บทที่ 6

Stop And Reverse (SAR)

ผู้อ่านบางท่าน ตอนนี้คงอยากจะทราบว่า SAR คำนวณหรือได้มาอย่างไร? ในหลักการว่าไว้ดังนี้ครับ ค่า SAR ค่าแรก จะมีค่าเท่ากับ extreme price (EP) ของ position ที่เพิ่งจะถูกปิดไป ซึ่ง extreme price อาจจะเป็นราคาสูงสุด หรือราคาต่ำสุดก็ได้แล้วแต่กรณี เอ๊..แล้วกรณีไหน? ถึงจะใช้ราคาสูงสุด หรือมีกรณีไหน? ที่จะต้องใช้ราคาต่ำสุด ละครับ!

การจะใช้ราคาสูงสุด หรือราคาต่ำสุด ประการแรก! ขอให้ผู้อ่านแยกแนวโน้มของราคาออกเป็นขาขึ้น (uptrend) กับขาลง (downtrend) ก่อน ซึ่งผู้เขียนขออธิบายขาขึ้นก่อนก็แล้วกัน

.Uptrend.

ในกรณีขาขึ้น (positive side) ค่า SAR ค่าแรกจะเท่ากับราคาที่ต่ำที่สุด ที่ได้ถูกบันทึกไว้ในช่วง short position ซึ่งเพิ่งจะถูกปิดไป ส่วนค่า SAR ในวันที่ 2 หรือหลังจากนั้น SAR จะถูกคำนวณ หรือปรับตามสมการข้างล่างนี้

โดยที่

SARt = ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ exponential ซึ่งในกรณีนี้จะทำหน้าที่เป็นแนวรับ ดังนั้น ถ้าราคาหุ้นปรับตัวลงมาต่ำกว่าค่า SARt ก็จะถือว่าเกิดสัญญาณขายขึ้น

SARt-1 = SARt ณ เวลา t-1

AF = Acceleration factor (หรือ exponential Smoothing Constant) ซึ่งเริ่มต้นที่ .02 และจะค่อยๆเพิ่มทีละ .02 เมื่อมี higher high เกิดขึ้นนั่นหมายถึงว่า ถ้าราคาไม่มีการสร้างจุดสูงสุดใหม่ในช่วง long position ค่า AF จะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากค่าก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าค่า AF จะเพิ่มขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด แต่หลักการจะอั้นไว้แค่ 0.2 เท่านั้นครับ

H = ราคาสูงสุด ในช่วง long position (ถูกเปิดขึ้นตาม stop buy order) ซึ่งค่า H นี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีราคาสูงสุดอันใหม่เกิดขึ้น

.Downtrend.

ในกรณีขาลง (negative side) ค่า SAR เริ่มแรกจะเท่ากับราคาที่สูงที่สุดในช่วง long position ที่เพิ่งถูกปิดไป ส่วนค่า SAR ในวันที่ 2 หรือหลังจากนั้น SAR จะถูกคำนวณหรือปรับตามสมการข้างล่างนี้

โดยที่

SARt = ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ exponential ซึ่งในกรณีนี้จะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ดังนั้น ถ้าราคาหุ้นสามารถขยับตัวผ่าน SARt ขึ้นไปได้ ก็จะถือว่าเกิดสัญญาณซื้อขึ้น

SARt-1 == SARt ณ เวลา t-1

AF = Acceleration factor (หรือ exponential Smoothing Constant) ซึ่งเริ่มต้นที่ .02 และจะค่อยๆเพิ่มทีละ .02 เมื่อมี Lower low เกิดขึ้นนั่นหมายถึงว่า ถ้าราคาไม่มีการสร้างจุดต่ำสุดใหม่ในช่วง short position ค่า AF จะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากค่าก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ค่า AF ในกรณีนี้จะอั้นไว้แค่ 0.2 เช่นเดียวกับกรณีของuptrendครับ

L = ราคาต่ำสุด ในช่วง short position (ถูกเปิดขึ้นตาม stop sell order) ซึ่งค่า L นี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีราคาต่ำสุดอันใหม่เกิดขึ้น

ตอนนี้ คาดว่าท่านผู้อ่านคงพอทราบ (หรืองงมากขึ้น) แล้วว่า ค่า SAR นั้นมาจากไหน? อย่างไรก็ตาม สมัยนี้มีโปรแกรมที่จะทำการ plot ค่า SAR ได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ซึ่งช่วยย่นเวลาตั้งแยะ และไม่ต้องมาปวดหัวกับสูตรข้างต้น เพราะประเด็นสำคัญที่ท่านผู้อ่านอยากทราบ น่าจะเป็นที่สัญญาณของการซื้อขายมากกว่า จริงไหมครับ? แต่ที่ให้ไว้ เพื่อที่จะได้เกิดความสมบูรณ์ในเนื้อหามากขึ้นเท่านั้นเองครับ

จากตัวอย่างที่ 6.8 ข้างล่างนี้ เป็น Parabolic Time / Price System ของ SET Index ซึ่งจะ Plot ค่า SAR ออกมาเป็นเส้นไข่ปลายึกยักไปมาดังรูป ซึ่งตราบใดที่ราคาอยู่ต่ำกว่าเส้นไข่ปลา เส้น SAR ก็เป็นแนวต้าน (resistance) แต่ถ้าราคาหุ้นอยู่เหนือเส้นขาปลา เส้น SAR ก็จะกลายเป็นแนวรับ (support) ไป โดยจุดที่ก่อให้เกิดสัญญาณซื้อได้แก่จุด 1, 3, 5, 7 เพราะเป็นจุดที่ราคาตัดเส้น SAR ขึ้นไป และเกิด SAR ใหม่ ซึ่งจะเป็น Stop Level สำหรับ Buy Position กล่าวคือ เมื่อไหร่ที่ราคาตัด SAR ใหม่ลงมาจะเป็น reversal ของแนวโน้มและเป็นสัญญาณขาย ซึ่งก็ได้แก่จุด 2, 4, 6 และ 8

เนื้อหาต่อไป : บทที่ 7 เครื่องชี้ที่เกี่ยวข้องกับราคา Price Indicators

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : Parabolic Time / Price System