บทที่ 3

V-Shape

ตอนนี้ก็เหลือรูปแบบสุดท้ายของการเกิด reversal ที่เราจะพูดกันแล้ว รูปแบบดังกล่าวก็คือ V-shape ว่ากันง่ายๆก็มี 2 แบบคือ ไม่คว่ำก็หงาย แบบไหนก่อนดี! เอาแบบหงายมั่งแล้วกัน กุญแจที่สำคัญที่จะเป็นตัวชี้ว่า จะมีการเกิดรูปแบบของ v-shape นั่นอยู่ที่แท่งกราฟที่ 1 และ 2 ในรูป 3.5a แท่งกราฟที่ 1 บอกอะไรเรา?

มันบอกเราว่าในวันนั้น ได้มีการไล่ทุบราคาจนลงไปปิดตัวที่ใกล้ระดับราคาต่ำสุด ซึ่งเป็นการสะท้อนถึง ความต้องการขายยังมีอยู่สูง สำหรับวันถัดมา ในตอนเปิดตลาด แรงขายที่ยังคั่งค้างในวันก่อน ก็ได้พรั่งพรูออกมาอีก จึงทำให้ราคาไหลตัวลงไปที่ระดับราคาต่ำสุดใหม่ อย่างรวดเร็ว ดูได้จากราคาต่ำสุดในวันที่ 2 อยู่ต่ำกว่าวันที่ 1 หลังจากนั้นก็เริ่มที่จะมีความต้องการซื้อกลับเข้ามา และไล่ตะลุยซื้อคืนเป็นการใหญ่ จนราคาปิดในวันที่ 2 นี้มาวางตัวอยู่เหนือราคาปิดในวันที่ 1 นั่นหมายถึง แรงซื้อสามารถที่จะเอาชนะแรงขายได้ในโค้งสุดท้าย ดังนั้น แท่งกราฟ 1 และ 2 จึงเป็นกุญแจที่ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนจาก downtrend มาเป็น uptrend อย่างรวดเร็ว คล้ายกับตัว V นั่นไงครับ!

ส่วน V คว่ำในรูปที่ 3.5b ก็มีกุญแจที่สำคัญที่ กราฟแท่งที่ 3 และ 4 จะเห็นได้ว่า ราคาสูงสุดในแท่งกราฟที่ 4 อยู่สูงกว่ากราฟแท่งที่ 3 แต่ราคาปิดของมันกลับปิด ณ ระดับที่ต่ำกว่าราคาปิดในแท่งกราฟที่ 3 จึงเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นถึง เป็นการเปลี่ยน trend จาก uptrend มาเป็น downtrend อย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างที่ 3.5 เป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปแบบ v-shape ที่เกิดขึ้นกับ SET index ณ จุดเวลาต่างๆกัน การสังเกตนั้นให้นำหลักของ v-shape ที่เพิ่งจะกล่าวผ่านพ้นมา มาลองใช้ดู แต่ที่สำคัญคือ ทำไมบางจุดจึงมองว่าเป็น v-shape ในขณะที่บางจุดไม่เป็น v-shape ลองสังเกตดูให้ดีครับ

เนื้อหาต่อไป : บทที่ 4 รูปแบบต่อเนื่อง Continuous Patterns

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : Saucer