ตะกร้อลอดห่วง - ตะกร้อลอดบ่วง

๑. สนาม

เป็นพื้นราบ กว้างยาวประมาณ ๑๘ เมตร จากพื้นสนามขึ้นไปสูงอย่างน้อย ๘ เมตร ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง สนามแข่งขัน ตีเส้นเป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๖ เมตร อยู่ในร่ม หรือกลางแจ้งก็ได้


๒. ลักษณะของห่วงชัยและความสูง

ลักษณะของห่วงชัย ประกอบด้วย วงกลม สามห่วง ขนาด เท่ากัน เส้นผ่าศูนย์กลาง วัดภายในประมาณ ๔๐ ซม. ทำด้วย โลหะ หวาย หรือ ไม้ โตประมาณ ๑ ซม. วงกลม ทั้ง ๓ วง ต้องผูก หรือบัดกรีติดกัน ให้แน่น เป็นรูปสามเส้า วงห่วง แต่ละห่วงตั้งตรง

วงห่วง แต่ละห่วง มีถุงตาข่าย ทำด้วย ด้ายสีขาว ผูกรอบ ทุกห่วง วงห่วงทั้งสาม จะใช้กระดาษสี พันรอบทุกแห่ง ก็ได้

ความสูงของห่วงชัย ห่วงชัยต้องแขวน กลางสนาม โดยขอบล่าง ของทุกห่วง ต้องได้ระดับ และจากพื้นสนาม วัดถึงขอบ ห่วงล่าง ต้องสูง ๕.๗๕ เมตร

๓. วิธีแข่งขัน

๑. แข่งคราวละ ๑ ชุด ชุดหนึ่งมีผู้เล่นไม่เกิน ๗ คน อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า ๖ คน ไม่ครบ ๖ คน แข่งไม่ได้

๒. แข่งขันชุดละ ๔๐ นาที (เวลาที่เสียไปโดยอุบัติเหตุ หรือด้วยเหตุอื่น ผู้ตัดสินอาจชดเชยให้)

๓. ในระหว่างการแข่งขัน เปลี่ยนตัวผู้เล่นไม่ได้ แต่สับเปลี่ยนแทนที่กันได้

๔. เริ่มสัญญาณการแข่งขัน ผู้เล่นคนใดโยนลูกให้แก่คู่หนึ่ง หรือคู่สองของตน ต่อจากนั้น เมื่อลูกตาย ผู้ใดเก็บลูก ผู้นั้นเป็นผู้โยน แต่ต้องโยนให้แก่คู่หนึ่ง หรือคู่สองของตน

๕. ในการโต้ลูกผู้เล่นจะใช้มือไม่ได้

๔. ข้อกำหนดตามกติกาเกี่ยวกับวิธีเล่น

ข้อกำหนดตามกติกา เกี่ยวกับวิธีเล่น แยกไว้เป็น ๒ กรณี คือ กรณีให้ถือว่าลูกตาย และให้โยนใหม่ กับลูกที่เข้าห่วงชัย แต่ไม่นับคะแนน

ก. กรณีที่ให้ถือว่าเป็นลูกตาย และให้โยนใหม่ มี ๔ ประการ คือ

๑. ลูกตกถึงพื้นสนาม

๒. ลูกถูกมือผู้เล่น ยกเว้นเล่นลูกห่วงมือแล้วกระทบห่วงมือ

๓. ลูกติดกับห่วงชัย

๔. ลูกถูกวัตถุใดๆ ที่ไม่ใช่เครื่องตะกร้อลอดห่วง

 

ข. ลูกที่เข้าห่วงชัย แต่ไม่นับคะแนน มี ๖ ประการ คือ

๑. โต้ลูกโยนไปเข้าลอดห่วง

๒. ลูกพักหรือเลี้ยงแล้วโต้ไปลอดห่วง

๓. ผู้เล่นที่เตะลูกที่โต้มาจากผู้ที่พักหรือเลี้ยงลูก

๔. ลูกลอดห่วงภายหลังสัญญาณหมดเวลา

๕. ลูกลอดห่วงแล้วกระดอนออกทันใด

๖. ลูกลอดห่วงที่คนใดคนหนึ่ง เตะซ้ำท่าเกินกว่า ๒ ครั้ง

๕. การให้คะแนน

กำหนดท่่าการเตะที่จะใช้คะแนนไว้ทั้งสิ้น ๓๐ ท่า เป็นท่าด้านหน้า ๘ ท่า ท่าด้านช้างและท่าด้านหลัง ด้านละ ๑๑ ท่า แต่ละท่ากำหนดคะแนนไว้ให้ มาก - น้อย ตามความสำคัญ ตามตารางการให้คะแนน ดังต่อไปนี้

การให้คะแนน

ลำดับ

ลักษณะของท่า

การให้คะแนน
ของสมาคมกีฬาไทยฯ

การให้คะแนน
ของเทศบาลนครกรุงเทพฯ













๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗
๑๘
๑๙


๒๐
๒๑
๒๒
๒๓
๒๔
๒๕
๒๖
๒๗
๒๘
๒๙
๓๐

ด้านหน้า ๘ ท่า
ลูกหน้าเท้า
ลูกหลังเท้า
ลูกไขว้หน้า ด้วยหลังเท้า
ลูกแข้ง
ลูกเข่า
ลูกไขว้หน้าด้วยเข่า
ลูกไหล่
ลูกโหม่ง

ด้านข้าง ๑๑ ท่า

ลูกข้าง
ลูกข้างห่วงมือ
ลูกไขว้
ลูกไขว้ตบห่วงมือ
ลูกส้นไขว้
ลูกส้นไขว้ห่วงมือ
ลูกตัดไขว้
ลูกพับเพียบ
ลูกพับเพียบห่วงมือ
ลูกขึ้นม้า
ลูกขึ้นม้าห่วงมือ

ด้านหลัง ๑๑ ท่า
ลูกศอกหลัง
ลูกข้างหลัง
ลูกข้างหลังห่วงมือ
ลูกตบธรรมดา
ลูกตบหลังบ่วงมือ
ลูกแทงส้นตรงหลัง
ลูกแทงส้นตรงหลังบ่วงมือ
ลูกตบหลังแป
ลูกตบหลังสองเท้าพร้อมกัน
ลูกพับหลังตบ
ลูกพับหลังตบห่วงมือ



๑๕
๒๕


๒๐
๑๒
๑๐



๑๒
๑๐
๑๕
๑๕
๒๕
๒๐

๑๕

๑๕


๑๐
๑๕
๒๐
๑๕
๒๕
๒๐
๒๕
๒๐
๒๐
๒๐
๓๐



๑๕
๓๐


๒๐
๑๒
๑๐



๑๒
๑๕
๒๐
๒๐
๓๐
๒๕
๑๐
๑๕
๑๐
๑๕


๑๒
๑๕
๒๕
๒๐
๓๐
๒๕
๓๕
๒๕
๒๕
๒๕
๔๐

๖. การแพ้ชนะ

ผลของการตัดสินให้ชุดใดชนะ เป็นไปดังนี้

ก. ชุดใดได้คะแนนมากที่สุด ชุดนั้นชนะ แต่

ข. ถ้าได้คะแนนเท่ากัน ชุดใดได้จำนวนห่วงมากกว่า ชุดนั้นชนะ แต่

ค. ถ้าคะแนนและจำนวนห่วงเท่ากัน ชุดใดได้ห่วงด้วยท่าที่ได้คะแนนสูงกว่า ชุดนั้นชนะ