หลักการทำสังฆทานสด พระราชสิงโห

1. ดอกไม้ครบสามสี (ห้าม ดอกกุหลาบ ดอกเข็ม เพราะว่ามีหนาม เปรียบเหมือนเข็มทิ่มแทง จะให้ ดอกไม้นี้ สำหรับ งานไหว้ครู จะได้มี สติปัญญาเฉียบแหลม สำหรับสังฆทานห้าม)

2. ธูป เทียน

3. น้ำ

4. กับข้าว 5 อย่าง ใส่ถุงอย่างละถุง (กับข้าวห้ามซ้ำกัน)

5. ขนมหวาน หรือผลไม้ ให้ครบ 5 อย่าง

6. ข้าวสวยใส่ถุง อย่างน้อย 1 ถุง

7. ปัจจัย (เงิน) เกินอายุไม่ต่ำกว่า 1 บาท (เป็นการค้ำอายุ)

8. ทำให้ตรงกับวันเกิดของเราในรอบสัปดาห์ เช่น เกิดวันจันทร์ก็ให้ทำตรงกับวันจันทร์

9. ให้ทำอย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือมากกว่านั้น ตามแต่โอกาส โดยเราจะต้องไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน ที่จะซื้อของ สังฆทาน ไม่ใช่ทำแล้วไม่มีเงินซื้อข้าวกิน ไม่แนะนำให้ทำ เพราะเราเบียดเบียนตัวเราเอง จะทำให้เกิดทุกข์ ควรพร้อมทั้งกายใจ และกำลังทรัพย์ (ถ้าทำด้วยเครื่องกระป๋อง ต้องเปิดฝาเสียก่อน เช่น เงาะกระป๋อง)

การทำสังฆทานสด ต้องทำก่อนเพล (เที่ยง)

เพราะพระรับแล้วฉันได้แค่เพล ถ้าพระฉันไม่หมดจะต้องให้เป็นทานไป ถ้าเอาไปเลี้ยงคนที่ถือศีล (พระ เณร ชี คนที่มาถือศีลในวัด) เขาจะให้พรและแผ่เมตตาให้ เราก็จะได้บุญอีกต่อหนึ่ง หรือให้คนเฒ่าคนแก่ไป บางคนเขาก็จะ ให้พร หรือเอาไปให้ทานเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะได้อานิสงส์มากกว่าการทำบุญตักบาตรทุกวัน เพราะสังฆทานนี้ ถ้าเราเจาะจง อุทิศไปให้ใครโดยตรง เขาก็จะได้รับเต็มๆ เปรียบเสมือนเรามีน้ำอยู่แก้วหนึ่ง ถ้าเราอุทิศให้หลายคน เพราะอย่างนั้น น้ำจะต้องถูกแบ่ง หรือต้องให้เขาจิบน้ำคนละอึก เขาจึงยังไม่หายชื่นใจ

เวลาทำสังฆทาน ต้องทำจิตใจให้เป็นบุญ คือทำใจให้สบาย ไม่หงุดหงิดทะเลาะกัน เป็นกิริยาบุญ แล้วเราจะได้บุญ เต็มที่ และจะได้สายบุญไว้ เวลาที่เจอะพระ (ผู้มีอภิญญา) เมื่อเรามีปัญหาท่านจะได้ช่วยได้ง่าย ท่านจะได้ไม่ เหนื่อยมาก เพราะต้องใช้กำลังจิตสูง เมื่อเราช่วยตัวเองครึ่งหนึ่ง พระช่วยเราครึ่งหนึ่งมักจะได้ผล เพราะการช่วยคน ที่มีเคราะห์ พระจะต้องสร้างบารมี โดยการช่วยคนที่มีทุกข์บางเรื่อง ท่านก็ต้องรับเอา เคราะห์กรรมนั้นไว้เอง ถ้าเจ้าตัวช่วยด้วยพระท่านจะเบาลง

สังฆทานสดนี้ ถ้าเราได้ทำกับเพระที่ปฏิบัติดีแล้ว (มีฌาณ) ท่านจะรู้และจะเห็นเจ้ากรรมนายเวรของเรา บางครั้ง จะเห็น เขามารับส่วนบุญ ถ้าเขาขาดเหลืออะไร หรือเราทำอะไรไม่ถูกต้องครบถ้วน เขาจะสื่อ ให้พระท่านทราบ แล้วท่านจะบอก ให้เราแก้ไขเสีย

สังฆทานสดที่ทำนี้ ถ้าเราตั้งใจอุทิศให้ใคร ทั้งที่มีชีวิตอยู่ หรือไม่มีชีวิตอยู่ก็ดี อาจจะเป็นเจ้ากรรมนายเวร ศัตรู ลูกค้า ลูกหนี้ คนที่ไม่ถูกกัน หรือโดนกลั่นแกล้ง คู่ความ เจ้านาย ลูกน้อง ฯลฯ จะทำให้จิตใจเขาอ่อนลง มีเมตตาเรา จากสถานการณ์ร้ายๆ จะกลับกลายเป็นดี หรือเวลาเราไปติดต่อธุรกิจ ก็มักจะได้ผล ในเชิงบวกเสมอ

เวลาเราอุทิศหรือกรวดน้ำไปให้ ข้อสำคัญที่สุด ห้าม!แช่งด่าเด็ดขาด เพราะถ้าทำเช่นนั้น เรากับเขา จะต้องได้รับไป คนละครึ่ง ดังนั้นการกรวดน้ำอุทิศไปให้ใคร ให้เราให้พร และแผ่เมตตา ให้เขามีความสุข ความเจริญ ทุกข์ก็ขอให้พ้น จากทุกข์สุขก็ขอให้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป คิดสิ่งใดให้สมปรารถนา เพราะเมื่อเขาดีขึ้น ก็จะไม่มาเบียดเบียนเรา แล้วจะส่ง ผล ให้สิ่งที่เราวาดหวังไว้สำเร็จ

สังฆทานสดไม่จำเป็นต้องไปทำที่วัด ถ้าเรามีเวลาน้อย ก็ทำกับพระที่กำลังบิณฑบาตอยู่ก็ได้ ให้บอกกับท่านว่า เราจะทำสังฆทาน ท่านจะให้พรตอนนั้นหรือไม่ก็แล้วแต่ ไม่ต้องกังวล ถ้าให้พรเราก็กรวดน้ำไป ถ้าไม่ให้พรตอนนั้น เราค่อยกรวดน้ำทีหลัง หรือไม่กรวดก็ยังได้ เพราะเพียงเราตั้งจิตอธิษฐาน อุทิศส่วนบุญกุศลที่เราทำไปให้ใคร มันก็สำเร็จแล้ว แต่ถ้าเรามีเวลาไปที่วัด บางวัดจะต้องให้เรารับศีลก่อน แล้วค่อยทำสังฆทาน ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็จะเป็นการดีมาก เพราะเรา จะได้ถือศีลด้วย อย่าทำเพราะ กลัวตายอย่าทำเพื่อหวังผล อย่าทำเพราะอยากได้ ให้ทำ ด้วยจิตบริสุทธิ์ หรือตั้งใจจริง ต้องมีความเชื่อ ความนับถือ ความศรัทธา เป็นพื้นฐาน การทำสังฆทานถือศึล ภาวนา นั้น ต้องถือให้จริง ทำให้จริง และ จะได้ผลดีจริงๆ

สังฆทานสดได้ผลมากกว่าสังฆทานที่ทำทั่วไป ท่านอธิบายว่าเปรียบเสมือนสื่อกลางที่สำคัญ ถ้าพระท่านได้ใช้เลย หรือฉันเลย ก็จะทำให้ผู้ที่เราเจาะจงทำสังฆทานได้รับของจากเรา หรือได้รับบุญที่เรา ทำให้ในทันทีแต่ปัจจุบันนี้ สังฆทาน ที่เป็นกระป๋อง นาน ๆ ทีพระจึงจะนำมาใช้ หรือบางครั้งก็เอาไปขาย บางครั้งก็เอาไปเวียน กลับมาทำใหม่ ซึ่งคนที่เขารอ ก็ไม่ได้ของ ไม่ได้บุญที่เราทำให้ หรือกว่าจะได้ก็ช้า ทำให้ได้ผลช้า

เพราะฉะนั้น การทำสังฆทานสด จึงให้ผลเร็ว เพราะพระท่านฉันเลยใช้เลย และถ้าไม่หมดก็ให้ทาน ซึ่งเราก็จะได้ อานิสงส์ในทานนั้นต่ออีกด้วย