ลูกไม้มวยไทย ๑๕ ท่า

เมื่อเรียนแม่ไม้ ๑๕ กลชำนาญดีแล้วจะออกเป็นลูกไม้ที่สำคัญ ๑๕ เชิง มีชื่อกำกับเพื่อการจดจำต่างๆ

กล

ชื่อ

การใช้

๑๐

๑๑

๑๒

๑๓

๑๔

๑๕

เอราวัณเสยงา

บาทาลูบพักตร์

ขุนยักษ์พานาง

พระรามน้าวศร

ไกรสรข้ามห้วย

กวางเหลียวหลัง

หิรัญม้วนแผ่นดิน

นาคมุดบาดาล

หนุมาณถวายแหวน

ญวนทอดแห

ทะแย ค้ำเสา

หงส์ปีกหัก

สักพวงมาลัย

เถรกวาดลาน

ฝานลูกบวบ

แหวก ชกเสยคาง

ปัดหมัด เตะตรงหน้า

แหวกหมัด ด้วยทุ่ม

ปิดศอก ต่อยเสยคาง

หลบถีบ เตะตรง ถีบขาหลัง

ตามเตะ ถีบด้วยส้นเท้า

รีบเตะม้วนตัว แทงศอกกลับ

ก้มหลบลอดขา ถีบขาพับ

แหวกวงใน เสยคางด้วยหมัด

ปัดถีบ เตะสอดขาพับ

หลบเตะ ถีบขาหลัง

หลบวงใน - วงนอก ศอกฟันแขน

หลบวงใน แทงศอกที่อก

เตะขาพับ - สลับฟันศอก

หลบเข้าวงใน ฟันศอกตรงหน้า

กลลูกไม้มวยไทย

กล ๑ เอราวัณเสยงา

(แหวกชกเสยคาง)

ไม้นี้คล้ายกับแม่ไม่มวยไทยกลที่ ๖ ชื่อ ตาเถรค้ำฟัก

ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงไปยังใบหน้าของฝ่ายรับพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า หมัดขวาคุมเสมอคาง

ข. ฝ่ายรับ เอนตัวผลักเฉียงไปทางซ้ายเล็กน้อยเพื่อหลบหมัดซ้ายของฝ่ายรุก ทันใดนั้นใช้หมัดซ้ายแหวกหมัดคุมของฝ่ายรุก หมุนตัวไปทางขวาพร้อมทั้งใช้หมัดซ้ายชกเสยปลายคางของฝ่ายรุกฝ่ายรับ พยายามเบนตัวให้หัวไหล่ชิดอกฝ่ายรุก

กล ๒ บาทาลูบพักตร์

(ปัดหมัดเตะตรงหน้า)

ก. ฝ่ายรุก ตั้งหมัดคุมเชิงโดยหมัดซ้ายนำพร้อมทั้งก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า หมัดขวาคุมปลายคางเตรียมจะชกหน้าฝ่ายรับด้วยหมัดซ้ายตรง

ข. ฝ่ายรับ ตั้งหมัดซ้ายนำพร้อมทั้งก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าเช่นเดียวกัน พอฝ่ายรุกขยับตัวจะก้าวเข้าชกด้วยหมัดซ้ายตรง ฝ่ายรับรีบใช้หมัดซ้ายปัดหมัดซ้ายของฝ่ายรุกที่จะชกมาให้เบนไปทางขวาของฝ่ายรับ ทันใดนั้นรีบเตะด้วยเท้าขวาตรงไปที่ปลายคางของฝ่ายรุก หรือใช้ฝ่าเท้าลูบหน้าฝ่ายรุกแทนการเตะปลายคาง ตัวเอนไปทางซ้ายยืนบนปลายเท้าซ้าย หมัดทั้งสองคุมเชิงอยู่เสมอหน้าอก

กล ๓ ขุนยักษ์พานาง

(แหวกมัดด้วยทุ่ม)

ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงพร้อมทั้งก้าวเท้าสืบไปข้างหน้า หมัดขวาคุมเสมอคาง

ข. ฝ่ายรับ รีบสืบเท้าซ้ายก้าวออกนอกเท้าซ้ายของฝ่ายรุกยกแขนขวาถองข้อศอกปัดแขนซ้ายของฝ่ายรุกให้พ้นตัว ทันใดรีบอาศัยความเร็วเข้าชิดตัวฝ่ายรุก ใช้แขนซ้ายโอบกลางตัว(ตอนใกล้เอว)ของฝ่ายรุก ใช้ตะโพกยกตัวฝ่ายรุกขึ้นทุ่มหงายหลังลงกับพื้นโดยแรง ฝ่ายรุกจะเสียกำลังหรือศีรษะอาจฟาดพื้น ยอมแพ้อย่างง่ายดาย

กล ๔ พระรามน้าวศร

(ปิดศอกต่อยเสยคาง)

ใช้แก้การตีศอกคู่ของคู่ต่อสู้

ก. ฝ่ายรุก สืบเท้าเข้าหาฝ่ายรับหรือเข้าชิดตัว ยกศอกคู่จะถองศีรษะ

ข. ฝ่ายรับ สืบเท้าเข้าหาฝ่ายรุกพร้อมทั้งยกแขนท่อนล่างขึ้นชนานกับพื้นเพื่อรับหมัดหรือศอกคู่ของฝ่ายรุก ทันใดนั้นให้ใช้หมัดตรงกันข้ามชกเสยคางของฝ่ายรุกพร้อมทั้งก้าวเท้าสืบตามหมัดที่ชกไปด้วย

กล ๕ ไกรสรข้ามห้วย

(หลบถีบเตะตรงพับขาหลัง)

ใช้แก้ไม้ "บาทาลูบพักตร์"

ก. ฝ่ายรุก โดดเตะปลายคางของฝ่ายรับโดยวิธีเตะเสยขึ้นตรงๆด้วยเท้าขวา

ข. ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายโดดหลบปลายเท้าขวาของฝ่ายรุก โน้มตัวไปทางซ้ายยืนบนเท้าซ้าย ทันใดรีบสอดเท้าขวาถีบขาหลังของฝ่ายรุกที่ยืนอยู่ตรงบริเวณหัวเข่า ซึ่งจะทำให้เข่าเคล็ดใช้การไม่ได้

กล ๖ กวางเหลียวหลัง

(ตามเตะถีบด้วยส้นเท้า)

มีวิธีปฏิบัติ ๒ ตอน

ตอนที่ ๑

ก. ฝ่ายรุก ตั้งหมัดขวาหรือซ้ายนำเตรียมจะชกไปยังใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมด้วยก้าวเท้าไปข้างหน้า

ข. ฝ่ายรับ เตรียมตัวและเตะฝ่ายรุกกราดไปชายโครงมือทั้งสองงอคุมบริเวณคาง

ตอนที่ ๒

ก. ฝ่ายรุก ตัวถอยหลังเพื่อหลบเตะของฝ่ายรับ

ข. ฝ่ายรับ รีบหมุนตัวกลับโดยเร็วโดยใช้เท้าข้างที่เตะในตอนแรกยืนเป็นหลัก กลับหลังหันใช้เท้าตรงกันข้าม ถีบปลายคางหรือยอดอกของฝ่ายรุก

กล ๗ หิรัญม้วนแผ่นดิน

(รับเตะม้วนตัวแทงศอกกลับ)

ก. ฝ่ายรุก เตะด้วยเท้าขวากราดไปที่บริเวณชายโครงของฝ่ายรับ ยืนบนขาซ้าย มือทั้งสองงอกำบังตรงหน้า

ข. ฝ่ายรับ รีบยกแขนขวาท่อนล่างขึ้นรับเตะฝ่ายรุก ทันใดรีบหมุนตัวกลับหลังหันกางศอกซ้ายเสมอพื้นระดับตีคางหรือบริเวณใบหน้าของฝ่ายรุก

กล ๘ นาคมุดบาดาล

(ก้มหลบลอดขาถีบขาพับ)

ใช้แก้การเตะสูงแบ่งการกระทำเป็น ๒ ตอน

ตอนที่ ๑

ก. ฝ่ายรุก เตะบริเวณคางหรือขมับด้วยเท้าขวา

ข. ฝ่ายรับ ก้มตัวลงหลบลอดใต้เท้าขวาของฝ่ายรุกที่เตะมายังก้านคอหรือศีรษะ

ตอนที่ ๒

ก. ฝ่ายรุก เตะด้วยเท้าขวาไม่ถูกที่หมายตัวหมุนไปด้วยแรงตามเท้าขวาไปด้วยแรงเหวี่ยง

ข. ฝ่ายรับ รีบสอดเท้าขวาถีบขาพับทางซ้ายของฝ่ายรุกให้ล้มขะมำไป

กล ๙ หนุมาณถวายแหวน

(แหวกวงในชกเสยคางด้วยหมัด)

ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงไปยังบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับพร้อมกับสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้าแขนขวางอคุม

ข. ฝ่ายรับ เบนตัวหลบหมัดซ้ายของฝ่ายรุกพร้อมกับสืบเท้าซ้ายเข้าชิดตัวหันซ้ายเข้าชิดอกฝ่ายรุก ทันใดนั้นกำหมัดทั้งสองชกเสือกไปที่ปลายคางของฝ่ายรุก

กล ๑๐ ญวนทอดแห

(ปัดถีบเตะสอดขาพับ)

ใช้แก้ลูกถีบของคู่ต่อสู้

ก. ฝ่ายรุก เตรียมบุกฝ่ายรับด้วยการใช้เท้าจิกหรือถีบนำไปยังบริเวณท้องน้อยของฝ่ายรับ

ข. ฝ่ายรับ ใช้มือซ้ายปัดและจับข้อเท้าฝ่ายรุกถ้าถีบด้วยเท้าซ้าย ทันใดนั้นใช้เท้าขวาเตะสอดใต้ขาพับฝ่ายรุกโดยแรง ตัวเบนไปทางขวาน้ำหนักอยู่บนเท้าซ้าย

กล ๑๑ ทะแยค้ำเสา

(หลบเตะถีบขาหลัง)

ก. ฝ่ายรุก เตะฝ่ายรับด้วยเท้าขวาไปที่บริเวณชายโครงตัวเอนและยืนบนเท้าซ้าย หมัดทั้งสองงอกำบังตัว

ข. ฝ่ายรับ รีบก้มตัวไปทางขวาและยกเท้าซ้ายขึ้นถีบด้วยส้นเท้าที่โคนขาซ้ายของฝ่ายรุกซึ่งใช้ยืนเป็นหลักน้ำหนักตัวของฝ่ายรับอยู่บนขาขวา

กล ๑๒ หงส์ปีกหัก

(หลบวงใน-วงนอกศอกฟันแขน)

ก. ฝ่ายรุก ขกด้วยหมัดซ้ายตรงไปยังบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า หมัดขวาคุมเสมอคาง

ข. ฝ่ายรับ สืบเท้าซ้ายก้าวเข้าชิดตัวฝ่ายรุกโดยเร็วใช้หมัดขวาปัดหมัดซ้ายของฝ่ายรุกให้พ้นตัว ทันใดรีบใช้ศอกซ้ายฟันเฉียดใบหูลงไปกึ่งกลางแขนซ้ายท่อนบน

กล ๑๓ สักพวงมาลัย

(หลบวงในแทงศอกที่หน้าอก)

ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงมุ่งไปบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ เท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า หมัดขวาคุมเสมอคาง

ข. ฝ่ายรับ สืบเท้าเข้าหาฝ่ายรุกงอตัวอยู่ภายในแขนของฝ่ายรุก หมัดขวารีบปัดแขนซ้ายของฝ่ายรุกออกไปให้พ้นตัว ทันใดรีบยกศอกซ้ายแทงบริเวณแผ่นอกของฝ่ายรุกแทงติดๆกันหลายครั้ง

กล ๑๔ เถรกวาดลาน

(เตะขาขวาสลับฟันศอก)

ก. ฝ่ายรุก ยืนคุมด้วยหมัดซ้ายพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าหันข้างเตรียมเข้าชหฝ่ายรับ

ข. ฝ่ายรับ เตรียมหลอกโดยหมายชกหลอกด้วยหมัด แต่ทันใดนั้นพอฝ่ายรุกเตรียมขยับเท้าจะถีบหรือก้าวเท้าซ้ายเตรียมเข้ามาชกก่อนให้ฝ่ายรับยกเท้าขวาเตะกราดไปที่ขาพับข้างซ้ายของฝ่ายรุกโดยแรงเพื่อให้เสียหลัก แล้วรีบสืบเท้าเข้าชกหรือตีศอกทันที

กล ๑๕ ฝานลูกบวบ

(หลบเข้าวงในฟันศอกตรงหน้า)

ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืงไปข้างหน้า หมัดขวาคุมเสมอคาง

ข. ฝ่ายรับ รีบสืบเท้าซ้ายชิดตัวฝ่ายรุกอยู่วงในหมัดขวาปัดแขนซ้ายของฝ่ายรุกให้พ้นตัว ทันใดนั้นรีบยกศอกซ้ายขึ้นเสมอกกหูฟันลงไปบนใบหน้าของฝ่ายรุก เมื่อฝ่ายรุกเตรียมถอยฉากจะชกด้วยหมัดขวาตวัด ให้ฝ่ายรับรีบก้าวขาขวาตามติดตัวและใช้ศอกขวาฟันลงที่บริเวณหน้าสลับกัน แขนตรงกันข้ามรีบปิดชายโครงเพื่อกันฝ่ายรุกหมายชกชายโครงไว้

การซ้อมกับคู่

เมื่อมีการเรียนทักษะเบื้องต้นจนจบหมดแล้วรวมทั้งการฝึกหัดลูกไม้ด้วย ครูผู้สอนก็จะให้ผู้เรียนได้มีการฝึกซ้อมกับคู่เพื่อให้เกิดความชำนาญในการใช้อาวุธต่างๆ แต่การซ้อมกับคู่บางทีอาวุธบางอย่างอาจไม่อนุญาตให้ใช้ เช่นศอก เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้ การซ้อมกับคู่นอกจากจะเป็นการฝึกหัดใช้ทักษะแล้วยังเป็นการฝึกกำลังใจให้เกิดความกล้าไม่กลัวเจ็บ ฝึกให้รู้จักคาดคะเนระยะรู้จักจังหวะเข้าจังหวะออก ฝึกให้เกิดกำลังจากการเข้าประกบการกอดรัดฟัดเหวี่ยง

ในการซ้อมคู่นี้ควรฝึกให้มีบ่อยๆอาจทุกชั่วโมงก็ได้ ในตอนท้ายตัวผู้เรียนเองก็จะเกิดความพอใจด้วย