บทที่ 8

On Balance Volume (OBV)

OBV เป็นดัชนีวัดปริมาณการซื้อขายที่ง่ายที่สุดตัวหนึ่งที่ใช้ในการวัดความแกว่งของปริมาณการซื้อขาย โดยถือว่าจำนวนหุ้นของวันที่มีราคาปิดสูงขึ้นทั้งหมดเป็น การสะสมหุ้น (Accumulation) และจำนวนหุ้นของวันที่มีราคาปิดต่ำลงทั้งหมดเป็นการจำหน่ายหุ้นออก (Distribution)

OBV จะนำเอาการเปลี่ยนแปลงราคาเข้ามาเกี่ยวของด้วยโดยเปรียบเทียบวันต่อวันกล่าวคือ

ถ้า ราคาปิดวันนี้ >วันก่อน => OBV ใหม่ =OBV เดิม+ปริมาณหุ้นวันนี้

ถ้า ราคาปิดวันนี้ <วันก่อน => OBV ใหม่ =OBV เดิม-ปริมาณหุ้นวันนี้

ถ้า ราคาปิดวันนี้ =วันก่อน => OBV ใหม่ =OBV เดิม

OBV จะช่วยบอกว่ามีนักลงทุนเข้าซื้อขายหุ้น หรือออกจากตลาดมากน้อยเพียงไร ในบางครั้ง OBV จะแสดงการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก่อนราคา เช่น ราคายังคงขยับตัวสูงขึ้นแต่ OBV กลับลดลงแสดงว่าแรงซื้อเริ่มเฉื่อยลงแล้ว นอกจากนี้ OBV จะช่วยยืนยันแนวโน้มของราคาได้ ทั้งในระยะสั้น (Short-term)และ ระยะปานกลาง (Intermedia-term) และเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางของแนวโน้มเกิดขึ้นได้เมื่อ OBV เคลื่อนไหวไปคนละทิศทาง (Diverge) กับราคา

จากรูปที่ 8.1 กรอบบนจะเป็นส่วนของ OBV ขณะที่กรอบล่างจะเป็นส่วนของราคา ซึ่งในที่นี้ ใช้ SET index ซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วงของหมายเลข 1 ทั้งราคาและวอลุมมีการขยับตัวขึ้นพร้อมกนทั้งคู่ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ SET index ที่ขยับตัวขึ้นในช่วงนี้ มีวอลุ่มหนุนตาม ถ้าจะให้เป็นวิชาการมากหน่อย ก็เรียกว่าเส้น demand ได้มีการ shift ตัวขึ้นไปทางขวามือ ซึ่งถ้าลองมาเทียบดูกับในช่วงหมายเลข 2 จะเห็นได้ว่าในช่วงหมายเลข 2 นั้น SET index มีการสร้างยอดใหม่ขึ้นไป แต่ OBV นั้นไม่สามารถสร้างยอดใหม่ขึ้นไปได้ หรือเกิด double tops ขึ้นนั่นเอง ทำให้เกิดการ divergence กันระหว่าง OBV และ SET index

ส่วนในช่วงที่ 3 ทั้ง SET index และ OBV ต่างก็เกิด double tops ขึ้นทั้งคู่ จึงทำให้ SET index มีการปรับตัวลงมาตามช่วงหมายเลข 4 ซึ่งในช่วงที่ 4 ข้อสังเกตที่ได้คือ ราคาและวอลุ่มต่างก็ลดลงทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม สัญญาณการฟื้นตัวจะเริ่มฉายแววขึ้นในช่วงที่ 5 ด้วยเหตุที่ราคากับ OBV ต่างเกิด divergence ซึ่งกันและกัน แต่จะไปไกลขนาดไหน ก็ต้องดูเครื่องชี้ตัวอื่น รวมถึงแนวรับต้านมาประกอบพิจารณาด้วยครับ

เนื้อหาต่อไป : Chaikin Accumulation/Distribution (CHAIKIN)

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : พฤติกรรมทั่วไปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการซื้อขายกับราคา