บทที่ 13
การรวมตัวของคลื่นวัฎจักรกับรูปแบบทางเทคนิค
ได้เวลาแสดงปาหี่แล้วครับ คนแรกที่เอาการรวมตัวของวัฎจักรมาอธิบายรูปแบบทางเทคนิคอย่างเป็นการ เห็นจะเป็นนาย John Ehler นี่ละครับ อันที่จริงแต่ละรูปแบบสามารถเลียนแบบโดยใช้คลื่นวัฎจักรได้หลายวิธี ที่จะแสดงนี้เป็นเพียงแค่แบบละวิธีเท่านั้น แต่ถ้าคุณเข้าใจดีพอ ก็จะสามารถเลียนแบบด้วยวิธีอื่นได้ด้วยตนเองครับ
.1. Head and Shoulders.
สามารถเลียนแบบได้จากการรวมตัวของ 3 คลื่น ดังแสดงไว้ในรูปที่ 13.4a และ 13.4b คือ คลื่นแรกมีคาบเวลายาวมาก (หรือพูดอีกอย่างว่ามีความถี่ต่ำมาก) จนกระทั่งดูเป็นเส้นตรงซึ่งเปรียบเสมือนแนวโน้มหลัก (trend) ซึ่งแสดงด้วยเส้นตรง 1 ในรูปที่ 13.4b คลื่นที่สอง เป็นวัฎจักรที่คาบเวลาปานกลาง (คลื่น 2 ในรูป 13.4b) และคลื่นที่ 3 (คลื่น 3 ในรูป 13.4b) เป็นวัฎจักรสั้นๆที่มีความสูงของคลื่นต่ำกว่าของคลื่นที่สอง และมีความถี่สูงเป็น 6 เท่าของคลื่นที่ 2 โดยที่คลื่นที่ 3 นี้จะถึงจุดสูงสุด ณ เวลาเดียวกับคลื่นที่สองถึงจุดสูงสุดด้วย เมื่อเรารวมเข้าด้วยกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นรูป Head and Shoulders ที่มี neck line ซึ่งมีความชันเป็นบวก (positive slope neck line) อันที่จริงถ้าเราตัดเองแนวโน้มหลักออกไป ก็จะได้รูป Head and Shoulders แบบมาตรฐาน ซึ่งมี neck line ขนานกับแนวระนาบ
.2. Double Top.
ง่ายมากครับ เราแค่ shift คลื่นที 3 กลับไป 5 วัน (อันที่จริงจำนวนวันที่จะต้อง shift กลับนี่ ขึ้นอยู่กับความชันของเส้นแนวโน้มหลัก และรูปแบบของคลื่นที่ 2 นะครับ ไม่ใช่ว่า 5 วันจะใช้ได้เสมอไป) ซึ่งแสดงเป็นคลื่นที่ 4 ในรูปที่ 13.4b แล้วเรารวมเอา แนวโน้มหลัก (1) เข้ากับ คลื่น (2) และ คลื่น (4) ก็จะได้รูป double top ตามที่ต้องการดังแสดงไว้ในรูป 13.4c
.3. รูปแบบประเภท continuous pattern.
เช่น flag, pennant, triangle สามารถเลียนแบบได้จากคลื่นวัฎจักร 1 หรือ 2 ลูก กับคลื่นประเภท modulated standing wave ผลที่ได้คือ รูปแบบ continuous pattern ที่สมบูรณ์ กล่าวคือ หลังจากที่ consolidate แล้วก็วิ่งต่อไปตามแนวโน้มเดิม แบบที่นักวิเคราะห์ทางเทคนิคว่ากันไว้ครับ
แต่ในรูปแบบที่ 13.6 เกิดจากคลื่นที่วัฎจักรที่มีความถึ่น้อยหน่อย 1 อัน กับ modulated standing wave โดยที่แนวโน้มหลักมีแรงหนุนอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับตัววัฎจักร ในกรณีนี้จะตรงกันข้ามคือ จะเกิดการปรับตัวหลังจากที่มี consolidation ครับ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า pattern เหล่านี้ ความจริงแล้วมันขึ้นอยู่กับว่า คลื่นหลักของมันเป็นยังไง ถ้าเรารู้ว่าคลื่นหลักของมันเป็นยังไงแล้ว เราก็จะสามารถบอกได้ง่ายขึ้นมากว่า หลังจากที่ตลาด consolidate แล้วจะวิ่งต่อไปทางไหน
.4. รูปแบบประเภท Elliott Wave.
คนแรกที่แสดงการจำลองคลื่น Elliott โดยใช้คลื่นวัฎจักร เห็นจะเป็นนาย John Ehler แกบอกว่าคลื่นแบบ Elliott สามารถจำลองได้จาก sine wave 3 คลื่น โดยที่คลื่นที่ 2 เป็น negative sine wave ที่มีความสูงของคลื่นเป็นครึ่งหนึ่ง แต่มีความถี่เป็น 2 เท่าของลูกแรก และคลื่นที่ 3 เป็น positive sine wave ที่มีความสูง 1 ใน 3 เท่า และมีความถี่เป็น 3 เท่าของลูกแรก ดังแสดงไว้ในรูปที่ 13.7
อย่างไรก็ดี รูปแบบที่ John Ehler เสนอนี้ ก็ยังไม่ถึงกับเป็นรูปแบบคลื่น Elliott แท้ๆ เพราะมีแค่ 5 ขาขึ้น แต่ขาลงจะมีเพียงคลื่นเดียว ก็อย่างที่เรียนไว้ตั้งแต่ต้นนะครับ รูปแบบไหนๆอันที่จริงก็เลียนแบบได้ด้วยคลื่นวัฎจักรทั้งนั้น เพียงแต่ว่าถ้าจะให้เหมือนจริงๆ รูปแบบคลื่นวัฎจักรก็ต้องมีมากคลื่นและซับซ้อนขึ้น รูปที่ 13.8 แสดงคลื่นวัฎจักร 6 คลื่น ซึ่งเมื่อประกอบกับแนวโน้มหลักแล้ว จะได้รูปแบบคลื่น Elliott ที่มี 5 คลื่นขึ้น (1-5) และ 3 คลื่นลง (a-c) ตามทฤษฎีเป๊ะ เพียงแต่ว่ามันซับซ้อนมาก เลยไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดแล้วกันนะครับ