บทที่ 5

รูปแบบสัญญาณซื้อ และสัญญาณขาย

มาถึงจุดนี้ เราจะลงลึกเข้าไปศึกษารูปแบบของแผนภาพที่อาจจะเกิดขึ้น ในการให้สัญญาณซื้อหรือขาย ซึ่งมีรูปแบบดังแสดงในรูปที่ 5.6 ครับ

การอธิบายจะขอยกตัวอย่างเพียง 2 รูปแบบเท่านั้น โดยรูปแบบแรกคือ สัญญาณซื้อเมื่อเกิดการทะลุยอดที่ 3 ( breakout of a triple top) และสัญญาณขายเมื่อเกิดการทะลุเส้นแนวรับขาขึ้นลงมา( downside breakout below a bullish support line) ซึ่งให้สัญญาณขายออกมา เพราะหากเข้าใจในหลักการเกิดสัญญาณ ซื้อหรือขายแล้ว การสร้างรูปแบบไหนๆ ก็ง่ายสำหรับเราในการเข้าใจมัน

การเกิดสัญญาณซื้อตามการทะลุยอดที่ 3 นั้นแท้จริงคือ การทะลุแนวต้านขึ้นมา ซึ่งตามหลักที่ได้กล่าวไว้ในเรื่องของแนวรับแนวต้าน การทะลุแนวต้านขึ้นมาได้ หมายถึงการเกิดสัญญาณซื้อ คำถามที่ตามมาคือ รู้ได้ยังไงว่าตรงไหน เป็นแนวต้าน ? คำตอบคือ แนวต้านจะอยู่ที่ยอดของสัญญาณ X ที่เกิดขึ้น 2 ครั้งที่ผ่านมา เพราะการที่สัญญาณ X เปลี่ยนมาเป็นสัญญาณ O หมายถึง แรงขายมีมากกว่าแรงซื้อ จึงเป็นแนวต้านขึ้นมา การข้ามยอดของสัญญาณ X ขึ้นไปได้ แสดงให้เห็นถึง อุปสงค์มีมากกว่า อุปาทาน ย่อมจะส่งผลให้ราคามีการปรับตัวสูงขึ้น จึงเกิดสัญญาณซื้อขึ้นตามมานั่นเอง

ส่วนสัญญาณขาย ที่เกิดจากการที่ราคาทะลุเส้นแนวรับขาขึ้นลงมา หมายถึง การที่แรงขายมีมากกว่าแรงรับตามเส้น trend หรือเกิดอุปาทานส่วนเกิน ย่อมมีผลให้ราคาปรับตัวลง เพราะผู้ซื้อที่เคยเข้าไปรับซื้อตามแนวเส้น trend นั้น ตอนนี้รับไม่อยู่ ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่คนขายมีกำลังสูงกว่า ดังนั้น ใครที่ชิงหลบออกไปก่อนนั้น ก็ไม่ต้องเจอรกับสภาพติดหุ้น ทำให้ยิ่งเป็นการจุดชนวนของแรงขายออกมา สัญญาณขายจึงเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ควรที่จะสังเกตในรูปด้วยว่า จุดที่ทะลุ (breakout )นั้น อาจจะยังไม่ให้สัญญาณซื้อ หรือสัญญาณขายออกมาในทันทีทันใด แต่จุดถัดไปจนเป็นจุดของการให้สัญญาณออกมา นอกจากนี้ ว่ากันว่า ascending triple top ให้สัญญาณ ซื้อที่เชื่อถือได้มากสุด ขณะที่การ breakout of a triple bottom ให้สัญญาณขายที่เชื่อถือได้มากสุด แต่จะเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหนดูกันเองแล้วกันนะครับ

.เส้นแนวโน้ม (Trend Line).

นอกจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในการใช้ point-and-figure ยังมีการนำเรื่องเส้นแนวโน้ม ( trend line) ที่ทำมุม 45 องศา เข้าพิจาณามาช่วยในการ แนวโน้มที่เป็นอยู่ ตลอดจนใช้เป็นตัวกรอง (filter) ในการให้สัญญาณซื้อขาย ซึ่งเส้นแนวโน้มมีวิธีการลากเส้นดังนี้

กรณีที่แนวโน้มเป็นขาขึ้น (uptrend ) เส้นแนวโน้มถูกเรียกว่า bullish support line ซึ่งถูกลากทำมุม 45 องศา ขึ้นไปทางขวามือจากช่องที่อยู่ต่ำกว่าปลายสัญลักษณ์ O ลงไป 1 ช่อง ดังรูปที่ 5.7 ซึ่งตราบไดที่ราคายังคงอยู่เหนือเส้นดังกล่าว แนวโน้มนั้นยังคงถือว่าเป็น bullish อยู่

ในทางกลับกัน หากแนวโน้มเป็นขาลง( downtrend) เส้นแนวโน้มถูเรียกว่า bearish resistance line ซึ่งถูกลากทำมุม 45 องศา ลงมาทางขวามือ จากช่องที่อยู่เหนือยอดสัญลักษณ์ X ขึ้นไป 1 ช่อง (รูปที่ 5.8) ตราบใดที่ราคายังอยู่ต่ำกว่า downtrend line แนวโน้มนั้นยังคงถือว่าเป็น bearish อยู่

สำหรับตัวอย่างที่ 5.1 เป็นการแสดงถึงการนำเอาเส้น bullish support และเส้น bearish resistance มาใช้กับการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น DS

เนื้อหาต่อไป : เป้าหมายราคา (Price Target)

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : แผนภาพ Point & Figure