บทที่ 12

Geometric Angles

เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องอื่นใด นอกจากเป็นเรื่องของมุม ที่เราๆท่านๆเคยว่ากันในวิชาเรขาคณิต อย่างไรก็ตาม Gann เขาก็มีมุมของเขาเองด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรกับมุมทางเรขาคณิต เราลองมาดูกันดังนี้

.Gann กับ Geometric Angles.

เนื่องจากการพิจารณาของ Gann ได้เกี่ยวพันกับ 2 ตัวแปรที่ได้กล่าวข้างต้นมาแล้ว คือ ราคา (P) และ เวลา (T) ดังนั้น เมื่อ Gann จะลากเส้นตรงเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ของเขา เขาจะพิจารณามุมของเส้นตรงเหล่านั้น ตามความสัมพันธ์ระหว่างราคาและเวลา ซึ่งบรรดามุมที่เกิดจากความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรทั้ง 2 นี้ มีชื่อเรียกว่า Gann Angles และเมื่อพิจารณาจากกราฟทั่วๆไป แกนตั้งนั้นเป็นแกนของราคา ในขณะที่แกนนอนนั้นเป็นเวลา ดังนั้น มุมของ Gann จึงเท่ากับ P x T หรือจะเป็น T x P ก็ได้ แล้วแต่ว่าจะนับเวลาหรือราคาก่อนกันเท่านั้นเอง ซึ่งแตกต่างจาก Geometric Angles ที่มีหน่วยเป็นองศา ตัวอย่างของ Gann Angles เช่น (P x T) คือ 1 x 1 หมายถึง ราคาขยับตัวไปหนึ่งหน่วยในช่วงหนึ่งหน่วยเวลา แต่ถ้า P x T เป็น 2 x 1 จะหมายถึง ราคาขยับตัวไปสองหน่วยในช่วงหนึ่งหน่วยเวลา เป็นต้น

Gann Angles กับ Geometric Angles เหมือนกันตรงไหน? เหมือนกันตอนที่ Gann Angles ถูกแปลงมาอยู่ในรูป Geometric Angles หรือพูดง่ายๆก็คือ P x T ถูกแปลงมาเป็นองศานั่นเอง คำถามที่ตามมาคือ จำเป็นไหม? เมื่อ P x T ที่เท่ากัน เช่น 1 x 1 เมื่อแปลงมาเป็นองศาแล้ว จะต้องมีมุมองศาที่เท่ากัน? ไม่จำเป็นหรอกครับ เพราะขึ้นอยู่กับว่า scale ที่ใช้ในการสร้าง P x T ครับ เพราะกรณีที่ scale เป็นจัตุรส มุม 1 x 1 เมื่อแปลงเป็นมุมทางเรขาคณิตแล้วจะเท่ากับ 45 องศา แต่ถ้าหากว่า scale ไม่เป็นจัตุรัส มุม 1 x 1 เมื่อแปลงเป็นมุมทางเรขาคณิตแล้วอาจจะเท่ากับกี่องศาก็ได้ครับ

ลองดูกรณีการเปรียบเทียบข้างล่างนี้สิครับ น่าจะช่วยเพิ่มความเข้าใจให้มากขึ้น ว่าทำไม scale จึงมีผลทำให้ Gann Angles ในรูปของ Geometric Angles ไม่เท่ากัน

กรณี 1 : กำหนดให้หนึ่งหน่วยของราคา และหนึ่งหน่วยของเวลา มีขนาดเท่ากับ 1 นิ้ว

มุม

P x T

องศา

A

B

C

D

1x2

1x1

2x1

4x1

26.5

45

63.5

75

กรณี 2 : กำหนดให้หนึ่งหน่วยเวลาเท่ากับ 1 นิ้ว ขณะที่หนึ่งหน่วยของราคาเท่ากับ 1.25 นิ้ว

มุม

P x T

องศา

A

B

C

D

1x2

1x1

2x1

4x1

32

51

68

79

คำถามที่ตามมาซึ่งท่านผู้อ่านอยากจะทราบคำตอบก็คือ ตำแหน่งหรือจุดไหนในกราฟ ที่จะถูกใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการวัดมุม ก้อ..ไม่ใช่จุดอะไรอื่นไกลหรอกครับ แต่เป็นจุดยอด (tops) หรือก้นบึ้ง (bottom) ที่มีนัยสำคัญเท่านั้นเอง ซึ่งการตัดกันของเส้นตรงที่มีความชันตาม Gann Angles เหล่านี้นั้นเอง ที่เป็นจุดกำหนดตำแหน่งของเวลา และระดับราคา ที่จะเกิดปฏิกิริยาในทิศทางตรงข้ามครับ

นอกจากจะให้ตำแหน่งของเวลา และระดับราคาแล้ว เส้นตรงที่มีมุมตาม Gann Angles ยังทำหน้าที่เป็นแนวรับแนวต้านได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ราคาขยับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดที่มีนัยสำคัญ โดยเคลื่อนตัวอยู่เหนือเส้น 1 x 1 นี้ เป็นแนวหนุนไปตราบเท่าที่ราคายังไม่หลุดเส้น 1 x 1 ลงมา ในทางกลับกัน หากราคาหลุดเส้น 1 x 1 ลงมา เส้นนี้ก็จะกลายเป็นแนวต้านไปโดยปริยาย โดยมีเส้นที่ทำมุม 26.5 องศา เป็นแนวหนุนใหม่ทดแทน ก่อนที่จะถึงปราการด่านสุดท้ายจากเส้นตรงทำมุม 14 องศา ซึ่งว่ากันว่า ถ้าหลุดเส้น 14 องศาลงมา ก็เป็นการเปลี่ยนแนวโน้ม เป็นขาลงแล้ว

นอกจากนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะใช้มุมของ Gann มาช่วยในการพิจารณาการเปลี่ยนความเร็วในการเคลื่อนตัวก็ได้ เช่น เดิมทีราคาอาจเคลื่อนตัวทำมุม 45 องศา (สมมติให้ scale เป็นจัตุรัส) ต่อมาราคาอาจจะขยับตัว หรือเปลี่ยนความชันไปเป็นมุมที่สูงขึ้น เช่น 63.5 องศา หรือ 75 องศา ภายใต้ช่วงเวลาที่เท่ากัน ซึ่งเท่ากับว่าความเร็วในการขยับตัวเพิ่มสูงขึ้น

แต่ในทัศนะของ Gann เห็นว่า ในบรรดาเส้นเหล่านี้ มุม 45 องศา (กรณี scale เป็นจัตุรัส) มีนัยสำคัญมากที่สุด เพระเป็นเส้นที่แสดงถึงความสมดุลระหว่างราคา และเวลา โดยที่กรณี uptrend เส้นนี้จะลากขึ้นไปทางขวามือจากจุดต่ำสุด ส่วนกรณี downtrend เส้นนี้จะลากลงไปทางขวามือจากจุดสูงสุด ดังนั้น ความเป็นตลาดกระทิง (bull market) จะยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่ราคาอยู่เหนือเส้น 45 องศาขึ้น ในขณะที่ตลาดหมีจะครอบคลุมการเคลื่อนไหวของราคา ตราบเท่าที่ราคาอยู่ใต้เส้น 45 องศาขาลง

เนื้อหาต่อไป : Gann’s 50% Retracement Rule

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : เวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงทิศทาง