บทที่ 8
Chaikin Accumulation / Distribution (CHAIKIN)
เป็นเครื่องมือที่พัฒนาต่อมาจาก OBV โดยอาศัยแนวความคิดที่ว่า ถ้าราคาปิดสูงกว่าค่าเฉลี่ยของราคาสูงสุดกับราคา ต่ำสุด แสดงว่ามีการสะสมหุ้นเพิ่มขึ้น แต่ถ้าต่ำกว่าก็หมายถึงมีการจำหน่ายหุ้นออกหรืออีกนัยคือ การที่ราคาสามารถปิดสูงขึ้นไปใกล้ราคาสูงสุด (High ) มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงว่ามีแรางซื้อหนุนมากขึ้นเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาปิดอ่อนตัวลงมาหาราคาต่ำสุด (Low) แสดงว่ามีแรงขาย (Selling Pressure) ออกมามากทำให้ราคาลดต่ำลง
จะเห็นได้ว่า OBV ใช้การเคลื่อนไหวของราคาปิดว่าขึ้นหรือลงในการคำนวณ แต่การเคลื่อนไหวของราคา จะไม่ได้ถูกนำเอามาคำนวณด้วยซึ่งเป็นจุดด้วยแต่ CHAIKIN นำเอามาใช้เพื่อให้มีความแม่นยำมากขึ้น
CHAIKIN= 3-day EMA of( Acc/Dst) - 10 day EMA of ( Acc/Dst)
โดยที่ ( Acc/Dst) คือเส้นสะสม/จำหน่าย (Accumlation/Distribution Line) ซึ่งคำนวณจาก
และ I คือ (Acc/Dst) ของเมื่อวาน
การอ่านคำ Chaikin สามารถทำได้ดังนี้
- ถ้าราคาสร้างยอดใหม่ (New High) และ Stochastic > 80% แต่ Chaikin ไม่สามารถสร้าง New High ได้ ถือเป็น Sell Signal
- ถ้าราคาสร้างจุดต่ำสุดใหม่ได้ (New Low) และ Stochastic < 20% แต่ Chaikin ไม่สามารถสร้าง New Low ได้ ถือเป็น Buy Signal
จากตัวอย่างที่ 8.2 ข้างล่างนี้จะเห็นได้ว่า ที่บริเวณหมายเลข 1 ราคาหุ้นสามารถสร้างยอดใหม่ (New High) ได้ (slope ของเส้นที่ลากเชื่อมยอดมีค่าเป็นบวก) แต่จังหวะนั้น Stochastic อยู่สูงกว่า 80 ขึ้นไปแล้ว และมีทีท่าว่าจะอ่อนตัวลง ประกอบกับ Chaikin ก็ไม่สามารถที่จะสร้าง New High ได้จึงเกิด Sell Signal ขึ้น ซึ่งเวลาต่อมา ราคาหุ้นก็ได้มีการปรับตัวลงมาจริง จนมาถึงระดับหมายเลข 2 ราคาหุ้นจึงเมที่จะมีการยืนตัวและฟอร์ม double bottoms ขึ้น
การฟอร์มตัว double bottoms ที่ช่วงหมายเลข 2 โดยมี Stochastic อยู่ต่ำกว่าเส้น 20 และกำลังสวิงตัวขึ้นเพื่อให้เกิดสัญญาณซื้อ ประกอบกับ Chaikin ก็เกิด divergence กับราคา โอกาสที่ราคาหุ้นจะดีดตัวกลับจึงมีเพิ่มขึ้น (จริงหรือ?) ก็ดูเอาเองแล้วกันครับว่า หลังช่วงหมายเลข 2 หรือต้นมกราคม ราคาหุ้นวิ่งกันขนาดไหน เห็นๆกันอยู่ ! สำหรับช่วงหมายเลขที่ 3 และ 4 นั้น ผู้เขียนจะขอข้ามไป (ไม่อธิบายหรอก) เพราะมันเป็นลักษณะเช่นเดียวกับหมายเลข 1
มาว่ากันในช่วงหมายเลข 5 เลยดีกว่า จะเห็นได้ว่าราคาหุ้นนั้นฟอร์มตัวเป็น double tops ขณะที่ทั้ง Stochastic และ Chaikin ต่างก็ไม่สามารถสร้างยอดใหม่ได้ ราคาหุ้นจึงได้มีการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงช่วงหมายเลข 6 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาหุ้นเริ่มมีแววฟื้นตัวขึ้น เพราะราคาหุ้น กับ Chaikin ต่างก็ divergence กัน อีกทั้ง Stochastic ก็อยู่ใน oversold zone ดังนั้นเงื่อนไขต่างๆ ก็เป็นเช่นเดียวกับช่วงหมายเลข 2
ก่อนจะว่าหลักการถัดไป หากท่านผู้อ่านสังเกตสูตรที่ใช้ในการคำนวณค่า Chaikin ให้ดี จะเห็นได้ว่า เป็นผลต่างของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มีระยะเวลาต่างกัน ดังนั้น หากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มีระยะเวลาสั้นกว่า มีค่ามากกว่า เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลายาวกว่า ซึ่งหมายถึง ค่าที่ได้จะเป็นบวก (จากเดิมที่เป็นศูนย์ หรือลบ) นั่นเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลาสั้นกว่า ใด้ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะยาวกว่า ขึ้นแล้ว เท่ากับว่าเป็นการลั่นไกจังหวะ buy signal ขึ้น ในทางกลับกัน หาก Chaikin มีค่าเป็นลบ (จากเดิมเป็นบวก หรือศูนย์) ก็เท่ากับว่าเป็นการลั่นไกจังหวะ sell signal ขึ้น
ข้อสังเกตดังกล่าว จะเห็นได้จากตัวอย่างที่ 8.3
สัญญาณซื้อ (buy signal) เกิดขึ้นที่หมายเลข 1,4,5,7,10,12,14 และ 16 ตามลำดับ
สัญญาณขาย (sell signal) เกิดขึ้นที่หมายเลข 2,3,6,8,9,11,13 และ 15 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าบางครั้งก็ได้กำไร บางครั้งก็อาจจะไม่คุ้มทุน แต่ที่กล่าวไว้ในที่นี้ เนื่องจากเป็นการแกะสิ่งที่ซ่อนอยู่ในสูตรออกมาให้ดู เพื่อนำไปใช้พิจารณาเสริมกับวิธีการหลัก ต่างหากเล่า?
วิธีการหลักลำดับถัดไปคือ
- ราคาตัดเส้น 75 MA ขึ้นมา และเส้น 75 MA มีแนวโน้มสูงขึ้น แม้ Chaikin อยู่ต่ำกว่า zero line แต่ผงกหัวขึ้น ถือเป็น buy signal (จริงๆแล้วไม่จำกัดเฉพาะเส้น 75 วันเท่านั้น)
- ราคาตัดเส้น 75 MA ลงมา และเส้น 75 MA มีแนวโน้มต่ำลง แม้ Chaikin อยู่สูงกว่า zero line แต่หักหัวลง ถือเป็น sell signal (ไม่ได้จำกัดเฉพาะเส้น 75 วันเท่านั้น)
จากตัวอย่างที่ 8.4 จะเห็นได้ว่า สัญญาณ buy เกิดขึ้นเมื่อ Chaikin สูงขึ้น (เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนมากขึ้น จึงรอให้ Chaikin ตัดเส้นศูนย์ขึ้นมา) และราคาตัดเส้น 75 MA ขึ้น พร้อมกับการที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 75 วัน เริ่มที่จะสูงขึ้น (slope เริ่มมีค่าเป็นบวก) ซึ่งกว่าจะเกิดสัญญาณขายออกมาอีกที ก็ค่อนข้างใกล้เดือนมีนาคม เพราะตอนนั้น Chaikin ตัดเส้นศูนย์ลงมา ขณะที่ราคาตัดเส้น 75 MA ลงมา และ slope ของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 75 วัน เริ่มอ่อนตัวลง หรือมีค่าเป็นลบเพิ่มขึ้น ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า Chaikin ในช่วงที่ 2 ก็ตัดเส้นศูนย์ลงมา แต่ทำไมไม่ใช่ sell signal เหตุผลก็คือ ในช่วงที่2 นี้ slope ของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มีค่าเป็นศูนย์เท่านั้น (ไม่ต่ำไม่สูงกว่าเดิม) อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้อาจจะไม่ทันใจบรรดาพวกที่เล่นกันเร็ว เพราะกว่าจะซื้อหรือขายที นานเหมือนกัน!
การเล่นกันเร็วหรือบ่อยครั้งมากขึ้น ก็ทำได้ไม่ยากอะไรเลย หากยังคงจำได้ถึงหลักการของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ จึงได้มีการนำเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มาประยุกต์ หรือใส่เข้าไปในรูปของ Chaikin (ว่างั้นเถอะ) แต่จะเป็นค่าเฉลี่ยคลื่อนที่กี่วัน ก็คงต้องลองดูกันเองครับ เพราะหุ้นแต่ละตัว มันอาจจะชอบต่างกาน ซึ่งจขากรูปจะเห็นได้ว่า การซื้อ(ลูกศรชี้ขึ้น) การขาย(ลูกศรชี้ลง) จะมีบ่อยครั้งมากขึ้น คงมันมือกันมากขึ้นสำหรับพวกที่เล่นกันเร็ว(ตัวอย่างที่ 8.5)
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังคงมีหลักอื่นอีกดังนี้
- Chaikin จะเป็นเครื่องมือยืนยันการขึ้นหรือลงของหุ้น เพราะถ้าราคาขึ้นโดยมีปริมาณการซื้อขาย (Volume) หนาแน่น จะเป็นการยืนยันว่าเป็น uptrend เช่นเดียวกันราคาที่ตกลงพร้อมกับVolume ที่แน่นจะเป้ฯการยืนยัน Downtrend
- เราสามารถใช้ Chaikin บอกการเปลี่ยนทิศทางของแนวโน้ม ตลอดจนจุดสูงสุด (Top) หรือจุดต่ำสุด (Bottom) ของคลื่นราคาได้ โดยอาศัยหลักของการ divergence ระหว่าง Chaikin กับราคา