5. การตลาดแบบ Blog Marketing
Blog นั้นเป็นที่นิยมใช้งานกันทั่วโลกมาหลายปี เนื่องจากความที่สามารถใช้งานได้สะดวก และได้มีการพัฒนาระบบ Blog ขึ้นมาให้สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายโดยที่ผู้ที่ใช้งานนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีความชำนาญในการเขียนเว็บไซต์หรือดีไซน์กราฟฟิค ก็สามารถใช้งานได้ เนื่องจากระบบ Blog ส่วนมากแล้วมักจะมี Template ให้เลือกนำมาใช้งานหรือนำมาใช้ตกแต่ง Blog ของตนเองได้อย่างสวยงาม
คำว่า Blog นั้นมาจากคำเต็มก็คือ Weblog (เว็บ-ล็อก) ซึ่งหมายถึงการบันทึกบนเว็บไซต์ หากแต่คนจำนวนมากนิยมเรียก Weblog แบบสั้นๆกันว่า Blog (บล็อก) โดยลักษณะเด่นของ Blog นั้นคือ เป็นระบบการบันทึกเรื่องราวส่วนตัวแบบออนไลน์
Blog นั้นมีการจัดเก็บและแสดงผลในแบบของใหม่จะมาแสดงอยู่ในบทความล่าสุด แล้วบทความเก่าก็จะถูกดันให้ไปอยู่ด้านหลัง (Chronological Order) นอกเหนือจากนี้ Blog ยังมีรูปแบบที่มีการสื่อสารแบบสองทางระหว่างตัวของผู้เขียนและตัวของผู้อ่านด้วย โดยมีการใช้ระบบ Comment มาเป็นการสื่อสาร และจุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ Blog คือ ความไม่เป็นทางการ หรือความเป็นกันเอง โดยส่วนมากผู้เขียนมักจะใส่ความคิดเห็นของตนเองลงในบทความที่เขียนลงใน Blog ด้วยนั่นเอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้Blog ได้รับความนิยมอย่างมาก และใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจที่จะกระทำการใดๆ ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจซื้อสินค้า เพราะเชื่อถือความคิดเห็นที่เขียนใน Blog เป็นต้น
1. ข้อดีของ Blog
1.1 ระบบ Blog ใช้งานง่าย
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในข้างต้นว่า ระบบ Blog ในปีจจุบันนั้นสามารถใช้งานได้ง่าย เพราะมีการพัฒนาเครื่องมือในการเขียนบทความ เครื่องมือในการใส่รูปภาพ และ Template ให้เลือกใช้ในการตกแต่ง Blog ได้อย่างมาก
1.2 Search Engine ชอบ Blog
เนื้อหาใน Blog ส่วนใหญ่จะเป็นตัวหนังสือ ซึ่งสอดคล้องกับเสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) อย่างเช่น Google ที่ได้รับความนิยมในหมู่คนไทยนั้น ก็มีลักษณะชอบเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเป็นตัวหนังสือเช่นกัน เพราะตัวหนังสือนี้จะเป็นเสมือน Keyword ที่เราใช้ในการค้นหาโดยเสิร์ชเอนจิ้น นั่นเอง
1.3. อัพเดทและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยความที่ Blog สามารถอัพเดทได้ง่าย และระบบ Blog ส่วนใหญ่มักจะมีระบบ RSS Feed ติดตั้งมาให้อยู่แล้วโดยอัตโนมัติ ดังนั้นคนอ่านจึงสามารถใช้ Feed เหล่านี้ในการอ่านรูปแบบต่างๆได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย
1.4 ประหยัดค่าใช้จ่าย
ผู้ให้บริการพื้นที่ Blog ส่วนมากมักจะมีการให้บริการฟรี ส่งผลให้ผู้คนหันมาใช้งาน Blog แทนเว็บไซต์มากขึ้น ดังนั้นเมื่อการใช้ Blog มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาที่ไม่สูงมากนัก ก็ย่อมส่งผลให้คนที่กำลังจะทำเว็บไซต์ หันมาใช้งาน Blog แทนมากขึ้น
1.5 มีการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ
Blog นั้นมีระบบจัดการหมวดหมู่ของข้อมูล และยังมีความสามารถในการใช้ Tag กำหนดหมวดหมู่ย่อยได้เองอีกด้วย ทำให้ Blog เป็นอีกระบบหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้งานในการจัดระเบียบข้อมูลด้วย
1.6 สามารถเขียนได้หลายคน
ระบบ Blog อย่าง Wordpress สามารถตั้งค่าให้มีผู้เขียน Blog ได้หลายคน และสามารถร่วมกันเขียนใน Blog เดียวกันได้
2. การนำ Blog มาใช้ทำการตลาด
ปัจจุบัน ได้มีการประยุกต์ใช้ประโยชน์จาก Blog ในการทำการตลาดกันเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจาก Blog นั้น มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวในเรื่องการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่ง Blog สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการตลาดในด้านต่างๆ ดังนี้
2.1 เพื่อแสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ
Blog สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเขียน หรือแสดงบทความที่แต่ละคนถนัดออกมาได้ดี หากมีการเขียนบทความในเรื่องเฉพาะด้าน จะสามารถทำให้ผู้อ่านสามารถทราบถึงความเชี่ยวชาญของผู้เขียน Blog ได้
Blog นั้นสามารถใช้ประโยชน์เพื่อขายสินค้าหรือบริการได้ โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราเขียนใน Blog เพราะผู้อ่านจะรู้จักเจ้าของ Blog อยู่ในระดับหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าของ Blog มาแนะนำสินค้าหรือบริการจึงมักจะได้รับการตอบรับจากผู้อ่านได้ดี
2.3 เพื่อการทำประชาสัมพันธ์
บริษัทต่างๆ มักใช้ Blog เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวของตนเอง ตัวอย่างเช่น บริษัทอย่าง Google มักใช้ Blog ของตัวเองเพื่อประกาศข่าวต่างๆแบบเป็นทางการใน Blog ของตัวเอง ก่อนที่จะออกไปเป็นข่าวตามหน้าสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ขง การทำประชาสัมพันธ์ผ่าน Blog ได้อย่างชัดเจน
2.4 เพื่อการทำวิจัย หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์
ระบบแสดงความคิดเห็น (Comment) ของ Blog ช่วยทำหน้าที่นี้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเมื่อผู้อ่าน Blog ได้แสดงความคิดเห็นเข้ามา ผู้ประกอบการสามารถนำความคิดเห็นนั้นไปพัฒนาหรือปรับปรุงสินค้าและบริการต่อไป
2.5 เพื่อบริการลูกค้า
Blog สามารถใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการติดต่อของผู้ประกอบการได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของสินค้าหรือบริการนั้นจึงมีโอกาสในการบริการลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาผ่าน Blog ได้
2.6 เพื่อพัฒนา Community
เนื่องจากลักษณะพฤติกรรมของคนที่เขียนและอ่าน Blog ส่วนมาก มีแนวโน้มที่จะรู้จักกันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อผู้ประกอบการใช้ Blog ในการทำการตลาดแล้ว ผู้ประกอบการก็จะมีโอกาสได้ทำความรู้จักคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน และมีโอกาสในการพัฒนา Community ให้กับสินค้าหรือบริการของเราได้
Blog สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้าง Brand ได้ โดยแสดงได้ทั้งเนื้อหาในส่วนที่เป็นรูปภาพ (Visual) และเนื้อหาในส่วนที่เป็นข้อความ (Text) ที่จะทำให้ Brand ของเราไปปรากฏใน Search Engine ได้ และเมื่อคนคลิกเข้ามาที่ Blog ของเราก็สามารถรู้จัก Brand ของเราได้ ดังนั้น Blog จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้าง Brand ได้ดี
2.8 เพื่อการสื่อสารภายในองค์กร
ระบบ Blog ที่ดี มักจะมีระบบ Login เพื่อให้เฉพาะคนที่เป็นสมาชิกเท่านั้นที่จะสามารถเข้าไปอ่าน Blog ได้ดังนั้น Blog จึงมีประโยชน์ในการนำมาใช้ในการสื่อสารกันภายในองค์กร โดยเฉพาะการใส่ข้อมูลประเภทคู่มือหรือระบบการทำงานไว้ใน Blog เฉพาะภายในองค์กรได้
3. การเลือกระบบ Blog
การเลือกระบบ Blog เพื่อใช้งาน ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประกอบการในการทำ Blog ว่า ต้องการรายละเอียดและความสามารถในการปรับแต่ง Blog มากน้อยแค่ไหน กล่าวคือ
3.1 ระบบ Blog ขั้นสูง
ระบบ Blog ขั้นสูงเหมาะสมกับผู้ประกอบการที่มีความพื้นฐานในการทำเว็บไซต์เบื้องต้น เช่น ภาษา html ภาษา php หรือฐานข้อมูล MySQL เป็นต้น รวมถึงผู้ประกอบการที่ต้องการมีโดเมนเนมเป็นของตัวเอง ผู้ประกอบการที่ต้องการเช่า Web Hosting เพื่อใช้งาน Blog และผู้ประกอบการที่ต้องการปรับแต่ง Template เพื่อให้เข้ากับเว็บไซต์ของตนเอง ซึ่งสามารถใช้ระบบ Blog ขึ้นสูงได้ เช่น WordPress (www.wordpress.org) หรือ MovableType (www.movabletype.com) ซึ่งเป็นระบบที่ต้องดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เพื่อมาติดตั้งใน Web Hosting
3.2 ระบบ Blog ทั่วไป
ระบบ Blog ทั่วไปส่วนใหญ่จะให้บริการฟรี โดยสามารถสมัครใช้บริการได้ทันที แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ หรือข้อจำกัดด้านการปรับแต่ง Template เช่น Blogger.com, exteen.com, Bloggang.com หรือ wordpress.com
4. การพัฒนาระบบ Blog
เพื่อให้การพัฒนา Blog มีระบบมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการควรมีการวางกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบ Blog ดังนี้
4.1 การทำความเข้าใจกับระบบ Blog
ผู้พัฒนา Blog ควรทำความเข้าใจกับตัวเองก่อนว่า ต้องการทำธุรกิจอะไร และวัตถุประสงค์ของการพัฒนา Blog นี้คืออะไร ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจ และทำความรู้จักกับความต้องการของตนเองก่อนการพัฒนา Blog หากผู้พัฒนา Blog สามารถค้นพบได้ว่า ผู้พัฒนา Blog นั้นมีความนิยมและชอบในเรื่องอะไรเป็นพิเศษ และหากเป็นเรื่องที่ชอบนั้นเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับธุรกิจที่ทำแล้ว ก็จะทำให้ผู้พัฒนา Blog นั้นๆ สามารถเขียน Blog ได้เป็นระยะเวลานาน (ตัวอย่างเช่น keng.com ที่มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะจัดอบรมเทรนนิ่งทางด้านการตลาดออนไลน์ต่างๆ)
4.2 การทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย
ผู้พัฒนา Blog ควรทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายที่จะมาอ่าน Blog เราว่าเป็นใคร อายุเท่าไหร่ และชอบเรื่องอะไรบ้าง เป็นต้น (ตัวอย่างเช่น กลุ่มเป้าหมายของ keng.com คือ คนที่ทำงานในสายการตลาด หรือพนักงานจากเอเจนซี่ต่างๆ)
4.3 การกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนา Blog
ผู้พัฒนา Blog ควรกำหนดกลยุทธ์ที่ต้องการว่า จะพัฒนา Blog ไปในแนวทางหรือทิศทางใด การกำหนดวิถีทางหรือแนวทาง จะช่วยให้ผู้พัฒนา Blog ประสบความสำเร็จในการทำการตลาดได้ โดยจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายแผนงานและนโยบายที่ชัดเจน เพื่อเป็นเครื่องมือควบคุม และกำกับการดำเนินการให้ผู้พัฒนา Blog สามารถพัฒนา Blog ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ (ตัวอย่างกลยุทธ์ เช่น เรียนเการตลาดออนไลน์กับ keng.com)
4.4 การกำหนดเนื้อหา
การกำหนดสัดส่วนเนื้อหา ควรอ้างอิงจากกลยุทธ์ที่วางไว้ในข้อ 4.3 ตัวอย่างเช่น keng.com มีกลยุทธ์ว่า “เรียนเการตลาดออนไลน์กับ keng.com” เวลาที่จะแบ่งสัดส่วนเนื้อหา ก็จะเน้นไปยังบทความที่ให้ความรู้มากหน่อย ส่วนบทความประเภทข่าวสารต่างๆ จะมีน้อย เพราะต้องการให้ผู้อ่านรู้สึกว่า บทความของเราเป็นการให้ความรู้ที่เขาสามารถนำไปใช้ได้ และจะตอบโจทย์ในอีกมุมหนึ่งคือ คนอ่านจะได้เห็นว่าเรามีความรู้ความสามารถ หากจัดอบรม (training) คนอ่านก็จะสนใจใช้บริการได้ไม่ยาก
5. การโปรโมท Blog
เมื่อเราสามารถกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างและพัฒนา Blog ได้แล้ว ในขั้นตอนสุดท้ายของการทำ Blog Marketing ก็คือการโปรโมท Blog และเมื่อผู้พัฒนา Blog ต้องการโปรโมท Blog ก็จะต้องมีการพิจารณาประเภทของผู้ที่เข้าเว็บไซต์ว่า ผู้ที่เข้าเว็บไซต์มานั้น จะมาจากช่องทางใดบ้าง (เฉพาะสื่อออนไลน์) หากสามารถวิเคราะห์และทำความเข้าใจว่าผู้ที่เข้าเว็บไซต์ได้ว่า ผู้ที่เข้าเว็บไซต์นั้นเข้ามาจากแหล่งใดได้บ้าง ก็จะทำให้ผู้พัฒนา Blog นั้น สามารถวางแผนการโปรโมท Blog ได้ดียิ่งขึ้น
โดยทั่วไปสามารถแบ่งประเภทของผู้ที่เข้าเว็บไซต์ได้ตามช่องทางในการเข้าเว็บไซต์ได้ ดังนี้
• ผู้ที่พิมพ์ URL ของเว็บไซต์เข้ามาโดยตรง
• ผู้ที่เข้ามาผ่านทางเว็บลิงค์ (ซึ่งมีเว็บไซต์อื่นที่ทำลิงค์มาหา Blog ของผู้ประกอบการ ผู้จัดทำหรือผู้พัฒนา Blog แล้วมีผู้คลิกเข้ามา)