บทที่ 11
เป้าหมายเวลา (Time-gold days)
มาถึงตรงจุดนี้ ท่านผู้อ่านยังคงจำได้ถึงสิ่งที่เรียกว่า Golden Section (ถ้ายังไม่แน่ใจ ลองพลิกกลับไปดูในส่วนของตัวเลข Fibonacci) ซึ่งสิ่งนี้ สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ ในการคำนวณหาเป้าหมายเวลา (Time-gold days) ที่ราคาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทาง โดยผ่านระบบที่เรียกว่า Golden Section Compass system (GSC system) ซึ่งกล่าวไว้ว่าทิศทางใหม่ของราคาจะเริ่มขึ้น เมื่อเวลาทีคำนวณได้มาถึง (หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย)
การคำนวณเวลานั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแต่เป็นการดึงเอาตัวเลข 1.618 ขึ้นมาใช้ตามสูตรข้างล่างนี้
Tk = 1.618 x (C - Li-1) + Li
Tk+1 = 1.618 x (Hi - Hi-1) + Hi
โดยที่
Li คือ วันที่เกิดจุดต่ำสุดลำดับที่ i
Li-1 คือ วันที่เกิดจุดต่ำสุดลำดับที่ i-1
Hi คือ วันที่เกิดจุดสูงสุดลำดับที่ i
Hi-1 คือ วันที่เกิดจุดสูงสุดลำดับที่ i-1
และมีเงื่อนไขเพิ่มเติม คือ
Li ต้องเกิดขึ้นก่อน Hi
Li-1 ต้องเกิดขึ้นก่อน Hi-1
รูปที่ 11.20 จะทำให้เห็นภาพการคำนวณเวลาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น Time-gold days ที่คาดการณ์ไว้ที่ T5 ถูกคำนวณจากจุดต่ำสุดที่ 3 (L3) และ 4 (L4) อย่างไรก็ตาม ความมีนัยสำคัญจะมีมากขึ้นต่อเมื่อมี Time-gold day จากการคาดการณ์เกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้ง ณ จุดเวลานั้นๆ หรือบรรดาจุดสูงสุด หรือต่ำสุดที่ใช้ในการคำนวณเป้าหมายเวลา มีนัยสำคัญ ก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม
ตัวอย่าง 11.3 ข้างล่างนี้ ได้นำหลักของ Time-gold day มาใช้ในการคำนวณเวลาที่ SET index จะมีการดีดตัวขึ้น ซึ่งจากตัวอย่างได้ให้ Time-gold days ที่ SET index จะมีการดีดตัวขึ้น (expected) ณ เวลาเดียวกับที่ SET index มีการดีดตัวขึ้นจริง (L3) อย่างไรก็ตาม อยากจะฝากข้อเตือนใจไว้สักนิดว่า หลักการนี้ไม่สามารถที่จะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องทุกกรณี เพราะมีบางกรณีที่ผู้เขียนลองทำแล้ว ก็ไม่ตรงกับของจริง แต่ที่ให้ไว้ ก็เพื่อความสมบูรณ์ในเนื้อหา และเป็นลูกเล่นหรือเครื่องมือเสริมความเชื่อมั่นในบางกรณี เมื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือการวิเคราะห์อื่นๆ