บทที่ 2
เส้นแนวโน้ม trend line
อย่างไรก็ตาม การลงมือทำการวิเคราะห์นั้น การทราบเพียงแค่รูปแบบข้างต้นนั้น อาจจะยังไม่เพียงพอ อาจจะยังไม่เพียงพอ ด้วยเหตุที่ว่า บางครั้งเราจำเป็นต้องกำหนดจุดซื้อ จุดขายขึ้นมา เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ซื้อเมื่อไร ? ขณะที่แนวโน้มเป็น Uptrend คำตอบที่หลายคนคงจะตอบกัน ก็คงเป็นว่า ซื้อตอนปรับตัวลง จะถามต่อไปว่า ปรับตัวลงขนาดไหนที่จะยอมรับได้ในเชิง Uptrend นั่นนะสิ ? หลักหรือวิธีการที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวก็คือ การใช้เส้นแนวโน้ม (trend line) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าสำหรับการวิเคราะห์ตามแนวโน้ม
จากข้างต้นที่เราได้แยกแนวโน้มออกเป็น 3 แบบ ดังนั้นเส้นแนวโน้มที่จะใช้จึงมี 3 ลักษณะตามไปด้วยคือ
1. Uptrend line หลักการก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรหรอก เพื่อให้สะดวกในการอธิบายให้ดูจากรูป 2.10 เลยดีกว่า กล่าวคือเริ่มแรกนั้น เราจะลากเส้นจากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 3 โดยปล่อยให้ส่วนปลายของเส้นเลยจดที่ 3 ไป (เดี๋ยวจะบอกว่าทำไม) เส้นนี้แหละที่เป็น uptrend line สำหรับการที่จะมีนัยสำคัญของเส้นนี้ หรือว่ากันง่ายๆ คือหนังเหนียวพอควรหรือไม่นั้น จะเริ่มวัดกันที่ หมายเลข 5 ซึ่งถ้าราคาสามารถดีดตัวขึ้นได้ที่หมายเลข 5 นั่นแหละ จะเป็นสิ่งที่ชี้ถึงการมีนัยสำคัญของ uptrend line ดังนั้น ถ้าหากราคามีการปรับตัวลงมาใกล้เส้นนี้อีกครั้ง ก็จะใช้ระดับที่คาดการณ์บนเส้นนี้ เป็นจุดที่ใช้ในการเข้าช้อนรับหุ้น อีก เช่น หมายเลข 7
Downtrend line หลักการจะกลับกับข้างต้น ในแง่ที่ว่า การลากเส้นจะใช้ยอดเก่ากับยอดใหม่เป็นจุดในการลากเส้น ดูรูปที่ 2.11 ดีกว่า คือเริ่มลากจากจุด 1 ไปจุดที่ 3 (ถ้าสังเกตจะพบว่า จุด 1และ 3 ในที่นี้จะเป็นจุดยอด ซึ่งต่างจากในกรณีของ uptrend ในรูป 2.10 ซึ่งจะเป็นจุดก้นบึ้ง) นั่นแหละเป็นข้อแตกต่างในการสร้าง trend line ในแง่ของ Uptrend และ Downtrend การวัดนัยสำคัญจะดูกันที่หมายเลข 5 ซึ่งถ้าราคาหุ้นไม่สามารถข้ามเส้น Downtrend line ขึ้นไปได้ และมีการปรับตัวลงตามมา เราจะเรียก Downtrend line เส้นนี้ว่ามีนัยสำคัญ ดังนั้น ถ้าหากว่าราคาขึ้นมาทดสอบเส้นนี้อีกครั้ง ณ จุด ที่ 7 ก็เป็นระดับที่คาดว่าจะมีแรงเทขายออกมา ซึ่งถ้าหากว่าจุดที่ 7 ยังไม่สามารถทะลุ Downtrend line ได้ ก็จะยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเส้น Downtrend มากยิ่งขึ้นไปอีก
นอกเหนือจาก trend line ที่กล่าวข้างต้น มีหลายครั้งที่จำเป็นต้องสร้างเส้นคู่ขนาน (parallel line ) ขึ้นมาด้วยเหตุผลที่ว่า มี หลายกรณี ที่ราคามีการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบของเส้นคู่ขนานอย่างเห็นได้ชัด (ดูรูป ที่ 2.12 ) จึงทำให้เกิดศัพท์ทางเทคนิคขึ้นมาอีกคำคือ channel (ในที่นี้จะเรียกว่า ท่อการไหลตัว) ไม่รู้ว่าจะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นหรือเปล่า? หลักการลากเส้นคู่ขนาน ก็ไม่ยุ่งยาก เลย จากรูปที่ 2.10 ก็ใช้จุดที่ 2 เป็นจุดเริ่ม และลากเส้นขนานกับ Uptrend line เช่นเดียวกับ
รูปที่ 2.11 ที่ใช้จุดที่ 2 เป็นจุดเริ่มลากเส้นขนานกับ Downtrend line ซึ่งเส้นดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นแนวต้านในรูปที่ 2.10 และ จะทำหน้าที่แนวรับสำหรับรูปที่ 2.11
3. Sideways คือการเคลื่อนไหวอย่างไม่มีทิศทาง คือไม่ขึ้นอย่างเด่นชัด และก็ไม่ลงอย่างเด่นชัด ดังนั้น trend line ใ นกรณีของ Sideways จะค่อนข้างเรียบราบขนานไปกับพื้น (flat ) และ channel ในกรณีของ Sideways ก็จะเป็นเหมือนท่อที่วางขนานกับพื้น ฟังแล้วงง! ดูจากรูปที่ 2.12 น่าที่จะหายมืนลงไปได้ หน่อย นึง เพราะจะเห็นได้ว่าการไหลตัวของราคาหรือดัชนีก็แล้วแต่ จะอยู่ภายใต้ท่าการไหลตัวที่วางตัวในแนวนอน ซึ่งการเคลื่อนไหวของราคา ตามท่อการไหลตัวไปข้างๆ ตามแนวนอนนี้แหละ เป็นที่มาของชื่อ Sideways
ตัวอย่างที่ 2.3 และ 2.4 เป็นเสมือนภาพนิ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยตัวอย่างที่ 2.3 นั้นเกิดขึ้นก่อน และจะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์ในการลากเส้นแนวโน้มขาขึ้น (uptrend ) และเส้นคู่ขนานขาขึ้น (parallel line ) ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ และ ณ ช่วงเวลาของตัวอย่างที่ 2.3 นั้น ราคาหุ้นกำลังขยับตัวขึ้นอยู่ และมีแนวโน้มที่อยากจะทดสอบแนวของเส้นคู่ขนานนี้เหลือเกิน
แล้วไงล่ะ! เมื่อมาถึงจุดที่ 4 ของตัวอย่างที่ 2.4 ซึ่งเป็น ณ ช่วงเวลาที่ถัดมาจากตัวอย่างที่ 2.3 สังเกตได้จากที่แกนนอนของกราฟตอนนี้มีถึงเดือนธันวาคม (ในขณะที่ตัวอย่างที่ 2.3 สิ้นสุดเพียงแค่เดือนกันยายน) ราคาหุ้นก็ได้มีการปรับตัวลง ดังนั้นผู้ลงทุนบางท่าน จึงใช้เส้นคู่ขนานเป็นจุดทำกำไรระยะสั้น หรือจุดขายหุ้นออก เพื่อทดสอบกำลังของหุ้น (ก็แล้วแต่เพื่อดูว่าหุ้นตัวนี้จะมีแรงพอที่จะข้ามแนวเส้นคู่ขนานนี้ขึ้นไปได้หรือไม่ ซึ่งตัวอย่างที่ 2.4 นี้ กำลังของหุ้นไม่พอที่จะข้ามเส้นคู่ขนานดังกล่าว จึงทำให้มีแรงขาย หรือระบายหุ้นออกมา อย่างไรก็ตาม อยากผากเตือนเอาไว้ว่า ในบางครั้งนั้นราคาหุ้นอาจจะมีกำลังมากพอที่จะข้ามแนวของเส้นคู่ขนานขึ้นไป จึงทำให้พวกที่เพิ่งลองทำกำไรระยะสั้น อาจจะต้องกลับเข้ามาเป็นผู้ซื้อ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของแนวต้านกลายเป็นแนวรับ ที่จะได้กล่าวเพิ่มเติมต่อไปในส่วนของเรื่องแนวรับแนวต้าน
ในตัวอย่างที่ 2.5 และ 2.6 นั้น ก็เป็นกรณีที่กลับกันกับตัวอย่างที่ 2.3และ 2.4 ของมันแน่อยู่แล้ว ก็ทำไมจะไม่ใช่ละ ในเมื่อตัวอย่างที่ 2.5และ 2.6 นั้นเป็นกรณีของขาลง( downtrend) แต่ตัวอย่างที่ 2.3 และ 2.4 เป็นขาขึ้น(uptrend ) แต่หลักเกณฑ์ ในส่วนของแนวโน้มขาลง รวมถึงเส้นคู่ขนานนั้น ยังคงใช้ได้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าบางท่านยังสงสัยว่าเส้นเหล่านี้มาจากไหน ลองพลิกกลับไปดูในส่วนของการสร้างแนวโน้ม และเส้นคู่ขนานอีกที หรือหลายๆ ทีก็ได้ เพื่อความชำนาญและแม่นยำในวิธีการ
สำหรับตัวอย่างที่ 2.7 จะเป็นตัวอย่างของ sideways chanel ซึ่งจะเห็นได้ว่า ราคาหุ้นนั้นมีการไหลเวียน หรือแกว่งตัวอยู่ในขอบจำกัดการแกว่งตัวขาขึ้น ( upper boundary) และขอบจำกัดของการแกว่งตัวลง (lower boundary)