บทที่ 10

สัดส่วนทองคำกับสถาปัตยกรรมและธรรมชาติ (Golden Ratio)

สัดส่วนทองคำนี้ ไม่ใช่เพิ่งมารู้จักกันในสมัยของฟิโบนาชี่นำครับ อันที่จริงคนเราค้นพบสัดส่วนทองคำนี้มาตั้งนานแล้ว พวกกรีกโบราณเรียกตัวเลขนี้ว่า ค่าเฉลี่ยทองคำ (Golden Mean) และใช้สัญลักษณ์ ɸ หรือที่เรียกว่า “ฟี” (Phi) เป็นตัวแทนสัดส่วน 1.618 นี้แหละครับ เพลโต้ปรัชญาเมธีชาวกรีก เขียนไว้ในหนังสือ Timaeus ของเขาว่า สัดส่วน Phi นี้เป็นเสมือนตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณิตศาสตร์ทั้งมวล และเป็นกุญแจสำคัญของฟิสิกส์ว่าด้วยเอกภพและจักรวาลนั่นเชียวครับ โครงสร้างของวิหารพาเธนอน (Parthenon) ของกรีก ตลอดจนปิรามิดแห่งเมืองกิซ่าของอียิปต์ ก็ถูกสร้างขึ้นมา โดยใช้สัดส่วนทองคำนี่แหละครับ

เราจะสามารถเห็นสัดส่วนทองคำนี้ได้ในธรรมชาติทั่วไป เพียงแต่เราไม่ได้สังเกตเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ร่างกายของคนเราก็เป็นไปตามสัดส่วนทองคำครับ คนที่มีรูปร่างงดงาม จะมีสัดส่วนจากสะดือถึงหัว เมื่อเทียบกับจากสะดือถึงเท้าแล้ว เท่ากับ 0.618 พอดี ความยาวจากสะดือถึงหัวไหล่ของคนเราจะมีสัดส่วนเท่ากับ 0.382 เท่า ในขณะที่สัดส่วนจากหัวถึงปลายมือของเราจะมีสัดส่วนเท่ากับ 0.382 เท่าของความยาวจากสะดือไปยังปลายเท้าเช่นกัน (ดูรูป 10.2 A ประกอบด้วยแล้วกันครับ) นอกจากนี้ แม้แต่ในส่วนที่เล็กที่สุดและมีความสำคัญต่อชีวิตที่สุด คือ ดีเอ็นเอ (DNA : Dioxy ribo-Nucleic Acid) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิต (บางท่านเรียก DNA ว่า เกลียวชีวิตครับ) ก็เป็นไปตามสัดส่วนทองคำด้วย (ตามที่แสดงในรูป 10.2 B)

แต่สัดส่วนทองคำที่เห็นได้บ่อยที่สุด จะอยู่ในรูปของวงก้นหอย (ด้งแสดงในรูปที่ 10.2 C) ซึ่งวงก้นหอยนี้ สามารถสร้างได้จากสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีด้านยาวเป็น 1.618 เท่าของด้านกว้าง เราเรียกสี่เหลี่ยมนี้ว่า สี่เหลี่ยมทองคำ (Golden Rectangle) โดยเราสามารถสร้างสี่เหลี่ยมทองคำขนาดเล็กขึ้นจากสี่เหลี่ยมทองคำอันเดิมได้ไม่รู้จบ เมื่อโยงเส้นโค้งตามแนวทแยงมุมจะได้วงก้นหอยที่ขดตัวไม่รู้จบ โดยวงก้นหอยนี้จะมีรัศมีที่ค่อยๆขยายตัวเป็นสัดส่วนเท่ากับ 1.618 และมีความยาวของเส้นรอบวงขยายตัวด้วยสัดส่วนเดียวกัน การขยายตัวแบบวงก้นหอยนี้ จะพบเห็นได้ทั่วไป เช่น ในเปลือกหอย, ลูกสน, เขาแกะ, หางม้าน้ำ, วังวงของกระแสน้ำ, การม้วนตัวของคลื่น, การหมุนตัวของพายุเฮอริเคน และแม้แต่การขยายตัวของเอกภพ ก็เป็นไปตามแบบแผนนี้ด้วยเช่นกัน

ดังนั้น จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ถ้าเราสามารถพบสัดส่วนทองคำในสภาวะธรรมชาติทั่วไปได้แล้ว ทำไมเราจะพบสัดส่วนทองคำในตลาดหุ้นบ้างไม่ได้ คำอธิบายก็คือ เนื่องจากมันเป็นธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคย ดังนั้น คนเราส่วนใหญ่ก็มักจะประพฤติตัวตามสัดส่วนทองคำนี้ด้วย เพียงแต่มันเป็นพฤติกรรมที่เราทำไปโดยสัญชาตญาณและไม่ได้ใส่ใจนึกถึงมันเท่านั้นเอง

ถึงตอนนี้เราก็เริ่มเข้าใจตัวเลขของฟิโบนาชี่ และสัดส่วนทองคำกันดีแล้ว ต่อไปนี้ เราก็จะเริ่มนำเอาสัดส่วนทองคำที่ได้จากตัวเลขของฟิโบนาชี่ มาประยุกต์ใช้กับตลาดหุ้นกัน โดยเราจะเริ่มจากการนำเอาสัดส่วน 0.618 และ 0.382 ตลอดจน 1 และ 1.618 มาใช้ในการคาดการณ์เป้าหมายของราคาหุ้น ว่าควรจะเข้าไปรับซื้อในช่วงไหน และราคานำจะวิ่งไปได้ถึงระดับไหน ซึ่งเป็นเรื่องของ การปรับฐานหรือการดีดตัว (Retracement) และการต่อตัว (Extension) ครับ

เนื้อหาต่อไป : การปรับฐานและการต่อตัวกันก่อน Fibonacci Extension

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : คุณสมบัติบางประการของลำดับตัวเลขฟิโบนาชี่