หลักของการเตะ ตะกร้อวง
หลักในการฝึกเบื้องต้น มีดังนี้
๑. การเตะลูกหน้าเท้า (ลูกแป)
ใช้เท้าที่ถนัดเตะขึ้นข้างบน อย่ายกเท้าให้สูงเกินไป ตะแคงเท้าให้ลูกตะกร้อ สัมผัสข้างเท้าด้านใน ระหว่างตาตุ่ม กับส้นเท้า บางคนก็ถูกต่ำไปทางด้านฝ่าเท้า
๒. การเตะลูกหลังเท้า
ยกเท้าขึ้นสูงพอสมควร หน้าก้มมองดูลูกที่จะตกลงมา สัมผัสหลังเท้า ลูกจะถูกหลังเท้าตรงเหนือโคนนิ้วเล็กน้อย (ถ้ายกเท้าแล้วเอนตัวไปหลังจะเสียหลัก และเตะลูกไม่ตรง ทิศทาง)
ลูกหลังเท้า มีกฎเกณฑ์ในการเตะ คือ
- พยายามปรับเท้าให้เป็นแผ่นอยู่เสมอ
- ยกเท้าต่ำที่สุด (ไม่เกินหัวเข่า)
- ห้ามงอเข่าโดยเด็ดขาด (โดยเฉพาะเวลาถูกลูกตะกร้อ)
- ต้องเตะให้ถูกหลังเท้าตอนปลายโคนนิ้วเท้าทั้งห้าเสมอ
๓. การเล่นลูกเข่า
อย่ายกเข่าให้สูงเกินไป ให้ลูกมาสัมผัสตรงหัวเข่า พยายามให้ลูกโด่งลอย
๔. การเล่นลูกโหม่ง
หรือเล่นลูกด้วยศีรษะ ตามองลูกที่ลอยมา กะระยะให้ลูกลอยกึ่งกลางของหน้าผาก เอนหัวไปหลังเล็กน้อย แล้วโหม่ง ให้ส่วนกลางของหน้าผาก กระแทกลูกให้โด่งไป
๕. การเล่นลูกหลัง
เมือฝึกการเล่นลูกที่มาจากข้างหน้าให้ดีพอสมควร ก็ฝึกเล่นลูกหลัง คนที่จะฝึกลูกหลังได้ดี และแม่นยำนั้น ต้องมีทักษะ พอสมควร เวลายกขาไปข้างหลังควนก้มตัวลงด้่วย ลูกทีลอยไปสัมผัสนั้น อาจสัมผัสเท้า หรือฝ่าเท้าตอนปลายก็ได้ แต่ต้อง กดปลายเท้าขึ้นด้วย
๖. การใช้ลูกข้าง
การใช้ข้างเท้าเตะลูกให้ถูกที่หมาย ที่หมายก็คือ ใต้ตาตุ่มประมาณ ๒ เซนติเมตร ก่อนเตะลูก ให้่ย่อหัวเข่า ซึ่งเป็น ขายืน ขณะที่ถูกลูก ให้ยืดตัวขึ้นในลักษณะการทรงตัวที่ดี
๗. การใช้ลูกศอก
ใช้สำหรับลูกที่ลอยมาโด่ง เคลื่อนตัวเข้าไปใต้ลูก กะว่าให้ลูกตะกร้อ ตกข้ามหัวไปข้างหลัง ให้อยู่ในท่า ทรงตัวที่ดี ย่อเข่าลงเล็กน้อย เมื่อลูกตะกร้อลอยไปข้างหลัง ลับตาที่เรามองตามอยู่นั้น ให้กระตุกศอก ไปข้างหลัง ให้ลูกถูก ปลายศอก พร้อมกับยืดตัวขึ้น