แม่ไม้มวยไทย ๑๕ ท่า
แม่ไม้มวยไทยที่สำคัญขนาดยอดเยี่ยม โบราณาจารย์ผู้ทรงคุณท่านได้จัดแบ่งไว้ ๑๕ ท่าคือ การใช้หมัด ศอก เข่า เท้า มีทั้งรุกและรับในจังหวะสถานการณ์ต่างๆกัน ตั้งเป็นชื่อกลต่างๆเพื่อการจดจำ
กลที่ |
ชื่อ |
วิธีใช้ |
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ |
สลับฟันปลา ปักษาแหวกรัง ชวาซัดหอก อิเหนาแทงกฤช ยกเขาพระสุเมรุ ตาเถรค้ำฟัก มอญยันหลัก ปักลูกทอย จระเข้ฟาดหาง หักงวงไอยรา นาคาบิดหาง วิรุณหกกลับ ดับชวาลา ขุนยักษ์จับลิง หักคอเอราวัณ |
รับวงนอก รับวงใน ศอกวงนอก ศอกวงใน ต่อยตั้งหมัดต่ำก้มตัว ๔๕ องศา ต่อยคางหมัดสูงก้มตัว ๖๐ องศา รับต่อยด้วยถีบ รับเตะด้วยศอก รับต่อยด้วยเตะ ถองโคนขา บิดขาจับตีเข่าที่น่อง รับเตะด้วยถีบ ปัดหมัดต่อยตอบ รับ - เตะ - ต่อย - ถอง โน้มคอตีเข่า |
กลแม่ไม้มวยไทย
กล ๑ สลับฟันปลา
(รับวงนอก)
แม่ไม้กล ๑ นี้เป็นไม้หลักหรือไม้ครูเบื้องต้น
ใช้รับและหลบหมัดตรงของคู่ปรปักษ์ที่ชกนำอย่างรุนแรงและหนักหน่วง หลบออกวงนอกนอกลำแขนของคู่ปรปักษ์ ทำให้หมัดตรงของผู้ชกเลยหน้าไป
ก. ฝ่ายรุกชกด้วยหมัดตรงซ้ายพร้อมกับตัวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้าหมายชกบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ
ข. ฝ่ายรับก้าวเท้าขวาหลบไปทางกึ่งขวา ๑ ก้าวพร้อมทั้งโน้มตัวเอนไปทางขวาประมาณ ๖๐ องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวาขาขวางอเล็กน้อย ศีรษะและตัวหลบออกวงนอกของหมัดฝ่ายรุก ทันใดใช้มือขวาจับกำคว่ำที่แขนท่อนบนของฝ่ายรุก มือซ้ายจับกำหงายที่ข้อมือของฝ่ายรุก(ท่าคล้ายจับหักแขน)
กล ๒ ปักษาแหวกรัง
(รับวงใน)
ก. ฝ่ายรุกชกใบหน้าฝ่ายรับด้วยหมัดซ้ายตรงพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าสืบไปข้างหน้าเฉียงไปทางกึ่งซ้ายเล็กน้อยภายในแขนซ้ายของฝ่ายรุกตัวเอนประมาณ ๖๐ องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าซ้าย ทันใดให้งอแขนทั้ง ๒ ขึ้นปะทะแขนท่อนบนและท่อนล่างของฝ่ายรุกไว้โดยเร็ว หมัดของฝ่ายรับทั้งคู่ชิดกัน(คล้ายท่าพนมมือ) ศอกกางประมาณ ๑ คืบ ศีรษะและใบหน้ากำบังอยู่ระหว่างแขนทั้งสอง ตาคอยชำเลืองดูหมัดขวาของฝ่ายรุก
กล ๓ ชวาซัดหอก
(ศอกวงนอก)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดตรงซ้ายยังบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าเอนตัวไปทางกึ่งขวาตัวเอนประมาณ ๓๐ องศาน้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวา ทันใดรีบงอแขนซ้ายใช้ศอกกระแทกชายโครงใต้แขนซ้ายของฝ่ายรุก
กล ๔ อิเหนาแทงกฤช
(ศอกวงใน)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้าตัวเอียงไปทางซ้ายเล็กน้อยตัวเอนประมาณ ๖๐ องศาน้ำหนักตัวอยู่บนเท้าซ้าย งอศอกขวาขนานกับพื้นตีระดับชายโครง ฝ่ายรุกตอบด้วยแขนซ้าย
กล ๕ ยกเขาพระสุเมรุ
(ต่อยตั้งหมัดต่ำก้มตัว ๔๕ องศา)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาพร้อมกับย่อตัวต่ำเข้าหาฝ่ายรุก งอเข่าขวาขาซ้ายตึงย่อตัวต่ำเอนไปข้างหน้าประมาณ ๔๕ องศาน้ำหนักตัวอยู่บนขาขวา ทันใดนั้นให้ยืดเท้าขวายกตัวเป็นแหนบพร้อมกับพุ่งหมัดชกขวาเสยใต้คางของฝ่ายรุกหน้าเงยดูคางของฝ่ายรุก แขนซ้ายกำบังอยู่ตรงหน้าเสมอคาง
กล ๖ ตาเถรค้ำฟัก
(ต่อยคางหมัดสูงก้มตัว ๖๐ องศา)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้าของฝ่ายรุก ทางกึ่งขวาของวงหมัดภายในของฝ่ายรุกที่ชกมางอเข่าซ้ายเล็กน้อยใช้หมัดซ้ายชกใต้คางของฝ่ายรุก แล้วใช้แขนขวาที่งอป้องหมัดซ้ายฝ่ายรุกที่ชกมาให้พ้นตัว
กล ๗ มอญยันหลัก
(รับต่อยด้วยถีบ)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ ผลักตัวเอนไปทางขวาเอนตัวหนีฝ่ายรุกประมาณ ๔๕ องศายืนบนเท้าขวา แขนทั้ง ๒ งออยู่ตรงหน้าเหลียวดูฝ่ายรุก ทันใดนั้นยกเท้าซ้ายถีบที่ยอดอกหรือท้องน้อยของฝ่ายรุกให้กระเด็นห่างออกไป
กล ๘ ปักลูกทอย
(รับเตะด้วยศอก)
ใช้รับการเตะกราดของคู่ต่อสู้โดยใช้ศอกรับสลับกัน
ก. ฝ่ายรุก ยืนตรงหน้าพอได้ระยะเตะยกเท้าขวาเตะกราดไปยังบริเวณชายโครงของฝ่ายรับจากขวาไปซ้าย โน้มตัวเล็กน้อยงอแขนทั้ง ๓ ป้องกันตรงหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบผลักตัวไปทางซ้ายพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายฉากไปข้างหลังใช้แขนขวางอศอกขึ้นรับเท้าของฝ่ายรุกที่เตะมา แขนซ้ายงอป้องกันอยู่ตรงหน้าสูงกว่าแขนขวาเพื่อป้องกันพลาดถูกใบหน้า
กล ๙ จระเข้ฟาดหาง
(รับต่อยด้วยเตะ)
ก. ฝ่ายรุก
ข. ฝ่ายรับ
กล ๑๐ หักงวงไอยรา
(ถองโคนขา)
ก. ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังชายโครงของฝ่ายรับงอแขนทั้ง ๒ บังอยู่ตรงหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาเข้าหาฝ่ายรุกตรงหน้าเกือบประชิดตัวข้างตัวไปทางซ้าย เข่าขวางอเท้าซ้ายเหยียดตรง ทันใดเอามือซ้ายจับเท้าขวาของฝ่ายรุกต้องพยายามยกขาฝ่ายรุกให้สูง กันฝ่ายรุกใช้ศอกถองศีรษะ
กล ๑๑ นาคาบิดหาง
(บิดขาจับตีเข่าที่น่อง)
ก. ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังบริเวณชายโครงของฝ่ายรับแขนทั้ง ๒ งออยู่ตรงหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบผลักตัวไปทางซ้ายยืนบนเท้าซ้ายมือซ้ายจับส้นเท้าของฝ่ายรุก มือขวาจับที่ปลายเท้าบิดออกนอกตัว ทันใดนั้นรีบยกเข่าขวาตีที่น่องของฝ่ายรุก
กล ๑๒ วิรุณหกกลับ
(รับเตะด้วยถีบ)
ก. ฝ่ายรุก
ข. ฝ่ายรับ
กล ๑๓ ดับชวาลา
(ปิดหมัดต่อยตอบ)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายไปยังบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า แขนขวาคุมบริเวณปลายคาง
ข. ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้ากึ่งขวาหลบอยู่นอกหมัดซ้ายของฝ่ายรุกเอี้ยวตัวไปทางขวา ปัดและกดแขนซ้ายของฝ่ายรุกที่ชกมาให้เอนไปทางซ้ายกดให้ต่ำลง ทันใดรีบใช้หมัดซ้ายต่อยบริเวณปากครึ่งจมูกครึ่งหรือที่เบ้าตาของฝ่ายรุก แล้วพุ่งตัวโดดไปทางกึ่งขวา
กล ๑๔ ขุนยักษ์จับลิง
(รับ - ต่อย - เตะ - ถอง)
ไม้นี้เป็นไม้สำคัญมาก ใช้แก้ลำคู่ต่อสู้ที่ไวในการต่อย เตะ ถอง ติดพันกัน การปฏิบัติแบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่ ๑
ก. ฝ่ายรุก พุ่งหมัดซ้ายตรงไปยังใบหน้าของฝ่ายรับพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบเท้าเข้าหาตัวฝ่ายรุกตรงหน้าแขนขวาปัดแขนซ้ายฝ่ายรุกให้พ้นจากตัว
ตอนที่ ๒
ก. ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ
ข. ฝ่ายรับ รีบผลักตัวถอยเท้าซ้ายไปข้างหลังราวกึ่งซ้ายย่อตัวใช้ศอกขวา ถองที่ขาขวาท่อนบนของฝ่ายรุก
ตอนที่ ๓
ก. ฝ่ายรุก งอแขนขวาโน้มตัวถองชกศีรษะของฝ่ายรับ
ข. ฝ่ายรับ รีบยืดตัวงอแขน ให้แขนท่อนบนปะทะแขนท่อนล่างของฝ่ายรุก แล้วรีบผลักตัวก้าวเท้าขวาไปทางหลังประมาณกึ่งขวา
กล ๑๕ หักคอเอราวัณ
(โน้มคอตีเข่า)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงพร้อมกับสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า หมัดขวาคุมอยู่บริเวณคาง
ข. ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายสืบไปตรงหน้าฝ่ายรุกอย่างรวดเร็วพร้อมกับยกแขนขวาสอดปัดแขนซ้ายของฝ่ายรุก แล้วโดดเข้าเหวี่ยงคอฝ่ายรุกโน้มลงมาโดยแรงแล้วตีด้วยเข่าบริเวณใบหน้า