บทที่ 7

Plus Directional Movement (PDM)

Minus Directional Movement (MDM)

True Range (TR)

ค่า Plus Directional Movement และ Minus Directional Movement คำนวณได้ตามสูตรข้างล่างนี้

โดยที่

H = ราคาสูงสุด ณ เวลา t

Hp = ราคาสูงสุด ณ เวลา t-1

L = ราคาต่ำสุด ณ เวลา t

Lp = ราคาต่ำสุด ณ เวลา t-1

ซึ่งค่า PDM มีค่าเป็นศูนย์ก็ต่อเมื่อ

1. H น้อยกว่าหรือเท่ากับ Hp

2. PDM < MDM

สำหรับค่า True Range (TR) นั้น เป็นค่าสัมบูรณ์ (Absolute value) ที่มีค่ามากที่สุดใน 3 ค่าต่อไปนี้ คือ | H - L | , | H - Cp | และ | L - Cp |

.PDI, MDI และ ADX.

จากสูตรที่กล่าวมาข้างต้น แน่นอน! เราก็สามารถหาค่า PDM, MDM และ TR แต่ก่อนที่จะข้ามไป ผู้เขียนอยากจะชี้ให้เห็นว่า ค่าเหล่านี้ถ้าสังเกตให้ดี มันเป็นที่ได้มาจากหลักการของ Momentum จริงไหมครับ?

อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์ที่แท้จริงที่ทั้งผู้เขียนและผู้อ่านต้องการ คือการได้มาซึ่งค่า indicator ต่างๆที่อยู่ใน DMS ซึ่งได้แก่ค่า PDI, MDI และ ADX ซึ่งค่าเหล่านี้เป็นค่าที่ได้มาจากผลรวมเคลื่อนที่ (moving total) ของ PDM, MDM และ TR ดังสูตรข้างล่างนี้

หากท่านผู้อ่านลองนั่งพิจารณาดู จะพบว่า กรณีที่ราคาหุ้นกำลังขยับตัวขึ้น และเตรียมพร้อมที่จะมี trend โอกาสที่ค่า PDM จะสูงขึ้นมีมาก ซึ่งเท่ากับเป็นการชี้ให้เห็นทางอ้อมว่า มีแรงซื้อได้หลั่งไหลเข้ามา และถ้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ก็จะยิ่งส่งผลให้ค่า PDI มีค่าสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตเพิ่มเติมก็คือ การที่ค่า PDM เป็นศูนย์นั้น ไม่ได้หมายความว่าค่า PDI จะต้องเป็นศูนย์ตามไปด้วย เพราะค่า PDI นั้น ยังคงอิงอยู่กับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อยู่ แต่ถ้าหากว่าค่า PDM มีค่าเป็นศูนย์ติดต่อกัน อย่างน้อยเป็นระยะเวลาที่เท่ากับระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ กรณีนี้จึงทำให้ค่า PDI มีค่าเป็นศูนย์

กรณีที่ราคาหุ้นกำลังปรับตัวลง และเตรียมพร้อมที่จะมี trend โอกาสที่ค่า MDM จะสูงขึ้นนั้นมีมาก ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นทางอ้อมว่า มีแรงขายเข้ามา และถ้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้ค่า MDI มีค่าสูงขึ้น

ในทำนองเดียวกับ PDI ข้างต้น ข้อสังเกตที่ได้เพิ่มเติมก็คือ การที่ค่า MDM เป็นศูนย์ ไม่ได้หมายความว่า ค่า MDI จะต้องเป็นศูนย์ตามไปด้วย ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นั่นเอง อย่างไรก็ตาม หากค่า MDM มีค่าเป็นศูนย์ติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่เท่ากับระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ กรณีนั้นจึงทำให้ค่า MDI มีค่าเป็นศูนย์

จะเห็นว่าในสูตรของ PDI และ MDI ที่ให้ไปนั้น ใช้ผลรวมเคลื่อนที่ (moving total) ซึ่งจะให้คำตอบเหมือนกับใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (เพราะสุดท้ายแล้ว ในกรณีที่ใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ทั้งตัวตั้งและตัวหาร จะถูกหารด้วย n ทั้งคู่ ซึ่งก็จะหักล้างกันไป) และเป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบธรรมดา (Simple Moving Average) ซึ่งนี่เป็นแนวทางที่ Wilder กำหนดไว้แต่แรกตอนคิดระบบนี้ขึ้นมา แต่นักวิเคราะห์ทางเทคนิคบางคนอาจจะเปลี่ยนไปใช้ exponential moving average แทน ก็ได้ อันนี้ไม่ว่ากัน แล้วแต่ลูกเล่นของแต่ละคน ดังนั้น บางคนจึงบอกว่า PDI เกิดจาก Smoothed PDM หารด้วย Smoothed True Rate ซึ่งคำว่า Smooth ที่ว่านี้คือการทำให้เรียบ โดยใช้ moving average จะเป็น moving average แบบไหนก็ตามใจเหอะ

สำหรับ ADX นั้น ก่อนที่เราจะคำนวณได้ เราต้องคำนวณสิ่งที่เรียกว่า Directional Movement Index หรือ DX ก่อน (แล้ว ADX ก็คือค่าเฉลี่ยของ DX อีกทีครับ) โดยที่ DX คำนวณได้จาก

และเนื่องจาก ADX คือค่าเฉลี่ยของ DX ดังนั้น จึงคำนวณจาก

เช่นเดียวกันครับ ในสูตรนี้เราสมมติว่าใช้เฉลี่ยแบบธรรมดา (Simple Moving Average) แต่ในทางปฏิบัติ จะใช้ exponential moving average ก็ได้เช่นกัน สำหรับค่า n นั้น Wilder เสนอให้ใช้ n=14 คือเป็นการเฉลี่ยเคลื่อนที่ 14 วัน ทั้งในกรณีของ PDI, MDI และ ADX

จากสูตรของ DX และ ADX จะเห็นได้ว่า DX และ ADX จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 กับ 1 โดย ADX จะเป็นตัววัดว่าโดยเฉลี่ยแล้วตลาดเป็นตลาดที่มีแนวโน้ม (Trending Market) หรือ เป็นตลาดที่ไม่มีแนวโน้ม (Sideway Market) ถ้า ADX เข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีแนวโน้ม (ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มขึ้น หรือ แนวโน้มลงก็ตาม จะเข้าใกล้ 1 ทั้งสิ้น) แต่ถ้า ADX เข้าใกล้ 0 แสดงว่าเป็นตลาด Sideway ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหรือครับ กำลังจะอธิบายให้ฟังอยู่พอดีเลย

ในกรณีที่ราคาหุ้นกำลังปรับตัวขึ้น ค่า PDI นั้นย่อมมีค่ามากกว่า MDI และถ้าราคาหุ้นปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งส่งผลให้ MDI จะมีค่าเป็นศูนย์ติดต่อกันเป็นเวลานานมากขึ้น ซึ่งภายใต้สูตรค่าสัมบูรณ์ของ DX ยังผลให้ค่า ADX ที่คำนวณได้ มีความชันเป็นบวก (มี trend) และมีค่าเข้าใกล้ 1 มากขึ้น

แต่ถ้าเมื่อใดที่ราคาหุ้นเริ่มเฉื่อย หรือทำท่าว่าจะหมดแรงลง ค่า PDI จะเริ่มมีค่าน้อยลง ในขณะที่ MDI จะมีค่ามากขึ้นกว่าศูนย์ ดังนั้น ค่าของ PDI กับ MDI จะเริ่มวิ่งเข้าหากัน ซึ่งภายใต้สูตรค่าสัมบูรณ์ของ DX ยังผลให้ ADX นั้นเริ่มลดลง ซึ่งการเกิดภาวะเช่นนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า ตลาดเริ่มที่จะหมด trend แล้ว และเริ่มเข้าสู่ Sideway Market

สำหรับในกรณีที่ราคาหุ้นกำลังปรับตัวลง ค่า MDI นั้นย่อมมีค่ามากกว่า PDI และถ้าราคาหุ้นปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งส่งผลให้ PDI จะมีค่าเป็นศูนย์ติดต่อกันเป็นเวลานานมากขึ้น ซึ่งภายใต้สูตรค่าสัมบูรณ์ของ DX ยังผลให้ ADX ที่คำนวณได้ มีความชันเป็นบวก (มี trend) และมีค่าเข้าใกล้ 1 มากขึ้น เช่นเดียวกัน

แต่ถ้าเมื่อใดที่ราคาหุ้นเริ่มเฉื่อย หรือทำท่าว่าจะเริ่มดีดตัวกลับ ค่า MDI จะเริ่มมีค่าลดลง ในขณะที่ PDI จะมีค่ามากขึ้นกว่าศูนย์ ดังนั้น ค่าของ MDI และ PDI จะเริ่มวิ่งเข้าหากัน ซึ่งภายใต้สูตรค่าสัมบูรณ์ของ DX ยังผลให้ ADX นั้นเริ่มลดลง ซึ่งการเกิดภาวะเช่นนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่าตลาดเริ่มที่จะหมด trend แล้ว และเริ่มเข้าสู่ Sideway Market

ดังนั้น ADX จึงเป็น indicator ที่แสดงถึง ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นว่าในขณะนั้นตลาดมี trend หรือไม่? ซึ่งในส่วนนี้ถือว่า เป็นส่วนสำคัญในระบบของ Directional Movement เพราะระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อติดตาม trend และไม่ให้ผู้ลงทุนต้องไปเสียเวลากับ Sideway Market

เนื้อหาต่อไป : ซื้อเมื่อไร? ขายเมื่อไร?

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : Directional Movement System (DMS)