บทที่ 6

Parabolic Time / Price System

ระบบ Parabolic นี้ เป็นวิธีการที่ใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อีกแบบหนึ่ง ซึ่งคิดค้นโดย J. Welles Wilder โดยระบบนี้ จะให้จังหวะ ในการเข้าหรือออกจากตลาด โดยอาศัยการเปรียบเทียบกันระหว่างราคาหุ้น กับราคาเฉลี่ยของหุ้น เป็นตัวให้สัญญาณ

อย่างไรก็ตาม ราคาเฉลี่ยที่คำนวณจาก Parabolic Time / Price System นี้ แม้จะอาศัยหลักของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ exponential มาประยุกต์ (ซึ่งแน่นอน! ราคาเฉลี่ยที่ได้ย่อมเคลื่อนไหวไปตาม trend ของราคา) แต่ราคาเฉลี่ยสำหรับในกรณีนี้ ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่า stop and reverse price (หรือเรียกสั้นๆว่า SAR) ยังคงมีความแตกต่างกันในบางประการ กับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ exponential ที่เคยว่ากันในเรื่องของ Moving Average ซึ่งจะเห็นได้จาก ตอนที่แทนค่าลงไปในสูตรการคำนวณ

แต่ตอนนี้ อยากทำความเข้าใจในเชิงพรรณนาเกี่ยวกับค่า SAR ที่คำนวณได้ก่อน ผู้เขียนอยากจะให้ผู้อ่านมองค่า SAR นี้ว่าเป็นราคาที่แสดงถึง ขอบจำกัดความเสี่ยงที่จะยอมรับได้ เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า หากราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงต่ำกว่า SAR เมื่อใด จะเป็นการชี้ให้เห็นว่า แนวโน้มขาขึ้นที่ผ่านมานั้น หมดลงแล้ว และหุ้นก็พร้อมที่จะถูกเทขายออกมา เพราะ trend ของราคาหุ้นนั้น เปลี่ยนเป็นขาลงแล้ว

ในทางกลับกัน หากราคาหุ้นได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่า SAR เมื่อใด และตัวของผู้ลงทุนยังไม่มีหุ้นอยู่ในมือ หรือเพิ่งจะขายหุ้นออกไป ก็อาจจะมีโอกาสพลาดรถไฟขาขึ้นขบวนนี้ได้ เพราะสัญญาณดังกล่าว เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า แนวโน้มขาลงหมดลงแล้ว ดังนั้น คงต้องกลับมาตีตั๋วขึ้นรถไฟขบวนนี้ให้ทัน เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือนครับ!

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเข้าไปสู่การคำนวณ SAR เมื่อใด และตัวของผู้ลงทุนยังไม่มีหุ้นอยู่ในมือ หรือเพิ่งจะขายหุ้นออกไป ก็อาจจะมีโอกาสพลาดรถไฟขาขึ้นขบวนนี้ได้ เพราะสัญญาณดังกล่าว เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า แนวโน้มขาลงหมดลงแล้ว ดังนั้น คงต้องกลับมาตีตั๋วขึ้นรถไฟขบวนนี้ให้ทัน เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเข้าไปสู่การาคำนวณ SAR จำเป็นที่นักลงทุนจะต้องทราบคำศัพท์อีก 4 คำ ซึ่งได้แก่ long position, short position, stop buy order และ stop sell order เพราะถ้าไม่ทราบ อาจจะทำให้ผู้อ่านไม่เกิดความกระจ่างชัดในหลักการของ SAR ได้ ดังนั้น ผู้เขียนอยากจะทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่าน กับคำเหล่านี้เป็นลำดับแรกก่อน

คำว่า long position นั้น พูดให้ง่ายสุดก็คือ การซื้อหุ้นแล้วถือหุ้นนั้นเอาไว้ เอาไว้ทำไม? ก็เอาไว้ขายเมื่อถึงเวลาอันสมควรหรือเมื่อ trend ในการขยับตัวขึ้นหมดลง ส่วน short position ก็เป็นกรณีที่ตรงกันข้ามกับ long position กล่าวคือ ขายหุ้นออกไป แล้วรอเวลาที่จะช้อนซื้อกลับ (แต่การขายหุ้นออกไปนี้ จะต้องมีหุ้นอยู่ในมือก่อนนะครับ เพราะตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้) คำถามที่ตามมาก็คือ ขายไปทำไม? เหตุที่ขายเนื่องมาจาก นักลงทุนคาดการณ์ว่า ราคาหุ้นอาจจะมีการปรับตัวลง ดังนั้นถ้าขายตอนนี้ แล้วไปช้อนซื้อกลับตอนที่ trend ในการปรับตัวลงจบแล้ว อย่างน้อยผลประการหนึ่ง น่าจะทำให้ต้นทุนถูกลงบ้าง

ส่วนคำว่า stop buy order และ stop sell order นั้น เป็นการจำกัดความเสี่ยงกรณีที่ราคาหุ้นนั้น ไม่ได้เป็นไปตามที่นักลงทุนคาดหมาย ตัวอย่างของ stop buy order เช่น นักลงทุนคาดว่า ราคาหุ้นจะมีการอ่อนตัวลงอีก จึงได้ทำการขายหุ้นที่อยู่ในมือออกไป โดยคาดหวังว่าจะกลับเข้าไปช้อนซื้อคืนในภายหลัง แต่ปรากฏว่า ราคาหุ้นไม่ได้เป็นไปตามที่นักลงทุนคิดข้างต้น ราคามันกลับมีการดีดตัวขึ้น แน่นอน! ถ้าผู้ลงทุนไม่ได้เตรียมราคาไว้เผื่อกรณีที่หุ้นนั้นมีการดีดตัว จะทำให้เสียของไป โดยเปล่าประโยชน์ รวมถึงมีค่าเสียโอกาสเกิดขึ้น แต้ถ้าได้เตรียมราคาที่จะทำการซื้อหุ้นนั้นคืน เพื่อป้องกันกรณีดังกล่าวไว้ จะทำให้นักลงทุนผู้นั้น สามารถจำกัดความเสี่ยงได้ และก็มีหุ้นกลับเข้ามาอยู่ในมือทันการณ์ ซึ่งราคาที่เตรียมไว้ในใจนั่นละครับ คือ stop buy order

สำหรับตัวอย่างของ stop sell order เช่น นักลงทุนคาดว่า ราคาหุ้นจะมีการปรับตัวสูงขึ้น จึงทำการโดดเข้าไปซื้อ เพราะหวังว่าจะได้ทันขบวนรถไฟขาขึ้นนี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ราคาหุ้นมันดันปรับตัวลง ซึ่งหากผู้ลงทุนไม่ได้เตรียมทางหนีทีไล่เอาไว้ ก็คงต้องติดหุ้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ แต่ถ้าหากว่านักลงทุน ได้มีการเตรียมราคาขายเอาไว้ในใจ เพื่อป้องกันกรณีดังกล่าว จะทำให้นักลงทุนอย่างน้อยก็หนี หรือฉากตัวออกมาจากตลาดได้ทัน ราคาที่เตรียมไว้ในใจนั่นละครับ คือ stop sell order

เนื้อหาต่อไป : Stop And Reverse (SAR)

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : Moving Averages Convergence Divergence (MACD)