4. การตลาดแบบ Search Engine Optimization

ในปัจจุบันนี้ผู้คนมักจะใช้ Search Engine ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ดังนั้น ถ้าเว็บไซต์ของเราถูกแสดงอยู่ในผลการค้นหา ก็จะเป็นการทำให้คนรู้จักเว็บไซต์ของเรามากขึ้น แนวคิดนี้จึงนำมาสู่หนึ่งในเทคนิคที่สำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ที่มีชื่อเรียกว่า Search Engine Optimization หรือเรียกโดยย่อว่า SEO ซึ่งคำจำกัดความจาก Wikipedia กล่าวว่า SEO คือ “กระบวนในการเพิ่มจำนวนและคุณภาพของผู้เข้าชมเว็บไซต์จาก Search Engine โดยการคลิกมาจากผลการค้นหาโดยปกติ (Normal Search Results หรือในบางครั้งก็เรียกว่า Natural Search Results)” ซึ่งการเพิ่มคุณภาพของผู้เข้าชมเว็บไซต์ หมายถึง การเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์โดยแนวคิดของ SEO นั้น มาจากผลงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีการค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine เว็บไซต์ไหนที่ถูกแสดงผลขึ้นมาก่อนก็จะมีคนคลิกเข้าไปชมเว็บไซต์มากกว่าเว็บไซต์ที่อยู่ล่างลงไป ดังนั้น SEO คือกระบวนการทำให้เว็บไซต์ของเราถูกแสดงผลขึ้นมาก่อนเว็บไซต์อื่นๆนั่นเอง การที่จะทำ SEO ให้ได้ผลดีนั้น ควรพิจารณาว่า Search Engine ทำงานอย่างไร และคนใช้ Search Engine ใช้ Search Engine เพื่อค้นหาอะไร ซึ่งการทำ SEO จะเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงแก้ไขเว็บไซต์ เพื่อให้ Search Engine สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น (On-Page Optimization) และให้มีการสร้างลิงค์มาจากเว็บไซต์อื่นๆ (Off-Page Optimization) ด้วย

1. การทำงานของ Search Engine

ในการทำงานของ Search engine โดยทั่วไปจะมี หุ่นยนต์ (Robot) หรือ แมงมุม (Spider) หรือชื่ออื่นๆ ตามชื่อ Search Engine เช่น googlebot ของ Google ซึ่งหุ่นยนต์นี้จะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไต่ (Crawling) ไปตามเว็บไซต์ต่างๆ แล้วเก็บข้อมูลเข้ามาในฐานข้อมูลของ Search Engine เพื่อการจัดทำดัชนีคำสำหรับการค้นหา หลังจากนั้นจะมีการใช้เทคนิคที่ซับซ้อนในการจัดลำดับ (Ranking) ความสำคัญของหน้าเว็บไซต์ที่ค้นหาเพื่อประโยชน์ในการแสดงผลการค้นหา เมื่อมีการป้อนคำหรือ Keywords เข้ามาในระบบ Search Engine

ในกรณีของ Google นั้น แต่ละหน้าเว็บไซต์จะมีการให้คะแนนที่เรียกว่า PageRank (PR) ซึ่งการคำนวณ PR จะใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ซึ่งมีความซับซ้อนมากที่ประกอบด้วยตัวแปร มากกว่า 500 ล้านค่า และคำอีก 2 พันล้านคำ ในการวัดคุณภาพของหน้าเว็บไซต์หนึ่งๆ ซึ่งแตกต่างกับ Search Engine อื่นๆที่มักคิดจากจำนวน Keywords และดูจาก Meta Tags ทำให้ผลการค้นหาจาก Google เป็นหน้าเว็บไซต์มีความเกี่ยวข้องกับ Keywords อย่างแท้จริง ผู้คนส่วนมากจึงนิยมใช้

งาน Google ในการค้นหา ซึ่งในการคำนวณค่า PR นั้น Google จะพยายามเลียนแบบการจัดอันดับโดยมนุษย์ให้มากที่สุด หลักการหนึ่งคือ เว็บไซต์ที่มีคุณภาพดีควรจะต้องมีคนรู้จักมากและมีการพูดถึงหรือทำลิงค์ไปหาจำนวนมาก นั่นคือหน้าเว็บไซต์ที่มีเว็บไซต์อื่นที่มีเรื่องเกี่ยวข้องกันลิงค์มามากจะได้รับคะแนนมาก และถูกแสดงผลออกมาสูงกว่าหน้าเว็บที่มีลิงค์เข้ามาน้อยกว่า

2. ตัวชี้วัดที่ควรทราบ

2.1 PageRank

การตรวจดูค่า PageRank ของหน้าเว็บไซต์ใดๆ ทำไต้โดยการติดตั้งโปรแกรม Google Toolbar ซึ่งเป็นโปรแกรมเสริมของโปรแกรมดูหน้าเว็บ (Web Browser) ซึ่งเมื่อเปิดหน้าเว็บขึ้นมา Google Toobar จะแสดงค่า PR ของหน้าเว็บนั้น ซึ่งจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 10

ภาพที่ 1 Google Toolbar แสดง PageRank ค่า 7/10

2.2 จำนวนหน้าเว็บที่ถูกเก็บไว้ใน Google

จำนวนหน้าเว็บที่ถูกเก็บไว้ใน Google สามารถทราบได้โดยการพิมพ์ site:domainname ลงไปในช่องสำหรับค้นหาของ Google แล้วกดปุ่มค้นหา เช่น site:aroiuknow.com ผลของการค้นหาจะปรากฏเป็นหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเก็บจาก domain aroiuknow.com

เครื่องมือนี้เป็นการตรวจสอบดูว่า มีหน้าเว็บใดของเว็บไซต์เราที่ไม่ได้ถูกเก็บไว้ใน Google บ้างเพื่อจะได้ทำการปรับปรุงต่อไป

2.3 จำนวนหน้าเว็บที่ทำลิงค์มายังหน้าเว็บไซต์ของเรา

จำนวนหน้าเว็บที่ทำลิงค์มายังหน้าเว็บไซต์ของเรา สามารถทราบได้โดยการพิมพ์ link:domainname ลงไปในช่องสำหรับค้นหาของ Google แล้วกดปุ่มค้นหา เช่น link:aroiuknow.com ผลการค้นหาจะปรากฏเป็นหน้าเว็บไซต์ที่มีลิงค์มายังหน้าเว็บไซต์หน้าแรกของ aroiuknow.com ซึ่งเป็นการตรวจดูว่ามีลิงค์มาที่เว็บไซต์เราจากเว็บไซต์ใดบ้าง

3. Keywords Research

การทำ SEO นั้นเป็นการเพิ่มคุณภาพของหน้าเว็บไซต์ผ่านการใช้ Keywords ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นการวิเคราะห์ Keywords นั้นจึงเป็นสิ่งแรกสุดที่จำเป็นต้องทำเมื่อเริ่มต้นทำ SEO เพื่อจะได้มาซึ่ง Keywords ที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มคุณภาพของหน้าเว็บ ค่าตัวเลขที่ใช้ในการวิเคราะห์ Keyword มี 2 แบบ คือ

3.1 จำนวนหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องกับ Keyword

จำนวนหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องกับ Keyword สามารถทราบได้โดยการทำการค้นหาด้วย keyword นั้นๆ แล้ว พิจารณาผลว่ามีหน้าเว็บในผลการค้นหาเป็นจำนวนเท่าใด

3.2 จำนวนการใช้ Keyword

จำนวนการใช้ Keyword ในการค้นหาข้อมูลในระยะเวลาหนึ่ง (Search Volume) เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ Search Volume ที่จะแนะนำ มีดังนี้

• http://adwords.google.com/select/KeywordToolExtemal
• http://truehits.net/ ต้องเป็นสมาชิกจึงใช้บริการได้
• http://www.keyworddiscovery.com/keywords.html ต้องเป็นสมาชิกจึงใช้บริการได้

จากทั้งสองค่าที่ได้มา สามารถคำนวณดัชนีประสิทธิผลของ Keyword (Keyword Effectiveness Index: KEI) โดย KEI = จำนวนการค้นหา/จำนวนหน้าเว็บ ซึ่งค่า KEI สูงก็จะแสดงถึงการมีประสิทธิภาพสูงของ Keyword นั้น

ตัวอย่างเช่น ตัวอย่างการวิเคราะห์จากจากตารางที่ 1 จะเห็นได้ว่า Keywords ที่ดีที่สุดในกลุ่มนี้คือ “thailand hotels” ดังนั้นเมื่อสามารถเลือก Keywords ที่ดีได้แล้ว ก็สามารถลงมือปฏิบัติทำ SEO ได้

ตารางที่ 1 ตัวอย่างการวิเคราะห์ Keywords

Keywordsจำนวนการค้นหาจำนวนหน้าเว็บค่า KEI
Thailand hotels823,00025,300,00026771.9
hotels in Thailand27,10032,000,00022.95031
travel Thailand673,00074,100,0006112.402

4. On-Page Optimization

เมื่อทำการวิเคราะห์ Keywords ได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาที่จะต้องดำเนินการต่อไป คือการแก้ไขปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเกี่ยวข้องกับ keywords ที่ต้องการ กระบวนการนี้เรียกว่า On-Page Optimization ซึ่งมีหลักการดังต่อไปนี้

4.1 การตั้งชื่อหน้าเว็บ

การตั้งชื่อหน้าเว็บนั้น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับแรกของการทำ SEO คือ การตั้งชื่อของหน้าเว็บ หรือ Title ให้สัมพันธ์กับเนื้อหาของหน้าเว็บ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเมื่อมีคนใช้ Search Engine ค้นหาข้อมูล สิ่งที่แสดงผลออกมาในผลการค้นหาจะเป็นชื่อของหน้าเว็บนั้นๆเอง ดังนั้นหากมีการเลือกใช้ชื่อที่สามารถสื่อความถึงเนื้อหาหรือ Keywords ได้ดีแล้ว ก็จะสามารถดึงดูดให้คนคลิกดูได้มาก ซึ่งการตั้งชื่อหน้าเว็บทำได้โดยการใช้ title tag ในภาษา HTML

4.2 การใช้ Meta Description

แม้ว่าในปัจจุบันนี้ Search Engine จะไม่ได้ให้ความสำคัญกับ Meta Tags มากนัก แต่สำหรับการทำ SEO แล้ว Meta Tags ถือเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ โดย Meta Description จะเป็นประโยคสั้นๆ ที่อธิบายถึงธุรกิจและจุดขายของเว็บไซต์ ซึ่งเนื้อหาของ Meta Description จะแสดงออกมาในผลของการค้นหา ถ้าหน้าเว็บไหนเขียน Description ได้ตรงกับความต้องการของผู้ที่ทำการค้นหา ก็จะทำให้มีโอกาสที่ผู้ทำการค้นหาตัดสินใจ คลิกเข้าไปดูในเว็บไซต์นั้น

4.3 เทคนิคเกี่ยวกับ Keywords

ควรเขียนเนื้อหาเป็นเรื่องราวให้ผูกพันกับ Keywords ที่ได้เลือกไว้ โดย

• พยายามเขียนให้มี Keywords บ่อยๆ โดยผูกเป็นเรื่อง และไม่ควรเขียน Keywords เรียงต่อกันไป โดยไม่สื่อความหมาย

• ใช้คำที่มีความหมายเหมือนกัน แทนการเขียน Keywords นั้นๆลงไปโดยตรง และอาจจำเป็นต้องเขียนคำที่มักเขียนผิดเผื่อไว้บ้าง

• ตรวจดู Keywords ที่นำคนมาที่เว็บไซต์ โดยใช้เครื่องมือติดตามแล้วปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกัน

4.4 การเน้นเนื้อหาที่สำคัญ

ในเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์ ควรมีการเน้นข้อความเพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์สนใจ และเพื่อให้ Search Engine เก็บข้อความเหล่านี้เป็น Keywords ของหน้าเว็บนั้นด้วย การเน้นเนื้อหาหรือข้อความสามารถทำได้ในสองรูปแบบ คือ การเน้นหัวข้อด้วย Header เช่น <H1> และอีกแบบ คือการเน้นด้วยรูปแบบตัวอักษร เช่น ตัวเข้ม <strong> ตัวเอียง <em> เป็นต้น

4.5 การทำลิงค์ภายใน (Internal link)

การทำลิงค์นั้น ควรทำลิงค์ไปหน้าเว็บอื่นในเว็บไซต์ของตัวเองด้วย จากข้อความที่เป็น Keywords เพื่อให้ Search Engine สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง Keywords กับหน้าเว็บที่ถูกลิงค์ไป โดยไม่ควรใช้คำว่า “Click here” หรือ “คลิกที่นี่” เพราะอาจไม่สื่อความหมายว่าหน้าเว็บไซต์ปลายทางของลิงค์เป็นหน้าเว็บเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร นอกจากนั้นควรจัดทำลิงค์ให้ง่ายที่สุดโดยใช้ HTML ธรรมดา และไม่ควรทำลิงค์โดยใช้ JavaScript หรือ Flash หรือคำสั่งพิเศษอื่นๆ เพราะ Robot ของ Search Engine อาจไม่สามารถติดตามลิงค์เหล่านั้นได้

4.6 คำอธิบายรูปภาพ

ปัจจุบันนี้ ผู้คนนิยมค้นหาข้อมูลจากรูปภาพมากขึ้น ดังนั้นหากมีการเขียนอธิบายรูปภาพที่ดี ก็จะช่วยให้ Search Engine สามารถทำดัชนีค้นหาที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับรูปภาพของเว็บไซต์เราได้ง่ายยิ่งขึ้น การเขียนคำอธิบายรูปภาพทำได้โดยการใช้ ALT Text ในคำสั่งใส่รูปภาพ <img> ตัวอย่างเช่น <img src=”clock.jpg” alt=”นาฬิกาแขวนผนังขนาดใหญ่มองเห็นได้ไกล”> เมื่อเลื่อน Mouse ไปวางบนรูปภาพที่มีการเขียนคำอธิบายแล้ว จะมีคำอธิบายขึ้นที่ Mouse

4.7 แผนที่เว็บไซต์ หรือ Sitemap

เว็บไซต์ที่มีหน้าเว็บจำนวนมาก และมีการทำลิงค์ไม่มีประสิทธิภาพ อาจมีผลทำให้ Robot ของ Search Engine ไม่สามารถเข้าไปได้ครบทุกหน้าเว็บของเว็บไซต์ได้ อย่างไรก็ตาม การใช้ Sitemap หรือแผนที่เว็บไซต์จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ นอกจากนั้นแล้วผู้เข้าชมเว็บไซต์ยังสามารถเข้าถึงหน้าที่ต้องการได้ทันทีโดยผ่านทาง Sitemap โดยไม่ต้องคลิกหลายครั้ง การใช้ Sitemap ยังเป็นเครื่องมือในการช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ด้วย เราสามารถสร้าง Sitemap ได้ โดยการใช้เครื่องมือช่วย ซึ่งในที่นี้จะแนะนำเครื่องมือฟรี คือ XML Sitemaps (http://www.xml-sitemaps.com/) ที่สามารถสร้าง Sitemap เป็น XML ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และ Sitemap ที่สร้างขึ้นมานั้นจะสามารถส่งไปยัง Google ได้ทันที อย่างไรก็ตามจากการทดสอบพบว่า เว็บไซต์บางเว็บไซต์นั้นไม่สามารถใช้เครื่องมือในการสร้าง Sitemap ได้ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรตรวจสอบอีกครั้ง โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่เป็นภาษาไทย

5. Off-Page Optimization

จากหลักการที่ว่าคุณภาพของเว็บไซต์ขึ้นอยู่กับจำนวนและคุณภาพของลิงค์ที่ชี้มายังเว็บไซต์นั้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องสร้างลิงค์จากเว็บไซต์อื่นๆ มายังเว็บไซต์ของเราให้มากที่สุด โดยการทำลิงค์มานั้นจะต้องทำตามเทคนิค ดังนี้

5.1 เลือกเว็บไซต์ที่ทำลิงค์มาให้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์เรา

เนื่องจากการสร้างลิงค์จากเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้องจะเป็นการเพิ่มจำนวนเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เป็นการเพิ่มคุณภาพ ในการสร้างลิงค์ผู้ประกอบการควรพิจารณาถึงลักษณะและเนื้อหาของเว็บไซต์ที่ต้องการสร้างลิงค์นั้น กับเนื้อหาของเว็บไซต์ของผู้ประกอบการเองด้วย ว่ามีเนื้อหาสอดคล้องเชื่อมโยงกันอย่างไร เพื่อให้การสร้างลิงค์นั้นสามารถเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ต่างๆได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และนำไปสู่การมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการสร้างลิงค์นั้น

5.2 สร้างลิงค์โดยใช้ keywords ที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์กับเว็บไซต์เรา

ตัวอย่างเช่น หากผู้ประกอบการต้องการเน้น Keywords คือ “กระเป๋าหนัง” เพื่อให้ผู้ค้นหา คำว่ากระเป๋าหนัง ได้เข้ามาที่เว็บไซต์ของผู้ประกอบการแล้ว ผู้ประกอบการนั้นควรสร้างลิงค์รูปแบบดังนี้ คือ <a href=”http://www.myshop.com”>กระเป๋าหนัง</a>

5.3 ลิงค์จากหน้าเว็บที่มี Pagerank สูง

ลิงค์จากหน้าเว็บที่มี Pagerank สูง จะทำให้หน้าเว็บของเรามีคะแนนมากขึ้นไปด้วย โดยแหล่งสำคัญที่ควรสร้างลิงค์มาเว็บไซต์ของเรา คือ

• สารบัญเว็บหรือ Web Directories ระดับโลก ตัวอย่างเช่น
o Open Directory: http://www.dmoz.org
o Yahoo! Directory: http://dir.yahoo.com
o GoGuides: http://www.goguides.org
o Best of the Web: http://botw.org
o JoeAnt: http://www.joeant.com

• สารบัญเว็บของประเทศไทย ตัวอย่างเช่น
o Sanook : http://webindex.sanook.com
o Hunsa: http://webdir.hunsa.com/reg.php

• สารบัญเว็บที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น
o http ://www.tourismthailand.org, http ://thailandtourismdirectory.com
o ร้านอาหาร http://www.aroys.com, http://www.ranarhan.com

• สร้าง Blog แล้วเขียนบทความทำลิงค์มายังเว็บไซต์เรา โดยเลือกเฉพาะ Blog ที่เป็น Dofollow (หมายถึงยอมให้ Search Engine Robot ไต่ไปตามลิงค์ที่เขียนไว้ในเนื้อหา) ตัวอย่างเช่น
o blogger.com: http://www.blogger.com
o Wordpress: http://www.wordpress.com, Hroyy : http://www.hroyy.com

  • ส่งข้อความที่มีลิงค์ไปตามเว็บบอร์ดต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเรา แต่ต้องศึกษากติกาของแต่ละเว็บบอร์ดให้ดี เพราะบางเว็บบอร์ดไม่อนุญาตให้ทำลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่ทำการค้า อย่างไรก็ตามเทคนิคที่สามารถใช้ได้ดี คือ การทำลิงค์ไปเว็บไซต์เราที่ส่วนของลายเซ็นต์ (Signature) และการพยายามแสดงการมีส่วนร่วมใน Community นั้นๆให้มากที่สุด

• ส่งลิงค์ไปยัง Social Bookmarking ตัวอย่างเช่น
o Digg: http://digg.com
o StumbleUpon: http://www.stumbleupon.com
o Delicious: http://delicious.com
o Reddit: http://www.reddit.com

• ส่งลิงค์ไปยัง Social Media Profiles ตัวอย่างเช่น
o Facebook : http://www.facebook.com
o Flickr: http://www.flickr.com
o Friendster: http://www.friendster.com
o Technorati: http://technorati.com

• เขียนบทความแล้วส่งไปตามสารบัญบทความ ตัวอย่างเช่น
o Ezine Articles: http://ezinearticles.com
o GoArticles: http://www.goarticles.com

• ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ ตัวอย่างเช่น
o ThaiPR.net: http://www.thaipr.net,
o Yahoo! News: http://help.yahoo.eom/l/us/yahoo/news/forms/submitsource.html

• สร้างความสัมพันธ์กับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันเพื่อทำการแลกเปลี่ยนลิงค์กัน

6. การทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักของ Search Engine

เมื่อสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาใหม่ เราต้องทำการส่งเว็บไซต์ให้กับ Search Engine เพื่อให้ผู้ที่ค้นหาข้อมูลจะได้มีโอกาสค้นพบเว็บไซต์เรา เปรียบเสมือนเราสร้างบ้านขึ้นมาแล้ว ก็ต้องทำถนนออกสู่ถนนใหญ่ ในที่นี้จะแนะนำวิธีการส่งเว็บไซต์สู่ Search Engine ที่สำคัญดังต่อไปนี้

6.1 การส่งเว็บไซต์สู่ Google.com

ผู้ประกอบการสามารถกระทำได้โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.google.com/addurl/ อย่างไรก็ตาม การส่งเว็บไซต์แบบนี้เป็นการแจ้งเพียงว่าเว็บไซต์หน้าแรกของเราอยู่ที่ใด แต่ไม่ได้บอกว่าเว็บไซต์ของเรามีกี่หน้า และมีชื่อว่าอะไรบ้าง ดังนั้นวิธีการที่ดีในการส่งเว็บไซต์สู่ Google.com ‡คือ การใช้ Google Webmaster Tool: http://www.google.com/webmasters/ ซึ่งนอกจากสามารถส่ง Sitemap และมีเครื่องมือต่างๆ ยังรวมถึงสถิติที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงเว็บไซต์ต่อไป

6.2 การส่งเว็บไซต์สู่ Yahoo.com

ผู้ประกอบการสามารถส่งเว็บไซต์ของตนเองให้กับ yahoo.com ได้โดยผ่านทางเว็บไซต์ http://siteexplorer.search.yahoo.com/submit ซึ่งมีเครื่องมือให้ใช้งานเกี่ยวกับเว็บไซต์เช่นกัน

6.3 การส่งเว็บไซต์สู่ bing.com (MSN)

Bing.com มีเครื่องมือคล้ายกับ Google Webmaster Tool ผู้ประกอบการสามารถเข้าไปใช้งานได้ที่ http://www.bing.com/webmaster นอกจากการใช้ส่งเว็บไซต์แล้ว ผู้ประกอบการยังสามารถส่ง Sitemap ได้อีกด้วย

5. การตลาดแบบ Blog Marketing next