ความมุ่งหมายทั่วไป ของกีฬาตะกร้อ

ความมุ่งหมายทั่วไป

ในการนำเอากิจกรรม เพื่อสร้างสมรรถภาพทางกาย มาเป็นส่วนหนึ่ง ของโครงการฝึกเตะตะกร้อ นั้น ควรจะ มีความมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ผลประโยชน์แก่เด็ก ทางด้านสรีระวิทยา เกี่ยวกับ การเคลื่อนไหว ของร่างกาย ซึ่งพอจะ แยกกล่าวเป็นข้อๆ ดังนี้

๑. ใช้เป็นกิจกรรมสำหรับอบอุ่นร่างกาย เพื่อเตรียมตัวเด็ก ก่อนที่จะให้นักเรียน ฝึกกิจกรรม ประเภทอื่น ต่อไป

๒. ใช้เป็นกิจกรรมเพื่อ บริหารร่างกาย ให้เกิดความแข็งแรง ในส่วนของกล้ามเนื้อต่างๆ ที่อ่อนแออยู่ หรือ ไม่เจริญเติบโต เท่าที่ควร

๓. ใช้เป็นกิจกรรมที่ช่วย ยืดเส้นยืดสาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนที่หดสั้น เพื่อจะให้การเคลื่อนไหว และการทำงาน ของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ให้สามารรถเคลื่อนไหวได้เต็มที่ ตามขอบเขตของมัน

๔. ใช้เป็นกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ จากการที่กล้ามเนื้อ ต้องทำงาน มา อย่างหนัก

๕. เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนา และรักษาไว้ ซึ่งกลไกการเคลื่อนไหวที่ดี และมีประสิทธิภาพทางร่างกาย อันจะนำผลให้ การแสดงออกในทางกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยดี

ความมุ่งหมายเฉพาะ

ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นความมุ่งหมายทั่วไป ในการนำเอากิจกรรมการสร้าง สมรรถภาพทางกาย มาใช้ ในการฝึก การเตะตะกร้อ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างๆ แต่ในการสอน ให้นักเรียนเตะตะกร้ออย่างจริงๆ นั้นในการฝึกแต่ละครั้ง ผู้สอนต้องมีความมุ่งหมายเฉพาะว่าจะสร้างอะไร และจะใช้ท่าบริหารท่าใด สำหรับความมุ่งหมายเฉพาะนั้น พอสรุปได้ ดังนี้

๑. การบริหารส่วนขา

- เพื่อช่วยเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของข้อเท้า เข่า และข้อต่อที่ตะโพก

- เพื่อสร้างความแข็งแรงของขา

๒. การบริหาร

- เพื่อช่วยให้แขนและไหล่มีความคล่องตัว

- เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าอก ได้ยืดและคลายตัวได้สะดวก

- เพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่

๓. การบริหารข้อต่อที่ตะโพก

- เพื่อช่วยการเคลื่อนไหวของข้อต่อที่ตะโพกให้หมุนไปในทิศทางต่าง ๆ ได้สะดวกขึ้น

- เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อส่วนหน้าขา

- เพื่อช่วยแก้กระดูกเชิงกรานที่เอียง และป้องกันความผิดปกติของส่วนเอว ในลักษณะสะเอวยื่นไปข้างหน้า

๔. การบริหารลำตัวทางด้านข้าง

- เพื่อช่วยปรับปรุง ความอ่อนตัว ของกระดูกสันหลัง ในการเอียงไปมาตรงๆ ทางด้านข้าง โดยการ บริหาร ให้กล้ามเนื้อ ได้ยืดตัวออก

- เพื่อบริหารให้กล้ามเนื้อ ทางด้านข้างของลำตัว ให้มีความแข็งแรง ซึ่งจะช่วยให้การเอียงตัวไป ทางซ้าย - ขวา ได้ดี

๕. การบริหารลำตัวเบื้องหลัง

- เพื่อสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนหลังของลำตัว

- เพื่อบริหารให้กล้ามเนื้อส่วนหน้าอกได้ยืดคลายออก

- เพื่อช่วยแก้ความผิดปกติในลักษณะหลังโกง

๖. การบริหารลำตัวเบื้องหน้า

- เพื่อสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อท้อง

- เพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนหลังยืดคลายออก

๗. การบริหารลำตัวโดยทั่วไป

- เพื่อรักษาไว้และปรับปรุงความอ่อนตัวของกระดูกสันหลังในการเคลื่อนไหวทุกทิศทาง

- เพื่อสร้างความแข็งแรงสำหรับกล้ามเนื้อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาทรวดทรงของลำตัว

๘. การบริหารศรีษะหรือคอ

- เพื่อช่วยพัฒนาเกี่ยวกับศีรษะและคอในการเคลื่อนไหว

- เพื่อช่วยให้ศีรษะตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

- เพื่อช่วยพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ

๙. การบริหารเป็นจังหวะ

- เพื่อเสริมสร้างความมีจังหวะกลมกลืนและประสานงานกันระหว่างอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

- เพื่อสร้างประสาทความรู้สึกเกี่ยวกับจังหวะ