การรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก

เนื่องจากโรคริดสีดวงทวารหนักส่วนใหญ่มักไม่มีอันตรายถึงชีวิต และถ้ามีการดูแลรักษาปฏิบัติตนเองได้ดีอาการเลือดออกและการเจ็บปวดก็จะทุเลาลง หรือหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์

กรณีที่ระดับความรุนแรงของโรคอยู่ในระยะที่ 1 ไม่ว่าจะเลือดออกหรือไม่ จะเน้นการใช้ยาและการดูแลปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเป็นสำคัญ และถ้าโรคลุกลามเข้าสู่ระยะที่ 2 หรือเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 3 (แต่ยังมีขนาดเล็กอยู่) แนะนำให้การดูแลรักษาปฏิบัติตนเองควบคู่กับการใช้ยา

แต่ถ้าความรุนแรงของโรคเข้าสู่ระยะที่ 3 (ร่วมกับมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่) หรือเป็นระยะที่ 4 หรือรายที่เป็นรุนแรง เช่น มีเลือดไหลอยู่ตลอดเวลา ก็ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป การปฏิบัติดูแลตนเอง

อาการและความรุนแรงของโรคจะทุเลา บรรเทาได้อย่างมาก ด้วยการดูแลปฏิบัติตนเองที่ดีดังนี้

1. ควรนั่งแช่น้ำอุ่น 10-15 นาที วันละ 3 ครั้ง เพื่อช่วยลดอาการปวด การอักเสบ และช่วยทำความสะอาดบริเวณที่เป็นโรค

2. ควรหลีกเลี่ยงอาการท้องผูก เพราะท้องผูกเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของริดสีดวงทวารหนักทั้งเป็นสาเหตุของการเบ่ง และทำให้อุจจาระแข็ง ซึ่งมี

วิธีแก้ไขอาการท้องผูกดังนี้

กินอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และเมล็ดธัญพืช เพื่อช่วยให้อุจจาระนุ่มขึ้น

ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรอย่าสม่ำเสมอ

ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกาเฟอีน เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ กาแฟ ชา น้ำโคล่า เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ อุจจาระแข็ง และถ่ายลำบาก

ควรหลีกเลี่ยงกลั้นอุจจาระ ไม่ควรนั่งหรือเบ่งอุจจาระโดยไม่รู้สึกปวดจะถ่าย

3. ควรหลีกเลี่ยงการขัดถูบริเวณทวารหนักอย่างรุนแรง เพราะจะยิ่งระคายเคืองริดสีดวงทวารหนัก

4. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยเพิ่มกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้ถ่ายอุจจาระได้ง่าย

นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรสำรวจและสังเกตตนเองว่าตนเองมีพฤติกรรมที่เสี่ยงในการส่งเสริมทำให้ท้องผูกหรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคริดสีดวงทวารหนัก เช่น ชอบอ่านหนังสือในห้องสุขา การถ่ายอุจจาระบนส้วมชักโครก การยกของหนักๆ การนั่งหรือยืนท่าใดท่าหนึ่งติดต่อกันนานๆ การกลั้นอุจจาระ เป็นต้น ซึ่งถ้าพบและแก้ไขสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างมาก

ยารักษาโรคริดสีดวงทวาร

ขณะที่มีอาการเลือดออกและ/หรือเจ็บปวด ควรแนะนำการปฏิบัติควบคู่กับการใช้ยาเหน็บทางทวารหนักซึ่งเป็นยาใช้ภายนอก มีทั้งชนิดแท่งและชนิดขี้ผึ้ง มักจะประกอบด้วย ยาชา (บรรเทาอาการปวด) ยาลดการอักเสบ ยาหดตัวของหลอดเลือด และยาปฏิชีวนะ ซึ่งผู้ผลิตมักผลิตยาของตนเองทั้ง 2 ทั้งชนิดแท่งและชนิดขี้ผึ้ง ซึ่งมีส่วนประกอบของตัวยาและความเข้มข้นเท่ากัน

การใช้ยาชนิดแท่ง (suppository)

ควรแช่ในตู้เย็น น้ำแข็ง หรือน้ำเย็น เพื่อให้ยาแข็งตัว ก่อนนำออกมาใช้เพราะที่อุณหภูมิห้อง ยานี้จะเป็นของเหลว แต่ถ้าแช่เย็นยานี้จะแข็ง เมื่อเห็บเข้าไปในร่างกายแล้ว อุณหภูมิของร่างกายที่ร้อนกว่า จะช่วยละลายยาให้กระจายไปทั่วบริเวณ เมื่อแข็งตัวดีแล้ว ก็นำแท่งยาสอดเข้าทางรูทวารหนักให้สุด วันละ 1-2 ครั้ง หลังการถ่ายอุจจาระและอีกเวลาหนึ่ง อาจเป็นเวลาเช้า หรือก่อนนอนก็ได้แล้วแต่สะดวก ให้ห่างกันประมาณ 12 ชั่วโมง

กรณีที่เป็นขี้ผึ้ง

ผู้ผลิตมักแนบหลอดต่อกับปากของหลอดยา เพื่อใช้สวนเข้าในทางช่องทวารหนัก แล้วบีบยาขี้ผึ้งเข้าไป ซึ่งมีความถี่และระยะเวลาการใช้ยาเช่นเดียวกับยาแท่งคือ วันละ 1-2 ครั้ง ให้ห่างกันประมาณ 12 ชั่วโมง นอกจากนี้ อาจมียาหดตัวของหลอดเลือด ยาฝาดสมาน มาใช้ในการบรรเทาอากากรของริดสีดวงทวาร

สาเหตุของโรคริดสีดวงทวารหนัก

สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด มักพบในคนที่มีภาวะกดดันต่อเส้นเลือดดำในบริเวณนี้นานๆ เช่น คนที่ท้องผูกเป็นประจำและต้องเบ่งถ่ายนานๆ สตรีที่ตั้งครรภ์ เมื่อมดลูกโตขึ้นโดยเฉพาะในระยะท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ มดลูกจะกดทับลงบนลำไส้ใหญ่ การออกแรงเบ่งขณะคลอด รวมถึงคนที่มีน้ำหนักมากหรืออ้วน ตับแข็ง มีก้อนเนื้องอกในท้อง ต่อมลูกหมากโต มะเร็งของลำไส้

อาการของโรคริดสีดวงทวารหนัก

เริ่มแรกจะมีอาการปวดเบ่ง เจ็บเล็กน้อย ส่วนมากจะมีอาการเลือดออกทางทวารหนัก เป็นเลือดแดงสด เกิดขึ้นขณะถ่ายอุจจาระ มักมีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน เจ็บปวด มีอักเสบ เกิดความระคายเคืองและรู้สึกไม่สบายบริเวณทวารหนัก ถ้ามีเลือดออกมากหรือเรื้องรัง อาจมีอาการซีดได้

คำแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารหนัก

1. ระวังอย่าให้ท้องผูก ควรดื่มน้ำมากๆ และรับประทานผัก ผลไม้ให้มากๆ

2. หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระ หรือนั่งส้วมนานๆ

3. หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ หรือยกของหนักเกินไป

4. ควรทำความสะอาดรอบๆ ทวารหนักโดยใช้สำลีชุบน้ำเช็ดเบาๆ และล้างบริเวณทวารหนักด้วยน้ำอุ่นให้สะอาดอยู่เสมอ จากนั้นซับให้แห้ง อย่าถูเพราะอาจทำให้เจ็บมากขึ้น ถ้ามีก้อนริดสีดวงทวารยื่นออกมาหลังจากการถ่ายอุจจาระ เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วให้ใช้ขี้ผึ้งหรือน้ำมัน ทานิ้วมือ แล้วใช้นิ้วดันริดสีดวงทวารที่โผล่ออกมานั้นเบาๆ ให้กลับเข้าไปในช่องทวารหนักตามเดิม

5. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักควรพบแพทย์เมื่อใด?

- มีมูก หรือเลือดปนกับอุจจาระด้วย

- มีอาการคันรุนแรง หรืออาการอื่นๆ ที่รุนแรงจนทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันเป็นปกติได้

- รู้สึกว่ามีก้อนหนักๆ ถ่วงในบริเวณทวารหนัก

- ใช้ยารักษาโรคริดสีดวงทวารแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 7 วัน

- สังเกตว่ามีก้อนยื่นออกมากจากทวารหนัก ซึ่งกดแล้วเจ็บ หรือทำให้เจ็บก่อนหน้า ระหว่าง หรือหลังถ่ายอุจจาระ

โรคริดสีดวงทวารหนักและวิธีการรักษา next