บทที่ 6

ระยะเวลาหรือจำนวนวันที่ใช้ในการคำนวณ Moving Average

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นเสมือนการกรองค่าผิดปกติออกไป กล่าวคือ วัฎจักรหรือคลื่น ที่เคลื่อนไหวในรอบระยะเวลาต่ำกว่าหรือเท่ากับจำนวนวันที่ใช้ทำค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ จะถูกกรองออกไป ลักษณะนี้เรียกว่า High Pass Filter เนื่องจากเป็นการปล่อยให้ คลื่นที่เคลื่อนไหวในรอบระยะเวลาที่ยาวกว่าตัวค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ผ่านออกมายังค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ได้

วันที่ใช้กันบ่อยๆสำหรับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ก็มักจะใกล้เคียวกับระยะเวลาทางปฏิทิน ซึ่งที่นิยมใช้กันก็คือ 25, 75 และ 200 หรือ 250 วันโดยจะถือว่าระยะ 25 วัน จะใช้สำหรับแนวโน้มระยะสั้น หรือ Short-term Trend (แทนระยะเวลา 1 เดือน) ส่วน 75 วัน ใช้สำหรับระยะปานกลาง (Medium-term Trend, ใช้แทนระยะเวลา 1 ไตรมาส) และ 200 หรือ 250 วัน ใช้สำหรับแนวโน้มระยะยาว (Long-term Trend, ใช้แทนระยะเวลา 1 ปี)

นอกจากนี้ก็อาจมีการใช้จำนวนวันให้เร็วขึ้นอีกเพื่อผลในการซื้อขายวันต่อวัน เช่น ใช้ระยะ 4, 9, 10 หรือ 18 วัน เป็นต้น ทั้งนี้การใช้จำนวนวันที่สั้นลง จะทำให้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถส่งสัญญาณซื้อหรือขายได้รวดเร็ว แต่ก็มีข้อเสียคือ สัญญาณที่เกิดขึ้น อาจเป็นสัญญาณปลอม อันเป็นผลจากการที่มันเคลื่อนไหวเร็วเกินไปนั่นเอง

จำนวนวันที่จะเลือกใช้กับระบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นี้ ขึ้นอยู่กับว่า คุณกำลังเล่นกับตลาดในระยะยาวหรือสั้น คำว่าสั้นหรือยาว คงหาคำจำกัดความที่แน่นอนได้ยาก แต่อย่างน้อย ควรจะต้องรู้ว่า เรากำลังตามคลื่นไหนอยู่ ถ้าเราเล่นสั้นมาก คลื่นที่เราตามอาจวิ่งครบรอบ (จากต่ำสุดไปหาต่ำสุด หรือ จากยอดไปหายยอด) ในระยะเวลาไม่กี่วัน ในกรณีนี้ เราต้องใช้จำนวนวันน้อยลง (อย่างน้อยก็ต้องน้อยกว่ารอบระยะเวลาของคลื่นที่เรากำลังตามอยู่ล่ะ) เพราะถ้าใช้จำนวนวันมากเกินไป คลื่นสั้นที่เรากำลังตามอยู่จะถูกกรองออกไปจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ส่งผลให้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบนราบ (Flat) และให้สัญญาณช้าเกินกว่าที่จะจะทำกำไรได้ (เผลอๆจะขาดทุนเอาด้วยซ้ำ)

แต่ถ้าคุณกำลังตามคลื่นที่มีรอบระยะเวลายาว (หรือกำลังวิ่งตามแนวโน้มหลัก) ค่าเฉลี่ยระยะยาวจะให้สัญญาณที่ดีกว่า เพราะเมื่อเราใช้จำนวนวันในการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ยาวๆ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นั้นจะเรียบขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนไหวเล็กๆน้อยๆแบบไม่มีทิศทางที่ไม่ใช่แนวโน้ม จะถูกขจัดออกไป เป็นการกรองสัญญาณหลอกออกไปได้ ดังนั้น สัญญาณซื้อหรือขายที่ได้จะมีความถูกต้องมากขึ้น ไม่เหมือนกับถ้าเราใช้จำนวนวันน้อยๆค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะวิ่งเร็วเกินไปเมื่อเทียบกับคลื่นที่คุณตามอยู่ ก่อให้เกิดสัญญาณหลอกได้

แน่นอนครับ เมื่อคุณใช้ค่าเฉลี่ยจำนวนวันยาวๆ มันก็ให้สัญญาณช้า แต่เนื่องจากคุณกำลังตามคลื่นลูกใหญ่ (ที่ใช้เวลานานกว่าจะครบรอบ) ดังนั้น ช่วงกำไรที่วัดจากก้นบึ้งไปหายอด ก็เยอะกว่า ดังนั้น ถึงจะช้าไปซักหน่อยแต่ก็ยังได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ และไม่ต้องไปยึกยักๆเข้าๆออกๆบ่อยๆอีกด้วย (ประหยัดค่าโบรกเกอร์ไปได้จมเลย)

ว่ากันมาตั้งเยอะแล้ว ไม่เห็นมีรูปประกอบเลย เรื่องที่จะมึนหรืองง ไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ เอาละ! ลองมาดูตัวอย่างที่ 6.1 ก็แล้วกัน

จากรูปจะเห็นได้ว่าจุดที่เขียนว่า buy (ซื้อ) ทุกๆครั้งนั้น จะเป็นจุดที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลาสั้นกว่า (ema 10 วัน) ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลายาวกว่าขึ้นไป (ema 25 วัน) ในทางกลับกัน จุดที่เขียนว่า sell (ขาย) นั้น จะเป็นจุดที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลาสั้นกว่า (ema 10 วัน) ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะยาวกว่าลงมา (ema 25 วัน) หลักเกณฑ์ที่ใช้นี้ท่านผู้อ่านคงจะยังจำได้ครับ ถ้าจำไม่ได้ลองย้อนกลับไปทบทวนหลักการอีกที คงจะไม่มีใครว่าหรอกครับ

ลองมาดูในตัวอย่างที่ 6.2 ซึ่งเป็นการขยายภาพบางส่วนของตัวอย่างที่ 6.1 โดยที่นำมาแสดงนั้นเป็นส่วนขยายของบริเวณตัวอักษร A ในตัวอย่างที่ 6.1 ซึ่งเมื่อพิจารณาภาพขยายนี้แล้วจะพบว่า ราคาได้ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ exponential (ema) 10 วัน ลงมา (1) ซึ่งเป็นสัญญาณขายครั้งแรก เหตุที่บอกว่าเป็นสัญญาณขายครั้งแรกนั้น ก็เพราะว่า ตามหลักเกณฑ์นั้นเมื่อราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ลงมา จะเป็น sell signal แต่จะพบว่าราคาไม่ได้ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 25 วันลงมา พร้อมกับเริ่มมีการทรงตัวถึงดีดตัวขึ้น (2) และจะเห็นได้ว่าเวลาถัดไป ราคาได้กลับขึ้นมาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วันขึ้นไปด้วยซ้ำ ซึ่งเป็น buy signal ขึ้นมา (3) ดังนั้นพวกที่ขายไป ก็ต้องรีบวิ่งกลับเข้ามาซื้อ ไม่งั้นเดี๋ยวจะพลาดรถไฟขบวนนี้ อย่างไรก็ตาม รถไฟขบวนนี้ยังไม่รีบออกขบวนเสียทีเดียว แต่กลับมีการย่ำฐานกันอีก (4) แน่นอนจากรูปขยาย จะเห็นว่าราคาได้ตัดเส้น ema 10 วันลงมา แถมราคาปิดก็อยู่ต่ำกว่าเส้น ema อีกด้วย ตามหลักย่อมจะเกิด sell signal แต่คนที่ขายไปก็ต้องเฝ้ารู้มั้ย...อร่อยให้ดี เพราะเหตุที่ว่า ราคาปิด (close) นั้น ไม่ได้อยู่ที่ low แถมยังอยู่ใกล้เคียงกับเส้น ema 10 วัน ราคาอาจจะกลับขึ้นมาให้สัญญาณ buy เมื่อตัดเส้น ema 10 วันขึ้นไปก็ได้ ซึ่งราคาวันถัดมา (5) ก็ได้กลับขึ้นมาตัดเส้น ema 10 วัน โดยราคาปิดอยู่เหนือเส้น ema 10 วัน แถมยังค่อนไปทาง high อีกทั้งมีวอลุ่มหนุนตามด้วย อย่างนี้ค่อยอุ่นใจหน่อย

เนื้อหาต่อไป : กลยุทธ์ / แนวรับ แนวต้าน

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : ระบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ Moving Averages