง ไม่หลงในความยกย่อง ความดูหมิ่น ความกระทำดี ความไม่กระทำดี ความเคารพ ความไม่เคารพ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ หรืออารมณ์ที่พึงใจและไม่พึงใจทั้งปวง ไม่กำหนัดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ประทุษร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ไม่หลงในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่หวั่นไหว ไม่สะเทือนในเหตุทั้งหลาย มียกย่องเปีนต้นนั้น ฉันนัน. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่หนึ่งแห่งภูเขา.

แม้พระพุทธภาสิตนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า:-
"ภูเขาแล้วด้วยศิลาทึบเป็นแท่งเดียว ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยลมฉันใด, บัณฑิตทั้งหลาย ก็ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะนินทาและสรรเสริญทั้งหลาย ฉันนั้น ดังนี้."

อนึ่ง ภูเขาเป็นของแข็งแรง ไม่ระคนแล้วด้วยอะไร ๆ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้แข็งแรงไม่ระคนแล้วด้วยอะไร ๆ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สองแห่งภูเขา.

แม้พุทธภาสิตนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า:-
"เรากล่าวบุคคลผู้ไม่คลุกคลีแล้วด้วยคฤหัสถ์ และบรรพชิตทั้งสอง ผู้ไม่มีอาลัย เที่ยวไป ผู้มีความปรารถนาน้อยนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ดังนี้."

อนึ่ง พืชย่อมไม่งอกขึ้นบนภูเขา ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องไม่ยังกิเลสทั้งหลายให้งอกงามขึ้นในใจตน ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สามแห่งฏเขา.

แม้คำนี้ พระสุภูติเถระก็ได้กล่าวไว้ว่า:-
"เมื่อใดจิตประกอบด้วยราคะเกิดขึ้นแก่เรา, เมื่อนั้นเราผู้เดียวพิจารณาเห็นแล้ว ก็ทรมานจิตนั้นเสียเองว่า ท่านกำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดทั้งหลาย ท่านประทุษร้ายในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายทั้งหลาย ท่านหลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลงทั้งหลาย ท่านจงออกไปจากป่า. เพราะว่าอรัญประเทศนี้ เป็นที่อยู่แห่งบุคคลทั้งหลายผู้หมดจดวิเศษ ผู้ไม่มีมลทิน ผู้มีตปะ; ท่านอย่าประทุษร้ายบุคคลผู้หมดจดพิเศษเลย ท่านจงออกไปจากป่า ดังนี้."

อนึ่ง ภูเขาเป็นของสูง ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียรก็ต้องเป็นผู้สูงด้วยสามารถแห่งฌาณ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สี่แห่งภูเขา.

แม้พุทธพจน์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ทรงภาสิตไว้ว่า:-
"เมื่อใดบัณฑิตบรรเทาเสียซึ่งความประมาท ด้วยความไม่ประมาท, เมื่อนั้นบัณฑิตนั้นขึ้นสู่ปราสาท คือ ปัญญา เป็นผู้ไม่มีโศก พิจารณาซึ่งหมู่สัตว์ผู้มีโศก, ผู้มีปัญญา พิจารณาซึ่งคนพาลทั้งหลายราวกะบุคคลผู้ยืนอยู่บนภูเขา แลดูซึ่งชนทั้งหลาย ผู้ยืนอยู่บนพื้น ฉะนั้น ดังนี้."

อนึ่ง ภูเขาเป็นของไม่สูงขึ้น ไม่จมลง ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องไม่กระทำซึ่งอันฟูขึ้นและเสื่อมลง ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่ห้าแห่งภูเขา.

แม้นางจูฬสุภัททาอุบาสิกา ผู้ยกย่องสมณะทั้งหลายของตน ก็ได้ภาสิตไว้ว่า:-
"สัตว์โลกสูงขึ้นด้วยลาภ, และทรุดลงด้วยเสื่อมลาภ; สมณะทั้งหลายของเรา เป็นผู้มีจิตดำรงอยู่เป็นดวงเดียว ในลาภและเสื่อมลาภ, เป็นผู้มีจิตคงที่ ดังนี้."

ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ต้องถือเอาองค์ห้าประการแห่งอากาศ เป็นไฉน?"

ถ. "ขอถวายพระพร อากาศอันอะไร ๆ ไม่พึงถือเอาโดยประการทั้งปวง ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้อันกิเลสทั้งหลายไม่พึงถือเอาโดยประการ ทั้งปวง ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่แรกแห่งอากาศ.

อนึ่ง อากาศเป็นประเทศอันหมู่ฤษีดาบสภูตและนกสัญจรไป ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องยังใจให้สัญจรไปในสังขารทั้งหลาย โดยมนสิการว่า 'อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา' ฉะนี้ ฉันนั้น นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สองแห่งอากาศ.

อนึ่ง อากาศเป็นที่ตั้งแห่งความสะดุ้งพร้อม ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องยังใจให้สะดุ้งในปฏิสนธิในภพทั้งปวง หาควรกระทำความยินดีไม่ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สามแห่งอากาศ.

อนึ่ง อากาศไม่มีที่สุดไม่มีประมาณอันบุคคลไม่พึงนับ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้มีศีลไม่มีที่สุด มีญาณไม่มีประมาณ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สี่แห่งอากาศ.

อนึ่ง อากาศเป็นประเทศไม่ติด ไม่ข้อง ไม่ตั้งอยู่ ไม่กังวล ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้ไม่ติด ไม่ข้อง ไม่ตั้งอยู่ ไม่กังวล ในตระกูล ในคณะ ในลาภ ในที่อยู่ ในเครื่องกังวล ในปัจจัย และกิเลสทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่ห้าแห่งอากาศ.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เทพาติเทพ เมื่อตรัสสอนพระราหุลผู้พระโอรสของ พระองค์ก็ได้ตรัสไว้ว่า
"ดูก่อนราหุล อากาศไม่ได้ตั้งอยู่เฉพาะในที่ไร ๆ ฉันใด, ท่านจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศ ฉันนั้น; เพราะว่าเมื่อท่านเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศ ผัสสะทั้งหลายที่ยังใจให้เอิบอาบ และไม่ยังใจให้เอิบอาบ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ ดังนี้."

ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ต้องถือเอาองค์ห้าประการแห่งพระจันทร์ เป็นไฉน?"

ถ. "ขอถวายพระพร พระจันทร์อุทัยในสุกกปักษ์ ย่อมเจริญด้วยแสงสว่างยิ่งขึ้นทุกที ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเจริญในอาจาระ ศีล คุณ วัตรปฏิบัติ ในนิกายเป็นที่มา และธรรมอันบุคคลพึงบรรลุ ในอารมณ์เป็นที่วังเวง ในสติปัฏฐาน ในความเป็นผู้มีทวารอันปิดในอินทรีย์ทั้งหลาย ในความเป็นผู้รู้ประมาทในโภชนะในความประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรแห่งผู้ตื่นยิ่งขึ้นทุกที ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่ต้นแห่งพระจันทร์

อนึ่ง พระจันทร์เป็นนักษัตรอันใหญ่ยิ่งชนิดหนึ่ง ฉันใด โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้มีฉันทะเป็นใหญ่ยิ่ง ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สองแห่งพระจันทร์.

อนึ่ง พระจันทร์ย่อมจรไปในราตรี ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้สงัดทั่ว ฉันนั้น. นี้แลต้องถือเอาองค์ที่สามแห่งพระจันทร์.

อนึ่ง พระจันทร์มีวิมานเป็นธง ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้มีศีลเป็นธง ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สี่แห่งพระจันทร์

อนึ่ง พระจันทร์อันโลกบวงสรวงและปรารถนาย่อมอุทัย ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ผู้อันมหาชนบูชาและปรารถนา ก็ต้องเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่ห้าแห่งพระจันทร์

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสไว้ในสังยุตตนิกายอันประเสริฐว่า:-
"แน่ะภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเป็นผู้เรียบร้อยเหมือนด้วยพระจันทร์ จงสำรวมกาย สำรวมจิต แล้วเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ อย่าคะนองในตระกูลทั้งหลาย ดังนี้."

ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ต้องถือเอาองค์เจ็ดประการแห่งพระอาทิตย์ เป็นไฉน?"

ถ. "ขอถวายพระพร พระอาทิตย์ย่อมยังน้ำทั้งปวงให้เหือดแห้ง ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องยังกิเลสทั้งหลายให้เหือดแห้ง ไม่ให้เหลืออยู่ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่หนึ่งแห่งพระอาทิตย์.

อนึ่ง พระอาทิตย์ย่อมกำจัดเสียซึ่งความมืด ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องกำจัดเสียซึ่งความมืด คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และทุจริตทั้งปวง ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สองแห่งพระอาทิตย์.

อนึ่ง พระอาทิตย์ย่อมจรไปเนือง ๆ ฉันใด. โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องกระทำโยนิโสมนสิการเนือง ๆ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สามแห่งพระอาทิตย์.

อนึ่ง พระอาทิตย์มีระเบียบแห่งรัศมี ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้มีระเบียบแห่งอารมณ์ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สี่แห่งพระอาทิตย์.

อนึ่ง พระอาทิตย์ยังหมู่มหาชนให้ร้อนพร้อม เดินไปอยู่ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องยังโลกทั้งปวงให้ร้อนพร้อมด้วยอาจาระ ศีล คุณ วัตรปฏิบัติ และฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สัมมัปปธาน อิทธิบาท ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่ห้าแห่งพระอาทิตย์.

อนึ่ง พระอาทิตย์กลัวแต่ภัย คือ พระราหู เดินไปอยู่ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้ติดอยู่ในข่าย คือ ทุจริตทุคติกันดารปราศจากความเสมอ วิบาก วินิบาต กิเลส ผู้อันประชุมแห่งทิฏฐิสวมไว้แล้ว ผู้แล่นไปสู่ทางผิด ผู้ดำเนินไปสู่มรรคาผิด ยังใจให้สลด เพราะภัยเกิดแต่ความสลดอันใหญ่ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่หกแห่งพระอาทิตย์.

อนึ่ง พระอาทิตย์ ย่อมส่องให้เห็นสิ่งดีและชั่วทั้งหลาย ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องแสดงอินทรีย์ พละ โพชฌางค์ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท โลกิยธรรม โลกุตตรธรรม ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่เจ็ดแห่งพระอาทิตย์.

แม้พระวังคีสเถระ ก็ได้กล่าวไว้ว่า:-
"ภิกษุผู้ทรงธรรม ย่อมยังชนผู้อันอวิชชาปิดบังไว้แล้ว ให้เห็นหนทางมีประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนพระอาทิตย์อุทัย สำแดงรูปอันสะอาดและไม่สะอาด ดีและชั่ว แก่สัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น ดังนี้."

ร. "พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ต้องถือเอาองค์สามประการแห่งทัาวสักกะ เป็นไฉน?"

ถ. "ขอถวายพระพร ท้าวสักกะอิ่มด้วยความสุขส่วนเดียว ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องเป็นผู้ยินดียิ่งในสุข เกิดแต่ความสงัดทั่วแห่งกายใจส่วนเดียว ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่หนึ่งแห่งท้าวสักกะ.

อนึ่ง ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นเทพดาทั้งหลายแล้ว ทรงประคองความเห็นนั้นไว้ ยังความร่าเริงให้เกิดยิ่ง ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องประคองใจ ซึ่งไม่หดหู่ ไม่เกียจคร้าน ในกุศลธรรมทั้งหลาย ยังความร่าเริงให้เกิดยิ่งในกุศลธรรม ทั้งหลาย หมั่นสืบต่อพยายามในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สองแห่งท้าวสักกะ.

อนึ่ง ความไม่ยินดียิ่ง ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องไม่ให้ความไม่ยินดียิ่งในสุญญาคารเกิดขึ้น ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สามแห่งท้าวสักกะ.

แม้พระสุภูติเถระ ก็ได้ภาสิตไว้ว่า:-
"ข้าแต่พระองค์ผู้กล้าใหญ่ เมื่อใด ข้าพระองค์บวชแล้วในศาสนาของพระองค์, เมื่อนั้น ข้าพระองค์ย่อมทรงสงเคราะห์มหาชน ด้วยวัตถุเครื่องสงเคราะห์ทั้งสี่ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องยึดเหนี่ยวน้ำใจ ต้องอนุเคราะห์นํ้าใจของบริษัทสี่ ต้องชวนใจของบริษัทสี่ให้รื่นเริง ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่หนึ่งแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ.

อนึ่ง โจรทั้งหลายย่อมไม่ตั้งซ่องสุมขึ้นในแว่นแคว้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องไม่ให้ กามราค พยาบาท วิหิงสา วิตก เกิดขึ้นได้ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สองแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เทพาดิเทพ ก็ได้ทรงภาสิตไว้ว่า:-
"ผู้ใดยินดีแล้วในธรรมเป็นที่เข้าไประงับวิตก เป็นผู้มีสติเจริญอสุภารมณ์ในกาลทั้งปวง, ผู้นั้นแลกระทำซึ่งที่สุดแห่งกองทุกข์ ผู้นั้นตัดเครื่องผูกแห่งมาร ดังนี้."

อนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิทรงเสียบมหาปฐพี มีมหาสมุทรเป็นที่สุดรอบ ทรงวิจารณ์การดีการชั่วทั้งหลาย ทุกวัน ๆ ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องพิจารณากายกรรม วจีกรรม มโนกรรมทุกวัน ๆ ว่า 'เมื่อเราอันบัณฑิตไม่พึงติเตียนได้ ด้วยเหตุที่ตั้งสาม เหล่านี้ วันย่อมเป็นไปล่วงหรือหนอแล' ดังนี้ ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สามแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ทรงภาสิตไว้ในเอกังคุตตรนิกายอันประเสริฐว่า:-
"บรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ ว่า เมื่อเราเป็นอยู่อย่างไร วันและคืนทั้งหลายเป็นไปล่วงอยู่" ดังนี้.

อนึ่ง ความรักษาทั่วในภายในและภายนอก เป็นของอันพระเจ้าจักรพรรดิทรงจัดดีแล้ว ฉันใด, โยคาวจรผู้ประกอบความเพียร ก็ต้องตั้งไว้ซึ่งนายประตู กล่าวคือ สติ เพื่ออันรักษาทั่วซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เป็นไปในภายในและภายนอก ฉันนั้น. นี้แล ต้องถือเอาองค์ที่สี่แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ทรงภาสิตไว้ว่า:-
"แน่ะภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีสติดุจนายประตู ละเสียซึ่งอกุศล ยังกุศลให้เจริญ, ละเสียซึ่งกรรมมีโทษอันบัณฑิตพึงเว้น ยังกรรมไม่มีโทษอันบัณฑิตไม่พึงเว้นให้เจริญ, ย่อมรักษาตนกระทำให้บริสุทธิ์" ดังนี้.

หัวข้อประจำอักกวัตติวรรคนั้น

แผ่นดินหนึ่ง นํ้าหนึ่ง ไฟหนึ่ง ลมหนึ่ง ภูเขาหนึ่ง อากาศหนึ่ง พระจันทร์หนึ่ง พระอาทิตย์หนึ่ง ท้าวสักกะหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิหนึ่ง.

อ่านต่อ