บทที่ 7

KST Index หรือ Summed Rate of Change Index

KST Index เป็น indicator ยุคหลังๆ ที่พัฒนาขึ้นโดย Martin J. Pring นักวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีชื่อเสียง (ทางด้านเขียนหนังสือ ทำวิดีโอ แล้วก็สอนเรื่องเทคนิคัล ซึ่งทำท่าว่าจะทำเงินได้ดีกว่า Trade Commodities ซะอีก) Pring เรียก indicator ตัวนี้ว่า KST ซึ่งย่อมาจากคำว่า Know Sure Thing แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เชื่อเถอะครับ ไม่มี indicator ไหนในโลกนี้ที่ Sure หรอกครับ และ KST ก็ไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่า Pring จะตั้งชื่อให้วิลิศมาหราแค่ไหนก็ตาม

KST เป็นการนำเอา Rate of Change (ROC) มาพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง โดยนำค่า ROC ที่เหมาะสมสำหรับระยะเวลาต่างๆกัน 4 ตัว นำแต่ละตัวมาทำให้เรียบโดยการคำนวณ Exponential Moving Average จากนั้น ก็นำเอา 4 ตัวนี้ มารวมกันแบบถ่วงน้ำหนัก ก็จะได้ตัว KST Indicator ครับ ฟังแล้วอาจจะงง (เขียนเองยังงงเลย) ลองดูเป็นสูตรแล้วกันนะครับ

โดยที่ ROCti คือ Rate of Change จำนวน ti วัน และ Eni คือ ni-day exponential moving average ของค่า ROCti สังเกตนะครับว่า KST ให้น้ำหนักแก่ ROC ในระยะที่ยาวมากกว่าในระยะสั้น เนื่องจาก t4>t3>t2>t1 อันที่จริงจากสูตรจะเห็นได้ว่า KST เป็น Weighted Moving Total ของ Exponential Moving Average ของ Rate of Change อีกทีหนึ่ง (อะไรมันจะวุ่นวายปานนั้น)

Pring เสนอว่า ตัวเลขที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลรายวัน สำหรับเล่นระยะสั้น คือ t1=10, t2=15, t3=20, t4=30 และค่า exponential smoothing ที่เหมาสมคือ n1=10, n2=10, n3=10 และ n4=15

เนื่องจากการคำนวณ KST เป็นการนำเอา Rate of Change 4 อันมารวมกัน ดังนั้น บางทีจึงเรียก KST นี้ว่า Summed Rate of Change ครับ ข้อดีขอ KST คือ มันจะค่อนข้างเรียบ (Smooth) เนื่องจากปรับด้วย exponential moving average ไปทีนึงแล้วยังเอามารวมกันโดยใช้ Weighted Moving Total อีกทีนึง ดังนั้น การเฉลี่ยเหล่านี้จะทำให้การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของราคาจะหายไปหลายส่วน ส่งผลให้สัญญาณแม่นยำขึ้น

KST จะมีความเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างสอดคล้องกับราคา แต่มีข้อแตกต่างคือ

1. เรียบกว่า กล่าวคือ ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวผิดปกติกระยึกกระยัก (Whipsaw or Irregularities) เหมือนราคา

2. ถ้าการเคลื่อนไหวของราคา เป็นการเคลื่อนไหวตามวัฏจักรจริงๆ (ไม่ใช่การเคลื่อนไหวผิดปกติ) KST จะเคลื่อนไหวรุนแรงกว่า กล่าวคือ เมื่อราคาลงตามแนวโน้มในระยะสั้น KST ก็จะลดลง แต่ในระดับที่ลึกกว่าราคา และเมื่อราคาขึ้นตามแนวโน้มของวัฏจักรในระยะสั้น KST ก็จะขึ้นมากกว่าราคา

แต่ข้อเสียของ KST คือ การเฉลี่ยรวมกันหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้น้ำหนักที่เน้นไปทาง ROC ที่นับถอยหลังไปหลายวันกว่า ทำให้ KST เคลื่อนไหวช้ากว่า indicator ตัวอื่นๆ ดังนั้น โอกาสที่จะเห็น Divergence ระหว่าง KST กับราคาค่อนข้างยาก แต่ถ้าเกิด Divergence ขึ้นจริงๆสัญญาณจะแม่นยำมากกว่า เพราะราคาจะปรับตัวภายในระยะเวลาไม่นาน หลังจากเกิด Divergence เข้าทำนองเหมือนกับทองแหละครับ หายาก แต่ถ้าหาเจอก็รวย (ถ้าไม่ใช่ท่องเก๊นะครับ)

Pring ได้ให้ข้อสังเกต เกี่ยวกับการกำหนดสัญญาณซื้อขายไว้คือ ถ้า KST เปลี่ยนทิศทางแสดงว่าตลาดใกล้หรือกำลังจะเปลี่ยนทิศทางแล้ว ซึ่งถ้า KST ตัดกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของตัวมันเอง ก็เป็นสัญญาณซื้อขาย (คล้ายๆกับ indicator ตัวอื่นๆแหละครับ) และถ้าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ KST ก็เปลี่ยนทิศทางตามด้วย ยิ่งเป็นสัญญาณ confirm ครับ นอกจากนี้ เราสามารถเอาเทคนิคอื่นๆ เช่น trend line charting หรือ Overbought Oversold มาประยุกต์ใช้กับ KST แบบที่เราทำกับราคาก็ได้เช่นกันครับ

เนื้อหาต่อไป : Directional Movement System (DMS)

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : William’s %R