บทที่ 8

ดัชนีวัดความแกว่งในปริมาณการซื้อขาย Volume Indicators

การวิเคราะห์ปริมาณการซื้อขาย (Volume) จะเป็นตัวช่วยวัดความแข็งแกร่ง (Srength) หรือความอ่อนของกำลัง (Weakness) ที่หนุนอยู่ภายใต้ความเคลื่อนไหวของราคา และบ่อยครั้งที่พบว่าการเคลื่อนตัวของ Volume ในทิศทางตรงข้ามกับราคาจะเป็นสัญญาณสำคัญที่ราคาจะวกกลับบหรือเปลี่ยนทิศทาง (Trend Reversal)

การวิเคราะห์ปริมาณการซื้อขายนี้ จะเป็นตัวช่วยเสริมการวิเคราะห์เกี่ยวกับราคา เนื่องจากการซื้อขายในตลาด เป็นผลมาจากความต้องการซื้อ (Demand) และความต้องการขาย (Supply) ซึ่งผลที่เราเห็นคือดุลยนภาพของราคาและปริมาณดังนั้นปริมาณการซื้อขาย จึงเป็นอีกตัวหนึ่งมีความสำคัญในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งจะใช้ควบคู่กันไปกับการวิเคราะห์ทางด้านราคา

สิ่งที่ดีอีกสิ่งหนึ่ง เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปริมาณการซื้อขายก็คือ ปริมาณการซื้อขายเป็นสิ่งที่หลอกกันได้ยาก ซึ่งแตกต่างจากราคา ซึ่งสามารถทำราคาปิดให้สูงขึ้นกันได้ตอนท้ายตลาด แต่การจะทำให้ปริมาณการซื้อขายสูงนั้น ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก จนอาจไม่คุ้มที่จะทำ ดังนั้นปริมาณการซื้อขายจึงเป็นตัวยืนยันภาวะตลาดได้เป็นอย่างดี

การใช้เครื่องชี้ (Indicators) กับข้อมูลด้านปริมาณการซื้อขายนั้น มีข้อดีคือช่วยให้เราเห็นภาพชัดเจนนั้น เนื่องจาก ถ้าเราดูปริมาณการซื้อขายจาก Bar Chart ซึ่งเห็นเป็นแท่งๆ นั้น บางครั้งปริมาณการซื้อขายเปลี่ยนแปลงมากจาก ช่วงหนึ่งไปอีกช่วงหนึ่ง เช่น ช่วงตลาดบูมเราอาจซื้อขายกันวันละหมื่นกว่าล้านบาท แต่ช่วงตลาดซบเซาบางทีเหลือแค่ 2-3 พันล้าน (โบรกเกอร์งี้ น้ำตาเช็ดหัวเข่ากันเป็นแถว) ก็มี ทำให้ตัว Bar Chart อ่านได้ยากขึ้น เพราะบางทีแท่างก็สูงโด่ง บางทีแท่งหดซะแทบไม่เห็น

เนื้อหาต่อไป : ลักษณะทั่วไปของอุปสงค์และอุปทานของหุ้น

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : ซื้อเมื่อไร? ขายเมื่อไร?