บทที่ 8

พฤติกรรมทั่วไปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างปริมาณการซื้อขาย กับ ราคา

1. ปริมาณการซื้อขายมักจะสูงขึ้น และคงอยู่ในระดับสูงกว่าระดับเฉลี่ยโดยปกติ ในกรณีที่ตลาดมีแนวโน้มสูงขึ้น (Uptrend) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อระดับราคาสูงขึ้นทะลุแนวต้านสำคัญ วึ่งเป็นสัญญาณซื้อ ถ้าหากปริมาณการซื้อขายสูงขึ้นตามแนวราคาด้วยแล้ว สัญญาณซื้อดังกล่าวจะน่าเชื่อถือมากขึ้น เมื่อเป็น Uptrend ไปได้ระยะหนึ่ง ปริมาณการซื้อขายอาจจะเคลื่อนไหวขึ้นลง (Fluctrate) บ้างแต่โดยเฉลี่ยแล้ว ปริมาณการซื้อขายในช่วง Uptrend นี้จะมากกว่าปกติ

เป็นไปได้ที่การเปลี่ยนแปลงของราคาที่สูงขึ้น อาจเกิดจากอุปทานที่ลดน้อย ลง เช่น เจ้าของออกมาซื้อหุ้นของตัวเองในตลาดกลับ หรือสถาบันการเงินซื้อเพื่อเก็บไว้ลงทุนในระยะยาว หรือแม้แต่นักเก็งกำไรในบางช่วงเวลากยังไม่อยากปล่อยของ อย่างไรก็ดี ภาวะเช่นนี้ไม่อาจอยู่ยืนยงได้นาน เพราะคนซื้อหุ้นเพื่อกำไร (ไม่งั้นนอนดูดโอเลี้ยงที่บ้านดีกว่าครับ)

2. ปริมาณการซื้อการขายมักจะอยู่ในระดับต่ำกว่าเฉลี่ย โดยปกติในกรณีที่ตลาดมีแนวโน้มลดลง (Downtrend) ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของอุปสงค์ที่ลดลง ขณะที่อุปทานค่อนข้างคงตัว ทำให้การเคลื่อนไหวของราคาที่ลดลง สอดคล้องกับปริมาณการซื้อขายที่น้อยลง

อย่างไรก็ดี ถ้าเครื่องมือทางเทคนิคต่างๆ ที่เราใช้ ส่งสัญญาณขายที่ค่อนข้างรุนแรง เราก็ไม่จำเป็นต้องรอดูให้ปริมาณการซื้อขายลดลงเป็นเครื่องยืนยันก็ได้ สามารถขายได้ทันที ทั้งนี้เนื่องจากราคาและปริมาณไม่จำเป็นต้องวิ่งไปในทิศทางเดียวกันเสมอไป เพราะราคาที่ลดลง อาจเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุปทานก็ได้ เช่น เจ้าของขายหุ้นออกเพราะคิดว่าช่วงนี้ผลประกอบการอาจจะไม่ค่อยดี ซึ่งจะทำให้เราคาตกลงในอนาคต จึงขายออกมา เพื่อช้อนซื้อกลับทีหลังเมื่อราคาตกแล้ว

3. ปริมาณการซื้อขายมักจะลดลง เมื่อตลาดอยู่ในช่วงที่เป็น Consolidation Period. Continuous Pattern หรือ Sideway กล่าวคือตลาดเคลื่อนไหวแบบขึ้น ๆ ลงๆ ในช่วงแคบๆ แต่ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน (Directionless) ทั้งนี้เนื่องจากช่วงนี้ เป็นช่วงที่ตลาดกำลังรอดูทิศทางกว่าจะไปทางใดกันแน่ ดังนั้น จึงมีหลายๆ คนยืนรีๆ รอๆ อยู่ แต่ไม่ได้เข้าไปร่วมวงไพบูลย์ในตลาดด้วย ทำให้ปริมาณการซื้อขายน้อยกว่าปกติ

เนื้อหาต่อไป : On Balance Volume (OBV)

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : พฤติกรรมทั่วไปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการซื้อขายกับราคา