Stop Loss คืออะไร ?

มาดูกัน ตลาดนั้นมักจะทำตามใจของมัน และเคลื่อนไหวไปตามอย่างที่มันต้องการ ทุกๆ วันนั้นจะมีความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ และไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม การเมือง เศรษฐกิจ หรือข่าวจากธนาคารกลาง สามารถทำให้ราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่มันต้องการเร็วเกินกว่าที่มือของคุณจะคว้าอะไรไว้ได้ทัน

นี่หมายความว่า แต่ละคนนั้นจะมีโอกาสที่จะเทรดคนละด้านกับตลาด

การเสียนั้นไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ แต่ว่าเราสามารถควบคุมว่าเราควรจะทำอย่างไรถ้าเกิดเหตุการณ์นั้นได้ และคุณสามารถตัดขาดทุนของคุณได้อย่างรวดเร็วแทนที่จะถือมันไปแล้วจะรอมันกลับมา

แน่นอน ว่าเสียแค่ครั้งเดียว มันอาจจะหมายถึงการเสียจนหมดตัวได้

มีคำพูดหนึ่ง กล่าวว่า มีชีวิตอยู่เพื่อเทรดวันถัดไป คำพูดนี้ควรจะเป็นคติพจน์สำหรับมือใหม่ทุกคน เพราะว่า ยิ่งคุณอยู่ได้นานเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งได้เรียนรู้มากขึ้น ได้ประสบการ และเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ

ซึ่งทำให้การ Stop loss เป็นทักษะและเครื่องมือที่สำคัญในกล่องเครื่องมือของเรา

การตัดสินใจจุดออกไว้ก่อน ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณสามารถหยุดขาดทุนไว้ แต่ยังให้คุณมีโอกาสเทรดใหม่ครั้งต่อไป และกำจัดความเครียดของคุณได้ จากการเทรดโดยไม่อิงแผนการ

ยิ่งความกดดันน้อย ยิ่งดี ใช่ไหม? แน่นอนว่ามันดี ดังนั้นเราควรจะตัดสินใจตัดขาดทุนให้เร็ว

ตอนนี้ก่อนที่เราจะมาเรียนรู้ เทคนิคการตั้ง Stop loss เราจะมาดูกฏการตั้ง Stop loss

Stop Loss ของคุณควรจะมีอยู่ในความคิดของคุณ ก่อนที่คุณจะเทรดแล้ว

เมื่อราคามันถึงจุดนี้ มันควรจะบอกคุณได้ว่า ได้เวลาต้องปิดออเดอร์แล้ว

เนื้อหาถัดไป เราจะพูดถึงการตั้ง Stop loss วิธีต่าง ๆ

มี 4 ขั้นตอนการตั้ง Stop loss ที่ควรใช้คือ :

1. Equity stop

2. Chart stop

3. Volatility stop

4. Time stop

พร้อมหรือยัง? มาเริ่มกันเลย !

Equity Stop

มาดูตัวที่เป็นพื้นฐานกันจริงๆ ก่อน คือ Equity Stop หรือ จุดหยุดขาดทุนตามต้นทุน

ซึ่งรู้จักกันอีกชื่อ คือ Percent Stop เพราะว่า มันวัดจากขนาดของบัญชีของเทรดเดอร์ สมมติว่า 2% ซึ่งเทรดเดอร์อยากจะเสี่ยงในการเทรด

เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงสามารถเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่เทรดเดอร์ว่า อาจจะน้อยหน่อย หรือมากหน่อย ซึ่งอาจจะถึง 10% ของบัญชีของพวกเขา หรือบางคนอาจจะใช้ 2% จากเทรดเพียงหนึ่งครั้ง

เมื่อเราคิดเป็น เปอร์เซ็นต์ เทรดเดอร์จะใช้ ขนาดของออเดอร์ในการคำนวณว่า เขาควรจะตั้งจุด Stop loss เท่าไหร่ดี

ดีไหม?

เทรดเดอร์จะตั้ง Stop loss ซึ่งควรจะอยู่ในแผนการเทรดของเขาด้วย

เป็นการเทรดที่ดีไหม?

ไม่ดี !!!

คุณควรจะจะต้องตั้ง Stop loss ตามสภาพตลาด หรือ ตามระบบเทรดของคุณ ไม่ใช่ว่าตั้งตามคุณควรจะเสียเท่าไหร่

เราพนันว่า คุณกำลังคิดว่า “หือ? มันไม่มีเหตุผล คุณบอกว่าเราต้องจัดการความเสี่ยงไม่ใช่หรอ?”

เราเห็นด้วยที่ว่า มันฟังดูสับสน แต่ว่า ให้เราอธิบายให้ฟังหน่อย จากตัวอย่างของมือใหม่ Ned ดู

Ned มีบัญชี Mini Account ด้วยเงิน 500 เหรียญ และ Lot น้อยที่สุดที่เค้าเทรดได้คือ 10k Ned ตัดสินใจ เทรด GBP/USD เพราะเขาเห็นว่า แนวต้านที่ราคา 1.5620 เป็นแนวต้านที่แข็งแกร่ง

ตามการจัดการความเสี่ยงของเขา Ned เลือกจะเสี่ยงที่ 2% ต่อการเทรด 1 ครั้ง

ที่จำนวน 10k ของค่าเงิน GBP/USD แต่ละจุดนั้นมีค่า 1 เหรียญ ซึ่ง 2% ของบัญชีเขาเท่ากับ 10 เหรียญ ดังนั้น Stop Loss ของ Ned ต้องเท่ากับ 10 จุดซึ่งจุด Stop loss ของเขาคือ 1.5630

แต่ GBP/USD เคลื่อนไหวมากกว่า 100 จุดต่อวัน เขาอาจจะโดน Stop loss ได้ทุกเมื่อ มาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้

ออเดอร์ของ Ned ชน Stop loss ไม่นานจากนั้น เพราะว่า มันแคบเกิดไป และหลังจากนั้นเขาพลาดโอกาสทำกำไรหลายร้อยจุด !

จากตัวอย่าง คุณจะเห็นความอันตรายของการใช้ Equity Stop ที่ตั้งตามอำเภอใจ โดยไม่มีเหตุผล

จุด Stop loss นั้นตั้งไว้ใกล้กับ เหมือนกรณีของ Ned

คุณสามารถตั้ง Stop loss ของคุณ ณ ที่ราคาสามารถกลับตัวได้ (เคยได้ยินรึเปล่า) แต่เพราะออเดอร์ของคุณจะชน Stop Loss ซะก่อน คุณก็เลยหมดโอกาสทำกำไรเลย แย่จัง!

การแก้ปัญหานี้สำหรับ Ned คือการหาโบรกเกอร์ที่เหมาะกับ Style การเทรดของเขา และเงินทุนเริ่มต้นที่เหมาะสม

ในกรณีนี้ Ned ควรจะเทรดด้วยโบรกเกอร์ที่ให้เขาเทรดบัญชี Micro หรือว่า ประมาณ 1k lot ค่าเงิน GBP/USD ซึ่งแต่ละจุดมีมูลค่าจุดละ 10 เซ็นต์

เพื่อให้ Ned ไม่รู้สึกกดดันเกี่ยวกับความเสี่ยง เขาก็จะสามารถตั้ง Stop loss ค่าเงิน GBP/USD ที่ 100 จุด เพื่อความเสี่ยงในบัญชีของเขา 2% และเขาก็จะสามารถตั้ง Stop loss ตามสภาพตลาดได้ด้วย ตามระบบเทรดและตามแนวต้านที่เขาคิดไว้

เนื้อหาต่อไป : Chart Stop

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : ความสำคัญของขนาดของ order ที่ถูกต้อง