การวิเคราะห์โครงการด้านการเงิน

การวิเคราะห์ด้านการเงินเพื่อพิจารณาลู่ทางความเป็นไปได้ของโครงการ ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การจัดเตรียมงบประมาณทางด้านการเงิน เพื่อประโยชน์ทางด้านการประเมินลู่ทางความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ของโครงการ และประมาณการความต้องการทางการเงินของโครงการ การจัดทำงบประมาณกาความต้องการทางการเงินของโครงการ การจัดทำประมารการทางการเงินจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการประมาณการทางด้านเทคนิค และภาวะการตลาดของโครงการเรียบร้อยแล้ว โดยทั่วไปการวิเคราะห์ทางการเงินควรวิเคราะห์ในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ประมาณการและจัดสรรแหล่งที่มาของเงินทุน การประมาณการเงินลงทุนในโครงการ และจัดสรรแหล่งที่มาของเงินทุนจะประกอบด้วย ค่าที่ดินและค่าปรับปรุงที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ยานพาหนะ เครื่องใช้สำนักงานและเครื่องตกแต่ง ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน เงินทุนหมุนเวียน

การจัดสรรแหล่งที่มาของเงินทุนจะได้มาจากแหล่งที่มาจากแหล่งต่อไปนี้ คือ เงินทุนจดทะเบียน แหล่งเงินกู้ระยะยาว ซึ่งจะต้องนำไปใช้สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยคำนึงถึงสัดส่วนระหว่างเงินทุนจดทะเบียนกับแหล่งเงินกู้ระยะยาว ตามปกติไม่เกิน 1:1.5 และแหล่งเงินกู้ระยะสั้น ซึ่งจะนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

2. การประเมินคุณค่าโครงการ การประเมินคุณค่าโครงการจะพิจารณาด้านต่างๆ ดังนี้

ผลตอบแทนทางการเงิน โดยพิจารณาจากงบกำไรขาดทุนเพื่อทราบถึงผลกำไรขาดทุนของกิจการ และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน

การพิจารณาจุดคุ้มทุน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ราคาต่อต้นทุน ปริมาณการขายและกำไร จุดคุ้มทุนคือ จุดที่กิจการดำเนินการผลิตมาจนมีรายได้เท่ากับรายจ่ายพอดี ไม่มีกำไรและขาดทุน แต่ถ้ายอดขายส่วนมากอยู่ใกล้กับจุดคุ้มทุน แสดงว่ากิจการนั้นมีการเสี่ยงในการลงทุนมาก

ต้นทุนสินค้าต่อหน่วย การหาต้นทุนสินค้าต่อหน่วยของสินค้าที่ขาย เพื่อนำมาเปรียบเทียบราคาขายต่อหน่วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการตั้งราคาขายสินค้าได้เหมาะสม เพราะสามารถทราบการเปลี่ยนแปลงต้นทุนที่มีต่อปริมาณการผลิต ราคาวัตถุดิบ ราคาขาย ฯลฯ ได้อย่างชัดเจน

สรุปประเด็น

การวิเคราะห์ด้านการเงินเพื่อพิจารณาลู่ทางความเป็นไปได้ของโครงการ ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การจัดเตรียมงบประมาณทางด้านการเงิน เพื่อประโยชน์ทางด้านการประเมินลู่ทางความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ของโครงการ และประมาณการความต้องการทางการเงินของโครงการ การจัดทำงบประมาณกาความต้องการทางการเงินของโครงการ การจัดทำประมารการทางการเงินจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการประมาณการทางด้านเทคนิค และภาวะการตลาดของโครงการเรียบร้อยแล้ว

กรณีศึกษา