บทที่ 11

รูปแบบพื้นฐาน Elliott Wave

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า Elliott ได้ใช้ตัวเลข Fibonacci ในการสร้างรูปแบบของคลื่น ซึ่งในวัฏจักรหรือวงจรรอบหนึ่ง โดยปกติจะประกอบด้วย 8 ลูกคลืน แยกเป็นกลุ่มคลื่นในการกระตุ้น 5 ลูกคลื่น และกลุ่มเคลื่นในการปรับตัว 3 ลูกคลื่น (รูปที่ 11.2) อย่างไรก็ตาม จากลำดับตัวเลข Fibonacci จะเห็นได้ว่าไม่จำเป็นที่ในหนึ่งวงจร จะประกอบด้วยลูกคลื่นเพียงแค่ 8 ลูกคลื่น กล่าวคือ สามารถที่จะขยายหรือแตกตัวออกไปได้อีกมากมาย โดยอิงอยู่กับหลักการของตัวเลขดังกล่าว

รูปที่ 11.2 ถือได้ว่าเป็นรูปแบบพื้นฐานที่ Elliott ใช้เป็นหลักในการอธิบาย ซึ่งคลื่นกระตุ้น ( Impulse Wave) เราจะใช้ตัวเลขกำกับเป็น 1,2,3,4, และ5 เรียกว่า Lettered Phase ในขณะที่คลื่นปรับตัว(Correction Wave) เราจะใช้ตัวอักษร a,b,และ c กำกับ เรียกว่า Numbered Phase ซึ่งคลื่นทั้งหมดนี้ อาจจะเป็นเพียงคลื่นลูกย่อยของคลื่นที่ใหญ่กว่า ดังแสดงในรูปที่ 11.3

สังเกตให้ดีกว่า ในรูปที่ 11.3 นั้น ในคลื่นลูกใหญ่ทั้งหมดประกอบด้วยคลื่นขาขึ้น ซึ่งเป็น Impulse Wave 5 คลื่น ตามที่เราเขียนไว้ด้วยตัวเลข (1),(2),(3),(4), และ(5) และคลื่นขาลง ซึ่งเป็นคลื่นปรับตัว 3 คลื่น คือ (a),(b ),(c ) ในแต่ละคลื่นก็ประกอบด้วย Impulse Wave 5 คลื่น และ Correction Wave 3คลื่น ซึ่งเขียนเป็น 1,2,3,4, 5 และ a,b, c แต่ทั้งหมดที่เราเห็นในรูปที่ 11.3 นี้ บางทีอาจจะเป็นแค่คลื่นลูกที่ 1 และ 2 ของวัฎจักรอีกอันหนึ่งซึ่งใหญ่กว่า ซึ่งถ้าเราขยายออกมาดูอีก ก็จะเห็นเป็นวัฎจักรขนาดใหญ่ ดังรูปที่ 11.4

ทีนี้ ถ้าเราลองนับจำนวนคลื่นขาขึ้นกับขาลง ทั้งวัฎจักรใหญ่และเล็ก จะพบว่าเป็นตัวเลขฟิโบนาซี่ล้วนๆ เลยทีเดียว กล่าวคือ ในวัฎจักรอันใหญ่สุด ประกอบด้วยคลื่นขาขึ้น 1 อัน และคลื่นขาลง 1 อัน (รวมกันเป็น 2 อัน) ในคลื่นขาขึ้นของวัฎจักรอันใหญ่ที่สุด ก็ประกอบด้วย 5 คลื่นกระตุ้น และในแต่ละคลื่นกระตุ้นทั้ง 5 จะประกอบด้วยคลื่นย่อยจำนวน 5+3+5+3+5= 21 คลื่น และในคลื่นย่อยๆ เหล่านี้ยังประกอบด้วยคลื่นย่อยอีก 89 คลื่น (นับเองและกันนะครับ) สำหรับคลื่นขาลงของวัฎจักรอันใหญ่สุด ก็ประกอบด้วยคลื่นปรับตัว 3 คลื่น ซึ่งในแต่ละคลื่นปรับตัวนี้ ก็จะประกอบด้วยคลื่นย่อยอีก 5+3+5=13 คลื่น และในคลื่นย่อยนี้ก็จะแบ่งได้อีก 55 คลื่น ตัวเลขทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็น 1,1,3,5,13,21,55,88 ล้วนแต่เป็นตัวเลขฟิโบนาซี่ทั้งนั้ครับ

เนื้อหาต่อไป : พฤติกรรมและความหมายของแต่ละคลื่น

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : ทฤษฎีคลื่นของอีเลียต Elliott Wave Theory