บทที่ 4
รูปแบบต่อเนื่อง Continuous Patterns
ต่อไปจะเป็นการพูดถึงรูปแบบต่อเนื่อง หรือ Continuous Patterns ซึ่งรูปแบบนี้ เป็นเหมือนกับการพักเอาแรงของแนวโน้ม ก่อนที่เคลื่อนที่ต่อไปตามแนวโน้มเดิม การหยุดพักเอาแรงนี้ เป็นการหยุดดูท่าทีของนักลงทุนในตลาดเพื่อดูว่าแนวโน้มเดิมจะวิ่งต่อไปไหวไหม ซึ่งรูปแบบสามารถจะจำแนกออกได้หลายแบบ
.Triangles.
เริ่มประเดิมจาก triangles แล้วกัน รูปแบบนี้เป็นการฟอร์มตัวเป็นรูป 3 เหลี่ยม ก่อนที่ราคาจะเคลื่อนตัวต่อไปในทิศทางเดิม อย่างไรก็ตาม คำว่าสามเหลี่ยมที่ว่านี้นั้น ถูกแยกย่อยออกเป็น 3 แบบ คือ symmetry ,ascending และ descending
.1. Symmetric triangle.
ถ้าจะให้ง่ายขึ้น ดูที่รูป 4.1a เลยดีกว่า จะเห็นว่า แนวโน้มเดิมของราคานั้นเป็น uptrend แต่เมื่อมาจุด c ก็มีการปรับตัวลงมายังจุด d ตรงจุดนี้ก็มีแรงช้อนซื้อกลับเข้ามา ทำให้ราคามีการดีดตัว(rebound ) ขึ้นมาที่จุด e ก็ถูกแรงขายกดเอาไว้อีก ทำให้มีการปรับตัวลงมายังจุด f การปรับตัวขึ้นลงเช่นนี้ จะก่อให้เกิดรูปแบบที่เป็นรูปสามเหลี่ยม แต่ที่เรียกว่าเป็น symmetric ก็เนื่องจาก trend ที่ลากผ่านจุดยอด (เส้นที่1) และ trend ที่ลากผ่านจุดก้นบึ้ง (เส้นที่ 2 ) ทำมุมกับแนวระนาบ (เส้นที่3) ในองศาที่เท่าๆ กัน จุดที่เส้นที่ 1 พบกับเส้นที่ 2 จะเรียกว่า จุดยอด (apex) ช่วงเวลาที่ราคาทะลุรอบสามเหลี่ยมขึ้นไป (ยังผลให้แนวโน้มคงไว้ในรูป uptrend) ปกติจะอยู่ที่ตำแหน่งระยะสองในสามจากจุด apex ถึงฐาน (base ) แต่ถ้าเลยระยะดังกล่าวไปแล้ว ความน่าจะเป็นที่จะทะลุขึ้นหรือ ทะลุลงจะมีพอๆ กัน ดังนั้นจึงอาจจะทำให้เกิด reversal ได้เหมือนกัน สำหรับระยะที่จะเคลื่อนตัวต่อไป หลังจากที่ทะลุขึ้นไป ตามหลักเขาว่ามันจะขึ้นไปได้เป็นระยะเท่ากับฐานของรูปสามเหลี่ยมนั้น หรือจะวัดจากจุด apex ขึ้นไปเท่ากับระยะดังกล่าวก็ได้ นอกจากนี้ ยังมีอกวิธีที่นิยมใช้คือ ลากเส้นจากจุด c ให้ขนาน (parallel) กับเส้นที่ 2 ซึ่งเส้นดังกล่าวก็จะถูกใช้เป็น target อีกแนวเช่นกัน
การเคลื่อนไหวของราคมหุ้น SGF ที่ฟอร์มตัวเป็น symmetric triangle ในตัวอย่างที่ 4.1a ข้างล่างนี้ถ้าสังเกตให้ดีจากรูปอาจจะก่อให้เกิดคำถามที่ว่า การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น SGF ซึ่งมีบางส่วนที่หลุดเส้นขอบล้างของสามเหลี่ยมลงมา จะยังคงเป็นรูปนี้ได้อีกหรือ ? คำตอบต่อประเด็นตรงนี้คือ หากสังเกตให้ดีแล้ว จะพบว่า ราคมปิดของตัวมันนั้น สามารถวิ่งกลับเข้ามาอยู่ในกรอบได้ ดังนั้น จึงถือได้ว่าการฟอร์มตัวนี้ ยังคงรักษารูปร่างหน้าตาของ symmetric triangle ไว้ได้
.2. Ascending Triangle (รูปที่ 4.1b).
จะเห็นว่ามันมีส่วนคล้าย triple tops แต่มีข้อแตกต่างคือ ตอนที่มีการปรับตัวลงในช่วงการฟอร์มตัว ก้นบึ้งอันหลังจะอยู่สูงกว่าก้นบึ้งอันก่อนหน้าเช่น 3 สูงกว่า 2 สูงกว่า 1 (ในขณะที่ triple top นั้น ก้นบึ้งจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน) ดังนั้น ราคาน่าจะขยับตัวขึ้นต่อไปได้อีก ส่วนที่ว่าจะขยับตัวขึ้นไปได้มากน้อยเท่าไหร่ หลังจากที่ทะลุแนวต้านไปแล้วนั้น เขาว่ากันว่า ราคามันน่าจะขยับตัวขึ้นไปได้เป็นระยะทางเท่ากับหรือใกล้เคียงกับระยะทางที่วัดจาก จุด 1 ถึงแนวต้าน ดังนั้นพวกที่รอขาย ก็ควรจะเตรียมไป take profit กันที่ระดับนั้น แต่พอราคาปรับตัวลงมาก็จะเข้าไปช้อนรับได้ (ถ้ายังลงไปมากจนกระทั่งเปลี่ยนแนวโน้ม ในรูปแบบที่เราได้เรียนกันไปแล้วในบทที่ 3 ) ด้วยเหตุที่ว่าการปรับตัวนั้นเป็นการปรับตัวย่อยในแนวโน้มใหญ่ ซึ่งเป็น uptrend
ตัวอย่างที่ 4.1b และ 4.1bb แสดงให้เห็นถึงการเกิด ascending triangle ของ SET Index ใน 2 ช่วงเวลา ซึ่งทำให้ SET index คงแนวโน้มเดิมไว้ได้ กล่าวคือ ในช่วงก่อนที่จะเกิดการฟอร์มตัว ascending triangle นั้น SET Index ต่างก็เป็นการเคลื่อนตัวขึ้น ซึ่งหลักการฟอร์มตัวดังกล่าว SET index ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นได้อยู่
ในตัวอย่างที่ 4.1b นั้น ได้นำหลักการหาเป้าหมายราคา กรณีที่ราคาสามารถทะลุเส้นขอบจำกัดเชิงราบของสามเหลี่ยมขึ้นมาได้ มาประยุกต์ใช้ดู ซึ่งจะเห็นได้ว่า ที่แนวที่คาดการณ์ไว้ ราคาหุ้นมีการปรับตัวและแกว่งไปมาอยู่บ้าง ซึ่งหมายถึงย่อมจะมีการทำกำไรระยะสั้นออกมา อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีนี้ การทำกำไรระยะสั้นไม่สามารถหยุดยั้งความมุ่งมั่น หรือความแรงของ SET index ได้ดังจะเห็นได้จาก SET index ยังคงไต่ระดับขึ้นไปอย่างไม่หยุดยั้ง พวกที่รู้ตัวว่าขายของไปนั้นเป็นการเสียบของ ก็จะรีบกลับเข้ามาซื้อคืน เพื่อให้ตัวเองนั้นยังคงอยู่ในรถไฟขบวนนี้ต่อไป
.3. Descending Triangle (รูปที่ 4.1c).
รูปแบบมันจะมีส่วนคล้าย triple bottoms แต่ข้อแตกต่างคือยอดใหม่ในช่วงการฟอร์มตัวจะอยู่ต่ำกว่ายอดเดิมก่อนหน้า เช่น ยอด 3 อยู่ต่ำกว่ายอด 2 และ ยอด 2 อยู่ต่ำกว่ายอด 1 ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการพักตัว ก่อนที่จะปรับตัวลงต่อไป ในกรอบของ downtrend
ตัวอย่างที่ 4.1c แสดงถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น SCCC ในอดีต ที่มีการฟอร์มตัวเป็น descending triangle รวมถึงการหาเป้าหมายของราคาที่จะกลับเข้ามาช้อนซื้อ ซึ่งที่ระดับเป้าหมายของราคา ราคาหุ้นก็มีการยืนตัวถึงดีดตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านบางท่านอาจจะสงสัยว่า ในช่วงที่มีการฟอร์มตัวนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่หลุดกรอบแนวรับเชิงราบลงมา ซึ่งก็เห็นได้ว่าเป็นรูปแบบ downtrend ในช่วงนั้น อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นก็ได้มีการกลับเข้ามาอยู่ในกรอบการฟอร์มตัวอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะหลุดกรอบแนวรับเชิงราบลงมาอีกครั้ง ซึ่งค่อนข้างจะสมบูรณ์มากขึ้น หากนำหลักเกณฑ์ของ Fibonacci numbers มาใช้ (อย่าพึ่งงงครับ เรื่องนี้เราจะกล่าวกันต่อไปในบทของทฤษฎีคลื่นของ Elliott) จะเห็นได้ว่า การอ่อนแรงลงมาของราคาหุ้น ลงมาทดสอบแนวรับเชิงราบครั้งหลังนั้น อยู่ในช่วงระยะสองในสามของระยะจากฐาน (base) ถึงส่วนยอด (apex) ซึ่งถ้ายังไม่ดีดตัวขึ้น โอกาสที่จะหลุดแนวรับเชิงราบดังกล่าวลงมา จะยิ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้น ซึ่งราคาหุ้น SCCC ตอนนั้นก็หลุดลงมาจริงๆ ซะด้วย!