บทที่ 5

เป้าหมายราคา (Price Target)

แม้ว่าการศึกษาข้างต้น ได้นำพา เราไปสู่สัญญาณต่างๆ ในการเข้าซื้อ หรือขาย แต่ลองมานั่งนึกดูว่า ถ้าเรารู้ว่ามันเกิดสัญญาณซื้อขึ้นแล้ว จุดไหน? ถึงจะเป็นจุดที่จะเริ่มทำกำไรระยะสั้นออกมาได้แล้ว ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนทิศทาง หรือ ถ้ารู้ว่ามันให้สัญญาณขายออกมา จุดไหน? ถึงจะเหมาะในการเข้าช้อนซื้อก่อนที่จะมีการเปลี่ยนทิศทาง วิธีการหนึ่งซึ่งสามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว คือการกำหนดเป้าหมายของราคา (price objectives) ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

.1. Horizontal count.

หลักการพื้นฐานที่ซ่อนอยู่หลังวิธีการนี้คือ ช่วงเวลาที่หุ้นใช้ในการรวบรวมกำลัง เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาถึงศักยภาพในการเคลื่อนไหว ดังนั้น การวัดความกว้างของการรวมกำลัง (consolidation) จึงถูกใช้ในการคาดการณ์ระดับราคาที่จะขึ้นไปทดสอบ หรือในทางกลับกัน การวัดความกว้างของการกระจาย(distribution) ก็ถูกนำมาใช้ในการคาดการณ์ระดับราคา ที่จะมีการปรับตัวลงมาทดสอบ ซึ่งสูตรในการหาเป้าหมาย กรณีที่ราคากำลังมีการปรับตัวขึ้น คือ

โดยที่

1.

Hu = ระดับราคาที่เป็นเป้าหมาย

PL = ราคาต่ำสุด (จากสัญลักษณ์ O) ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ

W = จำนวนคอลัมน์ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ

RV = reversal value ( box size X จำนวน box)

2. ระดับราคาที่ใช้เป็นฐานนั้น จะต้องสามารถชี้ให้เห็นได้เด่นชัด

3. การนับจำนวนคอลัมน์หรือค่า W นั้นจะไม่รวมคอลัมน์ที่เกิดการทะลุขึ้น

4. ค่า RV นั้นเป็นค่าต่ำสุด ( minimum reversal)

ลองพิจารณาตัวอย่างที่แสดงไว้ในรูปที่ 5.9 ในหน้าที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ภายใต้กฎ Three-box reversal โดยมีค่า box size เท่ากับ 4 จะให้ค่า RV เท่ากับ 12 ขณะที่การนับจำนวนคอลัมน์ที่เป็นฐานนั้น มีค่า W1 ไป เท่ากับ 19 และระดับราคาที่ใช้เป็นฐานอยู่ที่ 610 บาท ดังนั้น เป้าหมายของราคาจึงมีค่าอยู่ที่ระดับ 838 บาท ซึ่งคำนวณได้จากสูตรข้างต้น

และถ้าหากขยายคอลัมน์ที่ใช้เป็นฐานในการพิจารณา จาก W1ไป W2 ซึ่งมีค่าอยู่ที่ 25 ก็จะได้เป้าหมายของราคาที่อยู่สูงขึ้นไป ที่ระดับ 910 บาท

ส่วนสูตรที่ใช้ในการหาเป้าหมาย กรณีที่ราคากำลังมีการปรับตัวลง คือ

โดยที่

1.

Hd = ระดับราคาที่เป็นเป้าหมาย

PH = ราคาสูงสุด (จากสัญญาณ X ) ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ

W = จำนวนคอลัมน์ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ

RV= reversal value

ลองคำนวณเป้าหมายราคาดู ซึ่งคำตอบนั้นอยู่ในรูป ที่ 5.9 แล้วครับ

.2. Vertical count.

วิธีการนี้ค่อนข้างที่จะง่ายกว่าวิธีการแรก ซึ่งสูตรที่ใช้ในการเป้าหมายราคา ในกรณีที่ราคามีการขยับตัวขึ้น คือ

Vup = ราคาต่ำสุดที่ใช้เป็นฐาน + (จำนวน box ในการเปลี่ยนทิศครั้งแรก X RV)

ตัวอย่างการใช้สูตร สามารถแสดงได้ดังรูปที่ 5.10 ซึ่งจากรูปจะเห็นว่า ราคาที่ถูกใช้เป็นฐานนั้น อยู่ที่ ระดับ 102 บาท ส่วนจำนวน box ที่ใช้ในการเปลี่ยนทิศครั้งแรก ( first reversal) กรณีนี้มีค่าเท่ากับ 12 ดังนั้น ภายใต้กฎ three-box reversal เป้าหมายราคาที่คำนวณได้ จึงมีค่าเท่ากับ 138 บาท

ในทางกลับกัน สูตรที่ใช้ในการหาเป้าหมายของราคา กรณีราคากำลังปรับตัวลงคือ

Vdown = ราคาสูงสุดที่ใช้เป็นฐาน – (จำนวน box ในการเปลี่ยนทิศครั้งแรก X RV)

ตัวอย่างแสดงอยู่ในรูปที่ 5.10 ราคาที่ถูกใช้เป็นฐานอยู่ที่ 153 บาท ส่วนจำนวน box ที่ใช้ในการเปลี่ยนทิศครั้งแรก กรณีนี้เท่ากับ 9 ดังนั้น ภายใต้กฎ three-box reversal เป้าหมายราคาที่คำนวณได้ จึงมีค่าเท่ากับ 126 บาท

มาถึงตรงจุดนี้ ผู้เขียนหวังว่า จากหลังการที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างแผนภาพ ตลอดจนรูปแบบที่จะได้สัญญาณซื้อหรือขาย จากเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิค ที่มีชื่อว่า พ้อย แอนด์ ฟิกเกอร์ นี้ น่าจะทำให้ผู้อ่านได้รับวิธีการ ตลอดจนยุทธวิธีที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงลง ก่อนที่จะไปลุยในตลาดหุ้น

เนื้อหาต่อไป : บทที่ 6 ระบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ Moving Averages

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : รูปแบบสัญญาณซื้อ และสัญญาณขาย