บทที่ 6

กลยุทธ์

ผู้เล่นบางคน ได้นำจังหวะการตัดกันระหว่าง ราคากับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ และเส้นเฉลี่ยเคลื่อนที่ด้วยกันเอง มาช่วยลดความเสี่ยง โดยจังหวะที่ราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันลงมา ก็จะถือว่าเป็นการเกิด sell signal ครั้งแรกขึ้น ก็จะมีการทำกำไรหรือระบายหุ้นออกไปส่วนหนึ่ง และรอดูว่า ราคาจะตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 25 วันลงมาหรือไม่ สมมติว่าราคาเกิดตัดเส้นดังกล่าวลงมาอีก ก็จะระบายหุ้นออกไปอีกส่วนหนึ่ง และเฝ้ารอดูว่าจะเกิดจังหวะที่ 3 ซึ่งเป็นจังหวะที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 25 วันลงมาหรือไม่ ซึ่งถ้าตัดลงมาก็จะระบายหุ้นส่วนที่เหลือออก

วิธีการนี้จะเป็นได้ว่ามีประโยชน์ กรณีที่หุ้นเกิดการดีดตัวกลับ เพราะจากตัวอย่างที่ 6.3 (ซึ่งก็เป็นกรณีเดียวกับตัวอย่างที่ 6.1 นั่นแหละครับ) จะเห็นได้ว่า ที่จุด A เราเพิ่งจะทำกำไรระยะสั้นหรือระบายหุ้น ออกเป็นเพียงแค่ 1 ใน 3 ของพอร์ท เนื่องจากราคาไม่ได้ตัดเส้น ema 25 วันลงมา อีกทั้งเส้น ema 10 วันก็ไม่ได้ตัดเส้น ema 25 วันลงมา ดังนั้น เราจะยังมีหุ้นอยู่อีก 2 ใน 3 ของพอร์ท ซึ่งในกรณีที่หุ้นดีดตัวกลับ บางครั้งเราจะซื้อของไม่ค่อยทัน หรือถ้าทันก็จะได้ต้นทุนที่สูง ดังนั้นวิธีการนี้ อย่างน้อยก็จะมีหุ้นเหลือติดพอร์ทเอาไว้ หากรถไฟขบวนนี้จะวิ่งขึ้นต่อไปจริง

สมมติว่าเราไม่ได้ซื้อเพิ่มเข้ามา หลังจากที่ราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันกลับขึ้นมา ทำให้เรายังคงมีหุ้นอยู่เพียง 2 ใน 3 ของพอร์ท เมื่อเวลาผ่านไปจนมาถึงจุด B เราก็จะใช้หลักการที่เคยใช้ในบริเวณ A มาประยุกต์ จะเห็นได้ว่าที่บริเวณ B นั้น จะเกิดครบทุกกรณี ดังนั้น หุ้นเดิมที่มีอยู่ 2 ใน 3 ของพอร์ทนั้นจะถูกแบ่งขายออกไป 3 จังหวะ นอกจากนี้จะเห็นได้ว่า ระดับของอักษร B นั้นอยู่สูงกว่าระดับของอักษร A นั่นหมายถึงเรายังคงได้กำไรส่วนเพิ่ม อย่างน้อยก็เท่ากับระยะห่างของบริเวณอักษร B กับอักษร A (แทนที่จะแห่ขายซะหมดในบริเวณ A และไม่ยอมกลับเข้ามาซื้อคืน ตอนที่มันกลับตัวขึ้นมา) เป็นไงครับเริ่มเห็นข้อดีบ้างหรือยัง ในทางกลับกัน วิธีการนี้ย่อมที่จะนำมา วิธีการนี้ย่อมที่จะนำมาใช้ในการทยอยซื้อหุ้นได้เช่นกัน โดยอาศัยจังหวะในการตัดกันของ ราคากับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่กับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ประโยชน์หรือครับ ลองสังเกตในบริเวณอักษร B อีกที จะเห็นว่าราคาได้มีการตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้ง 2 เส้นขึ้นมา แต่เส้น ema 10 วันไม่ได้ตัดเส้น ema 25 วันขึ้นมา ดังนั้นเราก็ยังมีเงินเหลืออยู่ในมือแน่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า วันถัดไปราคากลับทะลุเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้ง 2 ลงมา ถ้าขายทันก็ดีไป แต่ถ้าไม่ทันจะเกิดอาการติดหุ้นขึ้นมา จริงไหม? แต่อย่างน้อยถ้าใช้วิธีการทยอยซื้อดังกล่าว เรายังพอมีเงินเหลือส่วนหนึ่ง ไว้กลับเข้ามาช้อนซื้อได้ แต่ถ้าโถมเข้าไปซื้อตอนที่ราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้ง 2 เส้นขึ้นไปทั้งหมด ตอนนี้ก็คงไม่เหลือเงินไว้ช้อนหุ้นได้เลย ถูกไหมครับ?

.แนวรับ แนวต้าน.

เราได้อะไรจากตัวอย่างที่ 6.3 นี้อีก ถ้าท่านผู้อ่านยังไม่ลืมเรื่องแนวรับแนวต้าน ที่ได้เคยกล่าวมา ลองย้อนกับมาดูตรงที่บริเวณอักษร A จะเห็นว่า ในเมื่อราคาไม่ทะลุเส้น ema 25 วันลงมา แถมยังมีการทรงตัวถึงดีดตัวขึ้น ก็เท่ากับว่าเส้น ema 25 วันนั้นเป็นแนวรับ (support) ไปในตัว โดยมีเส้น ema 10 วัน เป็นแนวต้านตอนที่ราคาเริ่มมีการดีดตัว แต่เมื่อราคาสามารถทะลุหรือตัดเส้น ema 10 วันขึ้นไปได้ เส้น ema 10 วันจะกลายเป็นแนวรับไป (หวังว่ายังคงจำเรื่อง แนวรับกลายเป็นแนวต้าน แนวต้านกลายเป็นแนวรับได้) ดังนั้น เมื่อราคามีการอ่อนตัวลงมาทดสอบเส้น ema 10 วันแต่ไม่ทะลุลงมาจุดเหล่านี้จะถูกใช้เป็นจังหวะในการทยอยเก็บของเพิ่มครับ

เนื้อหาต่อไป : เส้นคู่ขนานของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Band or Channel)

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : ระยะเวลาหรือจำนวนวันที่ใช้ในการคำนวณ Moving Average