บทที่ 11

ทฤษฎีคลื่นของอีเลียต Elliott Wave Theory

Elliott Wave Theory ซึ่งนาย R.N. Elliott เป็นผู้ที่คิดค้นขึ้นนั้น จริงๆแล้วเป็นการศึกษาพฤติกรรมในการลงทุนของมวลชนโดยอิงหลักการของคณิตศาสตร์ตลอดจนแผนภาพราคาเข้ามาประยุกต์ใช้ในการศึกษาอย่างไรก็ตาม เป็นที่เข้าใจกันว่า Elliott ไม่นิยมที่จะใช้หลักการของเขา ในการประยุกต์กับหุ้นรายตัว ด้วยเหตุที่หุ้นรายตัวนั้น อาจจะไม่สามารถสะท้อนพฤติกรรมที่ควรจะเป็น หรืออีกนัยหนึ่งคือ การบิดเบือนรูปแบบเกิดขึ้นได้ง่าย

ในทัศนะของ Elliott เขามีความเห็นว่า การกระทำ (action ) จะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา (reaction) ดังนั้น การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจากแรงผลักดัน จะถูกโต้กลับในทิศทางตรงกันข้าม หรือเกิดการปรับตัวตามมา ซึ่งแนวคิดนี้เองจึงเป็นจุดกำเนิดรูปแบบระลอกคลื่น โดยรูปแบบระลอกคลื่นที่ Elliott วางไว้นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของตัวเลขฟิโบนาซี่

จากตัวเลขของ fibonacci numbers นี้เอง Elliott เห็นว่า เป็นตัวกำหนดการเคลื่อนไหวของคลื่น แต่การพูดถึงเรื่องคลื่นนี้ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น สิ่งที่ไม่ควรจะมองข้ามไปในตอนนี้ คงเป็นเรื่องของวงจรเวลาที่แต่ละลูกคลื่นจะเกิดขึ้น ซึ่งบางลูกกว่าจะครบวงจรก็กินเวลานานมาก ขณะที่บางลูกนั้น ก็ค่อนข้างเร็ว ดังนั้น จึงควรที่จะมาทำความเข้าใจกันไว้ก่อน

การแบ่งวงจรอาจเริ่มด้วยวงจรใหญ่สุด ซึ่งเรียกว่า Grand Super-cycle หรือเป็นคลื่นวัฎจักรลูกใหญ่ที่สุด และค่อยๆ ย่อยลงมาจนถึง Sub-Minuette ซึ่งเป็นคลื่นลูกย่อยที่สุด ดังแสดงใน รูปที่ 11.1

เนื้อหาต่อไป : รูปแบบพื้นฐาน Elliott Wave

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : ตัวอย่างจากของจริง