บทที่ 14

การวิเคราะห์แผนภูมิ แบบแท่งเทียนเบื้องต้น

Introduction to Candlestick Charting

ความเป็นมา

วิธีการวิเคราะห์แผนภูมิแบบแท่งเทียนญี่ปุ่น ( Japanese Candlestick Charting ) เป็นวิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิควิธีหนึ่ง ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น และค่อยๆ แผ่อิทธิพลไปยังประเทศในกลุ่มตะวันตก (ญี่ปุ่นได้ดุลการค้าตามฟอร์มครับ) และเริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในเมืองไทยขณะนี้ ซึ่งวิธีดังกล่าวมีข้อดีในแง่ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลยาวมากนัก เหมาะสำหรับการอธิบายแนวโน้มสั้นๆ เนื่องจากรูปแบบต่างส่วนใหญ่ ประกอบด้วยข้อมูล เพียงไม่กี่วันเท่านั้น และสามารถนำมาใช้ประกอบกับวิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคของค่าย ตะวันตกแบบอื่นๆได้

แผนภูมิแบบแท่งเทียนนี่มีประวัติย้อนหลังมากกว่า 200 ปีเชียวนะครับ ว่ากันว่า คนที่เป็นต้นแบบของวิธีการวิเคราะห์แบบนี้คือ นาย Munehisa Homma แกเป็นลูกคนรวยย่ำปึ๊กทีเดียวล่ะครับ รวยจนเป็นที่กล่าวขวัญกันว่า ฝันอยากเป็นอะไรก็เป็น ฝันไปเหอะ แต่อย่าฝันว่าจะรวยแบบ ครอบครัว Homma เลย ยากส์

ความจริง Munehisa Homma นี่แกเป็นลูกคนสุดท้อง แต่ความที่เก่งกาจเหลือหลาย ก็เลยได้ควบคุมกิจการของที่บ้าน ในสมัยนั้น หนึ่งในกิจการของคนรวย ก็ไม่พ้น การค้าข้าวนี่แหละ ความที่กิจการของแกใหญ่โต ดังนั้น ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับราคาข้าวก็เป็นเรื่องจำเป็น แกเล่นเก็บข้อมูลย้อนหลังไปหลายสิบปีเชียวครับ แล้วก็เริ่มค้นคิดระบบที่จะวิเคราะห์จิตวิทยาของการซื้อขายและกำหนดราคาข้าวความจริงเทคนิค พวกนี้ก็ค่อนข้างจะเก็บกันเป็นความลับนะครับ (บอกได้ไง สูตรใครก็สูตรใครซี่) แต่ก็ยังดี ที่ในช่วงชีวิตของแกนี่ ยังอุตส่าห์เขียน หนังสือมา 2 เล่ม คือ Sakata Henso และ Soba Sani No Den ซึ่งกลายมาเป็นแบบแผน ที่พัฒนากันขึ้นมาจนกลายเป็น Candlestick Charting อย่างทุกวันนี้

ในบทนี้ เราจะพูดถึงวิธีการสร้างแผนภูมิแบบแท่งเทียน ตลอดจนความหมาย ของแท่งเทียนเบื้องต้น ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานให้สามารถเข้าใจรูปแบบที่ซับซ้อนได้ดียิ่งขึ้น

prev เนื้อหาต่อไป : การเขียนกราฟแบบแท่งเทียน
หน้าสารบัญ
เนื้อหาก่อนหน้า : วัฏจักรกับ Stochastic next