ประวัติความเป็นมาของ ยูโด Judo

ประวัติยูโด

ยูโด นับเป็นศิลปการป้องกันตัวประเภทหนึ่งของชาวญี่ปุ่น ซึ่งมีกำเนิด มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันเป็นที่แพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก แม้แต่ใน สหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย เพราะนอกจากจะเป็นศิลปการป้องกันตัวแล้ว ยังเป็นการ บริหารกายได้อย่างดีอีกด้วย ความเป็นมาของยูโดนั้น ชาติญี่ปุ่น อันเป็นชาติเก่าแก่ มีพลเมืองมาก และนิยมการบริหารร่างกาย และจิตใจ กันอย่างแพร่หลาย ศิลปยูโดนี้ จัดเป็นวิชาพลศึกษาอีกแขนงหนึ่ง ที่ชาวโลกนิยมฝึกกันมาก จนเกือบทุกมุมโลก เดิมทีเดียวเรียกกันว่า ยูยิตสู (JIU-JITSU)

การที่นิยมเล่นกัน ก็เพื่อเป็นการบริหาร่างกาย และฝึกจิตใจ ให้สมบูรณ์ ตามหลักการของ ท่าน ศาสตราจารย์ จิโกโรคาโน ซึ่งกล่าวไว้ว่า (The art of spiritual and physical culture) ทั้งนี้ เนื่องจากท่านมีความเป็นว่า สวัสดิภาพแห่งสังคมมนุษย์นั้น สาระสำคัญขึ้นอยู่กับ ความสุภาพ เรียบร้อย และผู้ที่จะสุภาพเรียบร้อยนั้น จำเป็นต้องมีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ ดังนั้น ท่านจึงขนานนาม วิชานี้ให้ตรงต่อสภาพ คือ เปลี่ยนจาก คำว่า ยูยิตสู มาเป็น ยูโด ซึ่งแปลว่า ทางหรือหลักการ แห่งความสุภาพ

สำหรับประวัติของยูโดที่แท้จริงนั้น ไม่มีใครทราบแน่นอน แต่มี หนังสือของสถาบันโคโดกัน ซึ่ง ท่านอาจารย์ แห่งสถาบันโคโดกัน แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้เรียบเรียงไว้ดังนี้

ต้นกำเนิดของยูยิตสูนั้น ได้สาปสูญไปแล้วแต่โบราณกาล ต่อมามี หนังสือนิฮอนโซกิอัน- เป็น ประวัติศาสตร์ ของญี่ปุ่น ซึ่งรวบรวมขึ้นโดย Imperial command ในปี ค.ศ. 720 (พ.ศ. 1263) กล่าวถึงการแข่งขัน ชื่อว่า จิทาระกูงาเย เป็นการประกวดความแข็งแรง ซึ่งจัดให้มีขึ้นเมื่อปีที่ 7 ในรัชสมัย จักรพรรดิซุยนิน ก่อนคริสตกาล ราว 230 ปี (พ.ศ. 313) สมัยนั้น นักประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ยืนยันว่า เป็นการเริ่มต้นของ วิชาซูโม่ ซึ่งแปลว่า การต่อสู้โดยใช้กำลังเข้าประลองกัน ดังกล่าวข้างต้น ลักษณะ การต่อสู้ ตามหลักวิชาซูโม่นี้ มีบางท่า ที่ตรงกับ วิชายูยิตสู เช่น ท่าใช้ตะโพก เป็นกำลังบังคับขา กวาดเหวี่ยงคู่ต่อสู้ ให้เสียหลักล้มลง ซึ่งท่านี้ตรงกับวิชายูยิตสู เรียกชื่อท่านนี้ว่า HARAI-GOSHI แสดงว่า วิชาซูโม่ กับ วิชายูยิตสู นั้นมีความสัมพันธ์กันมาแต่กาลก่อน

สำรับคำว่า ยูยิตสู นี้ในบางแห่งเรียกว่า ยูยูตซึ JUJUTSU บ้าง , ทาอิจิตซึ TAIJITSU บ้าง, และ ยาวารา JAWARA บ้าง แต่สาระสำคัญก็หมายถึง การบริหารร่างกายและจิตใจ เช่นเดียวกัน ส่วนคำว่า ยาวารา ความหมายก็คือ การบริหารร่างกาย ซึ่งมีอยู่ในวรรณคดีของญี่ปุ่น ปรากฎใน หนังสือนิยาย คอน-จาก โมนากาตาริ ซึ่งประพันธ์ขึ้นในศตวรรษที่ 11 ปรากฎคำว่า ซูโม่ ในสมัยนั้น เรื่องนี้ ถึงแม้ จะไม่มีหลักฐาน พิสูจน์ได้ว่า ยูยิตสู กับ ซูโม่ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็ดี แต่นักประวัติศาสตร์ ในวิชายูยิตสู ก็สนใจในเรื่องนี้ และตั้งข้อสังเกตว่า ยูยิตสู กับ ซูโม่ นั้นมีความสัมพันธ์กัน ดังกล่าวทั้งสิ้น

จากหนังสือบุจัตสุริวซีโงกุ กล่าวถึงชีวประวัติ ของผู้ตั้ง โรงเรียนบริหารร่างกายเนื่องในการรบ Martial exercise ได้ความว่า สมัยก่อนที่จะจัดตั้งโคโดกัน หรือสถานฝึกสอนวิชายูยิตสู และฟันดาบ ขึ้นนั้น มีโรงเรียน ซึ่งภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ริว RYU แปลว่า สำนักหรือโรงเรียน ประมาณ 20 แห่ง ซึ่งฝึกสอนวิชา ยูยิตสู อาทิเช่น ตาเนกูจิริว เซกิกุจิริว และ เตนซิน-ซินโยริว สำหรับ กิโตริว และ เตนซิน-ซินโยริว 2 แห่งนี้ เป็นสถานศึกษาวิชายูยิตสู ของท่านศาสตราจารย์ จิโกโรคาโน คือผู้ประศาสน์ การตั้งสถานฝึกสอน วิชายูยิตสู และฟันดาบ อันมีนามว่า โคโดกัน นั่นเอง

ต่อมาสถานโคโดกัน อันมี ท่านศาสตราจารย์ จิโกโรคาโน เป็นผู้ประศาสน์การนี้ ได้พัฒนาการปรับปรุง วิชายูยิตสู ให้เหมาะสมกับสภาพ อันเป็นอุดมคติ ของคำว่า ศิลปแห่งความสุภาพขึ้น และในที่สุด ได้เปลี่ยนแปลงคำว่า ยูยิตสู เป็น ยูโด มาจนบัดนี้