บทที่ 3

Saucer

เข้าสู่รูปแบบ saucer ต่อไปเลยก็แล้วกัน สิ่งที่จะทำให้ผู้อ่าน เข้าใจรูปแบบนี้ ก็ขอให้นึกถึงจานรองถ้วยกาแฟ (อันที่จริง saucer หมายถึงจานซุป ซึ่งก้นลึกกว่าจานธรรมดา แต่ไม่ลึกถึงขนาดที่จะกลายเป็นชาม) แล้วมันเกี่ยวกันอย่างไร? มันก็ไม่เกี่ยวกันโดยตรงหรอก เพียงแต่ว่ารูปแบบที่เกิดขึ้นนี้มีลักษณะคล้ายจานรองถ้วยกาแฟ เท่านั้นเอง

ลองดูรูปที่ 3.4a ก่อน พร้อมๆกับนึกถึงการเอาจานรองถ้วยกาแฟมาวางคว่ำ ทางด้านซ้ายของจานรองถ้วย เปรียบเสมือนการขยับตัวขึ้นของราคา ที่อัตราการขยับตัวเป็นไปอย่างลดน้อยถอยลง ส่วนก้นจานมีลักษณะแบนราบ ดังนั้น การเคลื่อนไหวของราคาในช่วงนี้ จะมีลักษณะเป็น sideway ส่วนทางขวามือของจาน จะเห็นว่ามีลักษณะโค้งลง เปรียบเสมือนการที่ราคามีการปรับตัวลง ดังนั้น saucer ในรูปแบบที่ 3.4a จึงเป็นรูปแบบในการเปลี่ยน trend จาก uptrend เป็น downtrend ไหนๆก็ดูกราฟแล้ว ก็ขออธิบายให้ชัดเจนมากขึ้นอีกหน่อยนะครับ จะเห็นได้ว่า ราคาได้มีการไต่ระดับขึ้นในช่วงก่อนหน้า และเมื่อเข้าสู่ช่วงการขยับตัวด้วยอัตราลดน้อยถอยลงถึง sideway ปรากฏว่า จำนวนหุ้นหรือวอลุ่มที่มีการซื้อขาย เริ่มไม่ยืนยันการขยับตัวขึ้นแล้ว แถมยังจะค่อยๆลดน้อยถอยลงถึง sideway ปรากฏว่า จำนวนหุ้นหรือวอลุ่มที่มีการซื้อขาย เริ่มไม่ยืนยันการขยับตัวขึ้นแล้ว แถมยังจะค่อยๆลดลงอีกในช่วงนั้น เริ่มให้สัญญาณที่ไม่ค่อยดีออกมาแล้ว พอมาถึงช่วงที่ราคาเริ่มมีการปรับตัวลง ปรากฏว่ามีการถล่มขายออกมามากมายเลย ดังจะเห็นได้จากจำนวนหุ้นจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ราคาหุ้นมีการปรับตัวลง

Saucer ในกรณีที่วางหงาย ก็คือวางในลักษณะที่ไปรองถ้วยกาแฟนั่นเองละครับ รูปแบบมันก็เป็นลักษณะโค้งหงาย (รูปที่ 3.4b) จะเห็นว่าทางด้านซ้ายมือ ราคาหุ้นจะมีการปรับตัวลง และจำนวนหุ้นที่ซื้อขาย ก็ค่อยๆลดลงตามเนื่องจากนักลงทุนเริ่มเห็นแล้วว่า ราคาที่อ่อนตัวลงไปนั้นค่อนข้างที่จะต่ำ ขายไปก็อาจจะต้องกลับมาซื้อในราคาที่สูงกว่าเดิม ส่วนช่วงก้นจาน แรงซื้อก็เริ่มที่จะเข้ามา จึงทำให้ราคามีการดีดตัวหวือหวาขึ้นมาบ้าง หลังจากนั้นก็มีการอ่อนตัวลงจากการทำกำไรระยะสั้น (take profit) ที่บอกว่าเป็นการทำกำไรระยะสั้น เพราะต้องการจะตุนของอีกครั้งก่อนที่จะไล่ราคาให้ขยับตัวขึ้นไป ซึ่งจะเห็นว่าช่วงที่มีการไล่กันจริงนั้น ราคาจะขยับตัวขึ้น พร้อมด้วยการยืนยันจากจำนวนหุ้นที่ซื้อขายมากขึ้น จนในที่สุด สามารถหลุดพ้นจากสภาพ sideway ขึ้นไปได้ และเคลื่อนตัวในเชิง uptrend ต่อไป ดังนั้น saucer แบบหงาย จึงเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยน trend จาก downtrend เป็น uptrend

จากตัวอย่างที่ 3.4a และ 3.4b จะเห็นได้ว่าเกิดแต่ละตัวอย่างนั้นใช้เวลาค่อนข้างนานพอควร กว่าจะฟื้นจากสภาพ downtrend ขึ้นมาเป็น uptrend นั้นใช้เวลากันอ่วมเลยเดียว ซึ่งจริงๆแล้วจะมีกี่คนที่ทนรอกันได้

เนื้อหาต่อไป : V-Shape

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : Double Tops and Double Bottoms