บทที่ 2

ความชันและการดีดตัว Slope and Retracement

อย่าเพิ่งเหนื่อยเสียก่อนนะ เพราะนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของหนทางในการหาจังหวะเข้าออกจากหุ้น ซึงเป็นสิ่งที่ผู้อ่านต้องการอยากจะทราบแต่ต้น ไม่ใช่หรือ

เอาล่ะ แม้ว่าเราจะรู้ถึงแนวโน้มและการเปลี่ยนแนวโน้ม ตลอดจนสัญญาณซื้อขายเบื้องต้นแล้ว แต่การเถรตรงเกินไปก็อาจจะไม่ค่อยดีเท่าไร การพลิกแพลงนั้นเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์มากสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค เหตุที่กล่าวเช่นนี้ ก็เพื่อที่จะโยงไปสู่การปรับความลาดเอียงหรือ ภาษา ฝรั่งที่ เรียกกันว่า slope zz ของ trend line

จากรูปที่ 2.13a จะเห็น trend มีได้หลายเส้น และมีการปรับ trend ไปเป็นมุมต่างๆ ไม่ใช่ว่า trend จะมีอยู่เพียงเส้นเดียว จะลากอย่างอื่นไม่ได้ (แล้วก็ใช้กันเส้นเดียวตะพึดตะพือ) ส่วนหลักเกณฑ์ในการลากเส้นนั้น อาจจะมีหลากหลายวิธีแต่ที่นิยมเป็นส่วนใหญ่ ควรที่จะเข้าใจกฎของการปรับตัว หรือเรียกว่า retracement (เอาหลักที่สำคัญไว้แล้วกันนะ)

จากรูป 2.13b เขาบอกว่าเมื่อราคาได้ขึ้นมาถึงระดับหนึ่ง สมมติว่า 100 บาท แล้วก็มีการปรับตัวลง ระดับที่ราคาจะมีโอกาสดีดตัวกลับไปหาแนวโน้มเดิม น่าจะเกิดที่ บริเวณ 33%,50% หรือ 66% โดยประมาณ กล่าวคือ ถ้าราคาปรับตัวลงหลังจากที่ขึ้นมาได้ 100 บาท ก็น่าจะดีดตัวกลับขึ้นมาได้ หลังจากที่ลงไป 33 บาท (33%) แต่ถ้าลงมา 33 บาท แล้วยังคงลงต่อไปอีก แนวรับต่อไปก็คงจะลงไปได้ถึง 50 บาท (50%) ก็น่าจะดีดตัว (แต่นักวิเคราะห์ทางเทคนิคบางคน ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับระดับ 50% มากเท่ากับระดับ 33% และ 66% แต่ถ้า 50 บาทแล้วยังเอาไม่อยู่อีก ยังไงก็ไม่น่าจะเกิน 66 บาท (66%) เพราะถ้าเกินนี้ไป โอกาสที่แนวโน้มจะเปลี่ยน (จากแนวโน้มขึ้นเป็นแนวโน้มลง) ก็มีสูมากแล้วครับ เตรียมตัวเตรียมใจสำหรับการเปลี่ยนแนวโน้มไว้ได้เลย

กฎอันนี้ถูนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างspeed line (รูปที่ 2.14 ) ซึ่งก็เป็น trend line แบบหนึ่งนั่นเอง เพียงแต่ว่าเขามีกฎในการลากดังนี้ คือ เขาจะแบ่งความสูอออกเป็น 3 ส่วน จากจุดที่ราคาขณะนี้เคลื่อนตัวอยู่(1) กับฐาน (ซึ่งฐานนั้นก็เป็นระดับที่จุดเริ่มต้นวางตัวอยู่) ดังนั้นจะมีเส้น trend เกิดขึ้น 2เส้นจริงไหม เส้นหนึ่งแสดงระดับ 33% อีกเส้นหนึ่งแสดงระดับ 66% นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการปรับให้เกิดความเหมาะสมในการใช้ trend line

ตัวอย่างจริงๆ ของการปรับเส้นแนวโน้ม ก็มีให้เห็นนะครับ จากตัวอย่างที่ 2.8 เห็นได้ว่า เส้นแนวโน้มที่ลากนั้น ต่างมีความชัน (slope) ที่ลดหลั่นกันไป ตามแต่สถานการณ์ แต่สิ่งหนึ่งที่เล็งเห็นได้จากตัวอย่างก็คือ ทุกครั้งเมื่อราคาหุ้นได้มีการอ่อนตัวลงมาบนเส้นแนวรับจาก trend line อย่างน้อยมันก็มีการดีดตัวขึ้น หรือที่เรียกกันว่า rebound ให้เห็น ซึ่งบางคนอาจจะใช้เป็นช่วงจังหวะในการออกตัวจากตลาด โดยการระบายหุ้นตอนที่มีการดีดตัวขึ้น ซึ่งจะเหมาะกับกรณีที่แนวโน้มเป็น downtrend แต่ถ้าหากแนวโน้มเป็น uptrend หรือกำลังจะเปลี่ยนจาก downtrend เป็น uptrend ใครที่ออกจากตลาดก็อาจจะจ๋อยได้ เพราะเมื่อขายไปแล้ว หากราคาหุ้นเป็น uptrend คนที่เพิ่งขายไปก็มักจะร้องว่า ดูสิ! ถือมาตั้งนาน พอขายไป ราคาดันวิ่งขึ้นไปสูงกว่าที่ขาย ดังนั้น ในการขายควรพิจารณาให้ถูกจังหวะ

เนื้อหาต่อไป : ช่วงเวลา

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : เส้นแนวโน้ม trend line