บทที่ 8
Price & Volume Trend (PVT)
PVT ใช้แนวความคิดคล้ายกับ OBV มาก เพียงแต่แทนที่จะนำ Volume ทั้งหมดบวกเข้าหรือลบออกทั้งจำนวนเช่นในกรณีของ OBV นั้น ตัวของ PVT จะใช้เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคามาเป็นตัวถ่วงน้ำหนักคูณกับ Volume ในการบวกกลับเข้าไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน เชื่อว่าเป็นวิธีที่ใช้ติดตามกระแสเงินลงทุนเข้า-ออกในหุ้นได้ดีกว่า OBV
โดยที่ค่า I คือค่า PVT ของเมื่อวานนี้ สำหรับการวิเคราะห์จะใช้แนวทางการวิเคราะห์เดียวกับ OBV
.Volume Oscillator.
เป็นเครื่องมือแสดงความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ Volume 2 ระดับ ระหว่างระยะสั้นกับระยะยาว โดยที่เมื่อ Volume Oscillator สูงขึ้นเหนือเส้นศูนย์ (Zero line) แสดงว่า Short-term Volume MA กำลังพุ่งขึ้นสูงเหนือ Longer-term MA
จากตัวอย่างที่ 8.6 จะเห็นได้ว่า ในช่วงหมายเลข 1 ราคาหุ้นได้มีการสร้าง new high แต่ Volume Oscillator นั้นไม่สามารถที่จะทะลุ Zero line ขึ้นมาได้ การปรับตัวจึงเกิดขึ้น ลักษณะนี้ยังคงปรากฏในช่วงที่ 2 อีกครั้ง เพียงแต่กรณีหลังนี้ แทนที่ราคาจะสร้าง new high กลับกลายเป็น double tops แทน
ส่วนในช่วงที่ 3 จะเห็นได้ว่าตอนแรกราคาได้มีการปรับตัวลง แต่ Volume Oscillator ไม่ตัดเส้นศูนย์ลงมา แถมยังเลี้ยงตัว กับZero line ได้อีกระดับหนึ่ง ก่อนที่จะมีการดีดตัวขึ้น จึงทำให้เห็นว่า การปรับตัวลงในส่วนแรกของช่วงที่ 3 ไม่มีนัยสำคัญ หรือพร้อมที่จะถูกไล่ราคากลับได้ทันที และก็จริงซะด้วย เมื่อเกิดการดีดตัวกลับในตอนหลัง
สำหรับจุดที่จะเป็นสัญญาณขายนั้น คงจะเป็นจุดที่ 4 เพราะราคาปรับตัวลง พร้อมกับที่Volume Oscillator ได้ทะลุ Zero line ลงมา ในทางกลับกัน สัญญาณซื้อจะเกิดขึ้น ณ จุดที่ 5 เพราะราคามีการปรับตัวขึ้น พร้อมกับที่ Volume Oscillator ได้ทะลุZero line กลับขึ้นมา
.Volume Rate-of-Change.
คำนาณโดย การหาสัดส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงในปริมาณการซื้อขาย (Volume Change) ในช่วงเวลา N วันกับปริมาณการซื้อขายเมื่อ N วันที่ผ่านมา ถ้าหากปริมาณการซื้อขายปัจจุบันสูงกว่าเมื่อ N วันก่อน ROC ก็จะเป็นบวก (สูงขึ้น) และในทางกลับกัน ถ้าปริมาณการซื้อขายปัจจุบันต่ำกว่าเมื่อ N วันก่อน ROC ก็จะลดต่ำลงเป็นลบ อันที่จริงแล้ว ก็เป็นการเอา ROC ที่ใช้กับราคา มาพลิกแพลงใช้กับปริมาณการซื้อขายนั่นเอง แนวความคิดต่างๆ ก็คล้ายๆ กัน