บทที่ 7

Directional Movement System (DMS)

J. Welles Wilder ได้เป็นผู้คิดค้น Directional Movement System นี้ขึ้นมาซึ่งเขาเห็นว่า DMS นี้เป็นเครื่องชี้ที่เหมาะกับสภาพตลาดที่มี trend หรือพูดง่ายๆก็คือ ตลาดมีแนวโน้มขึ้นหรือลงนั่นเอง อย่างไรก็ตาม หลักในการคำนวณ indicators ใน DMS ยังคงอาศัยหลักการของ Momentum อยู่ เพียงแต่ว่ามีความสลับซับซ้อนมากขึ้นกว่าหลักการของ Momentum เดิมอีกนิดหนึ่ง ซึ่งเราจะว่ากันในเรื่องนี้ เมื่อเราเข้าไปสู่สูตรในการคำนวณ ใจเย็นๆสักนิดครับ!

ผู้เขียนเชื่อว่าท่านผู้อ่านบางท่าน อยากทราบว่า DMS นี้ ทำไมถึงเหมาะกับตลาดที่มี trend ? ผู้เขียนอยากให้ท่านผู้อ่านลองนึกย้อนกลับไปเรื่องค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่งท่านผู้อ่านคงเคยเห็นแล้วว่า การซื้อขายตามจังหวะในการตัดกันระหว่างราคากับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นั้น จะให้ประโยชน์ต่อเมื่อตลาดนั้นมี trend เพราะถ้าซื้อขายตามกฎการตัดกันดังกล่าว โดยตลาดนั้นเป็น sideway เชื่อว่ากำไรแทบจะไม่มี หรือบางทีอาจจะขาดทุน จากค่านายหน้าที่ brokers คิด (แต่ brokers ชอบ เพราะได้วอลุ่มเข้ามา) ฉันใดฉันนั้น! Wilder ได้เล็งเห็นตรงจุดนี้ จึงทำให้ DMS ที่เขาคิดขึ้น เป็นเครื่องชี้ในการให้สัญญาณ หรือจังหวะเข้าสู่ตลาด เมื่อตลาดนั้นมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องไปเสี่ยง หรือนั่งหลังขดหลังแข็งกับ sideway market โดยไม่เกิดประโยชน์เท่าไร

เพื่อให้เห็นภาพ DMS ชัดมากขึ้น ขอให้ผู้อ่านทำความเข้าใจไว้ดังนี้ว่า DMS นั้น เป็นชื่อของกลุ่ม indicators ซึ่งภายใจกลุ่มดังกล่าวนั้น ประกอบด้วย เครื่องชี้ทิศทางบวก หรือ Positive Directional Indicator (PDI หรือ DI+), เครื่องชี้ทิศทางลบ หรือ Minus Directional Indicator (MDI หรือ DI-) และ ดัชนีทิศทางเฉลี่ย หรือ Average Directional Movement (ADX) ซึ่งต่างมีความสัมพันธ์กันในการให้เงื่อนไขในการซื้อขาย

แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมาว่ากันในส่วนนี้ ว่าแต่ละตัวมันได้มาอย่างไร? ขอให้ผู้อ่านเริ่มทำความเข้าใจค่าความเคลื่อนไหวในทิศทางบวก หรือ Plus Directional Movement (PDM หรือ DM+), ค่าความเคลื่อนไหวในทิศทางลบ หรือ Minus Directional Movement (MDM หรือ DM-) และ พิสัยที่แท้จริง หรือ True Range (TR) ก่อนครับ เพราะค่า PDM, MDM และ TR เหล่านี้ จะถูกนำเข้าไปคำนวณเพื่อให้ได้มาซึ่งค่า PDI, MDI และ ADX อีกทีหนึ่งครับ!

เนื้อหาต่อไป : PDM MDM TR

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : KST Index หรือ Summed Rate of Change Index