การวิเคราะห์โครงการด้านการตลาด
โดยทั่วไปแล้วมักจะเข้าใจว่า การตลาด หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ในอันที่จะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคจากความหายนี้ทำให้เข้าใจว่าการตลาดนั้นเริ่มขึ้นภายหลังจากที่ได้มีการผลิตสินค้าเรียบร้อยแล้วจึงมีผู้ทำหน้าที่ทางด้านการตลาดต่อไป
แต่ในความหมายของการตลาดสมัยใหม่นั้น การตลาด หมายถึง การนำสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคอุปโภคโดยคำนึงถึงความต้องการของบุคคลเหล่านั้น และยังรวมถึงการหาข่าวสารเพื่อป้อนให้ฝ่ายผลิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าการตลาดนั้นมาก่อนการผลิต
การวิเคราะห์ด้านการตลาดจัดเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิเคราะห์ลู่ทางความเป็นไปได้ของโครงการ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
1. ตัวสินค้า (Product) จะต้องพิจารณาว่าโครงการลงทุนจะผลิตสินค้าอะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร คุณภาพสินค้าอยู่ในระดับไหน
2. วิเคราะห์ความต้องการต่อสินค้าหรือบริการนั้นๆ จะต้องวิเคราะห์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต เพื่อพิจารณาว่าความต้องการสินค้าดังกล่าวจะมีมากน้อยเพียงใด และเพียงพอกับปริมาณการผลิตของโครงการหรือไม่
3. การวิเคราะห์ถึงปริมาณของสินค้าหรือบริการในการตลาด จะต้องวิเคราะห์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต โดยพิจารณาถึงแหล่งที่มาว่ามาจากการผลิตภายในประเทศ หรือจากการสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ การรวบรวมข้อมูลข่าวสารในส่วนที่จะทำให้เข้าใจสถานภาพทางการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ เช่น ข่าวสารเรื่องราคาขาย คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์ทางการตลาดของคู่แข่งขัน เป็นต้น
4. การวิเคราะห์ราคาตลาดของผลิตภัณฑ์ จะวิเคราะห์เพื่อพิจารณาถึงความเป็นมาและการเคลื่อนไหวของราคาตลาดของผลิตภัณฑ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันตลอดจนปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในแต่ละช่วงเวลาซึ่งจะทำให้สามารถพยากรณ์แนวโน้มของราคาในอนาคต เพื่อนำมากำหนดราคาผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่จะเข้าสู่ตลาด
5. การจัดจำหน่าย ช่องทางและแผนการจัดจำหน่ายของบริษัทจะแสดงถึงความเป็นไปได้ทางด้านการตลาดของโครงการ โครงการจะมีความเป็นไปได้ทางด้านการตลาดสูงถ้ามีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แน่นอน
6. วัตถุดิบ จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ตัดสินความเป็นไปได้ของโครงการ สำหรับโครงการที่วัตถุดิบมีอยู่ทั่วไปในราคาปกติ วัตถุดิบอาจไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่ในบางกรณีที่วัตถุดิบมีจำกัด การวิเคราะห์โครงการด้านการตลาดจะต้องเน้นหักถึงความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบ ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญคือ ความเพียงพอของวัตถุดิบ หมายถึง ความสามารถในการหาแหล่งวัตถุดิบที่แน่นอนและเพียงพอ เพื่อใช้งานได้ในระยะยาว มีคุณภาพที่เหมาะสมในการใช้งาน และที่สำคัญอีกประการคือ ราคาของวัตถุดิบในการวิเคราะห์ จะต้องพิจารณาราคาวัตถุดิบทั้งในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต ตลอดจนต้องคำถึงถึงโครงสร้างราคาค่าขนส่ง และภาษีต่างๆ เพื่อนำมาคำนวณต้นทุนในโครงการด้วย