บทที่ 11

รูปแบบคลื่นปรับตัว

ตอนนี้จะมาว่ากันถึงเรื่องรูปแบบของคลื่นปรับตัว อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเข้าไปอธิบายในรายละเอียด ควรที่จะเข้าใจก่อนว่า แนวโน้มที่แท้จริงในตลาดนั้นเป็นอย่างไร? เพราะเมื่อทราบถึงแนวโน้มที่แท้จริงแล้ว ก็ง่ายที่จะรู้ว่า คลื่นไหนเป็นคลื่นปรับตัว เพราะความหมายคลื่นปรับตัว ก็คือ คลื่นที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่สวนทาง (against) กับแนวโน้มจริง

- กรณีที่แนวโน้มเดิมเป็นขาขึ้น (uptrend) หรือ เป็นภาวะตลาดกระทิง (bull market) คลื่นปรับตัวจะมีลักษณะพื้นฐานดังรูปที่ 11.8

- กรณีที่แนวโน้มเดิมเป็นขาลง (downtrend) หรือ เป็นภาวะตลาดหมี (bear market) คลื่นปรับตัวจะมีลักษณะพื้นฐานดังรูปที่ 11.9

จะเห็นได้ว่า โดยปกติจะประกอบด้วยระลอกคลื่น 3 ระลอก เช่น a, b และ c ตามลำดับ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้น มีรูปแบบอยู่มากมายที่เกิดขึ้นในคลื่นปรับตัวนี้ โดยสามารถแยกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบอย่างง่าย และรูปแบบซับซ้อน

1. รูปแบบการปรับตัวอย่างง่าย

1.1. รูปแบบซิกแซก Zigzags

จากรูปเห็นได้ว่ารูปแบบซิกแซก จะประกอบด้วย 3 ลูกคลื่น คือ a, b และ c อย่างไรก็ตามในแต่ละคลื่น ก็มีการต่อตัวเกิดขึ้น จึงทำให้ลูกคลื่นแบ่งย่อยออกไป โดยคลื่น a จะมีคลื่นย่อย 5 ลูก คลื่น b มีคลื่นย่อย 3 ลูก และคลื่น c มีคลื่นย่อย 5 ลูก ทำให้เกิดรหัส 5-3-5 ขึ้น ซึ่งเป็นที่รู้จักสำหรับผู้ที่ใช้ wave เป็นเครื่องมือในการศึกษาหุ้นนอกจากนี้ การเกิดรูป Zigzags ใน bull market จะพบว่า ปลายยอดของคลื่น b อยู่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น a ขณะที่ปลายคลื่น c อยู่ต่ำกว่าปลายคลื่น a แต่สำหรับ bear market ปลายคลื่น b ยังคงอยู่เหนือจุดเริ่มต้นของคลื่น a ขณะที่ปลายคลื่น c อยู่เหนือปลายคลื่น a

1.2. Flats

การฟอร์มตัวรูป Flats มีข้อแตกต่างจากรูปแบบ Zigzags ตรงที่ลูกคลื่นย่อยของ Flats มีรหัสเป็น 3-3-5 ซึ่งในกรณีของ bull market ลูกคลื่น a มีการปรับตัวลงเพียงแค่ 3 ลูก แทนที่จะเป็น 5 ลูกอย่างซิกแซก จึงเท่ากับเป็นการบ่งชี้ทางอ้อมถึงพละกำลังของตลาด ว่ายังดูดีกว่ากรณีซิกแซก ทำให้มีการรีบดีดตัวขึ้นมาเป็นลูกคลื่น b และด้วยพละกำลังที่ดีกว่าในเชิงเปรียบเทียบกับซิกแซก ทำให้คลื่น b นั้น สามารถขึ้นไปได้ถึงจุดเริ่มต้นของคลื่น a ก่อนที่จะเกิดคลื่น c ตามมาโดยปลายของคลื่น c จะลงมาอยู่ระดับเดียวกับปลายคลื่น a ส่วนกรณีตลาด bear market จะเห็นว่า คลื่น a นั้นขาดพละกำลัง เมื่อเทียบกับรูปแบบของซิกแซก คลื่น b จึงเกิดขึ้นได้ง่ายกว่ากรณีของซิกแซก และสามารถลงมาได้ลึกถึงจุดเริ่มต้นคลื่น a ก่อนที่จะเกิดคลื่น c ตามมา โดยที่ปลายคลื่น c จะอยู่ระดับเดียวกับปลายคลื่น a

1.3. Irregulars

สามารถแยกออกได้เป็น 2 รูปแบบดังนี้ คือ Irregulars แบบที่ 1 และ แบบที่ 2 ดังแสดงในรูปที่ 11.12 และ 11.13 ตามลำดับ ลักษณะคลื่นที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงความผิดปกติเทียบกับ 2 รูปแบบที่ผ่านมา เห็นจะได้แก่ คลื่น b และ c อย่างไรก็ตาม สำหรับความแตกต่างระหว่าง Irregulars แบบที่ 1 และ 2 หากพิจารณาจากรูปแบบ จะพบว่า ถ้าเป็นกรณี Irregulars แบบที่ 1 ใน bull market ปลายคลื่น b จะทะลุจุดเริ่มต้นของคลื่น a ขึ้นไป ขณะที่ปลายคลื่น c ก็จะทะลุปลายคลื่น a ลงมา แต่ถ้าเป็นตลาด bear market ปลายคลื่น b จะทะลุจุดเริ่มต้นของคลื่น a ลงมา ขณะที่ปลายคลื่น c จะทะลุปลายคลื่น a ขึ้นไป ส่วนกรณี Irregulars แบบที่ 2 ในตลาด bull market ปลายคลื่น b จะอยู่ที่บริเวณจุดเริ่มต้นของคลื่น a ส่วนปลายคลื่น c กลับไม่ถึงปลายคลื่น a จะลงมาถึงบริเวณจุดเริ่มต้นของคลื่น a แต่คลื่น c กลับขึ้นไปไม่ถึงปลายคลื่น a

1.4. Triangles

แบ่งออกเป็นอีกหลายรูปแบบ คือ

.Ascending Triangles.

ลักษณะของคลื่นปรับตัวนี้ จะเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มียอด (tops) ทั้งหลาย อยู่ในแนวเดียวกันอย่างเป็นระเบียบ ในขณะที่ บรรดาก้นบึ้ง (bottoms) จะค่อยๆอยู่สูงขึ้นไป หรือพูดอีกอย่างก็คือ จุดต่ำสุดอันหลังจะอยู่สูงกว่าจุดต่ำสุดก่อนหน้า

.Descending Triangle.

ลักษณะของรูปสามเหลี่ยมชนิดนี้ บรรดายอด (tops) ที่ปรากฏ จะค่อยๆลดหลั่นกันลงไป ในขณะที่บรรดาก้นบึ้ง (bottoms) จะอยู่ในแนวเดียวกันอย่างเป็นระเบียบ อย่างไรก็ตาม หาดสังเกตให้ดีรูป Descending Triangle ก็คือรูป Ascending Triangle ที่พลิกกลับลงมานั่นเอง

.Symmetrical Triangle.

ลักษณะของรูปสามเหลี่ยมนี้ บรรดายอด (tops) จะมีลักษณะการลดหลั่นกันลงไป ขณะที่บรรดาจุดต่ำสุดทั้งหลาย จะค่อยๆสูงขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า จุดต่ำสุดอันหลังจะอยู่สูงกว่าจุดต่ำสุดอันก่อนหน้า

.Expanding Triangle.

ลักษณะของสามเหลี่ยมรูปนี้ จะสวนทางกลับกับรูป Symmetrical Triangle ข้างต้นกล่าวคือ แทนที่ยอดจะลดหลั่นกันลงมา กลับจะค่อยๆสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ก้นบึ้งหรือจุดต่ำสุด จะอยู่ต่ำลงมาเรื่อยๆ

2. รูปแบบซับซ้อน

2.1. Double Threes

รูปแบบนี้แท้ที่จริง ก็เป็นการนำรูปแบบพื้นฐาน 2 รูปแบบมาผูกต่อกันนั่นเอง โดยใช้ข้อต่อ (x) เข้ามาเป็นตัวเชื่อม

2.2. Triple Threes

เป็นการนำข้อต่อ x มาต่อเพิ่มขึ้นอีกตัว โดยต่อเข้ากับ Double-Threes จึงทำให้เกิดความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

เนื้อหาต่อไป : เป้าหมายเวลา (Time-gold days)

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : การต่อตัว (extension)