ความสำคัญของขนาดของ order ที่ถูกต้อง

ตอนนี้เราได้เรียนรู้การเทรดที่ใหญ่เกินตัวแล้ว มาดูการใช้ Leverage ที่ถูกต้องและ การใช้ขนาดของ order ที่ถูกต้องกัน

ขนาดของ order คือ จำนวน lot ของแต่ละ order ที่คุณทำการ Buy หรือ Sell ค่าเงิน

นี่เป็นหนึ่งในทักษะการเทรดที่สำคัญ

ซึ่งเราบอกว่านี่เป็นทักษะที่สำคัญที่สุด

เทรดเดอร์ (trader) คือ ผู้จัดการความเสี่ยง นั่นคือความหมายที่ชัดเจนที่สุด ก่อนที่คุณจะเริ่มเทรดเงินจริง ๆคุณควรจะต้องคำนวณขนาดของ order ในใจได้ !

การเทรดขนาดของ order ที่ถูกต้องจะทำให้คุณรู้สึกไม่กังวลต่อความเสี่ยง ย้ำว่าไม่กังวลกับความเสี่ยง !

เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับค่าเงินที่คุณกำลังเทรดและบัญชีของคุณ (ว่าเป็นบัญชี ดอลล่าร์ ยูโร ปอนด์ ฯลฯ) คุณต้องมีขั้นตอนในการคำนวณซักสองสามขั้นตอน

ทีนี้ ก่อนที่เราจะเริ่มคำนวณ เรามาดูข้อมูล 5 อย่างที่ต้องใช้กัน :

1. ยอดรวมในบัญชี

2. ค่าเงินที่คุณเทรด

3. % เงินในบัญชีที่คุณอยากจะเสี่ยง

4. Stop loss กี่จุด

5. ราคาของค่าเงินตอนนั้น

ไม่ยากใช่รึเปล่า ? มาดูกันต่อ

การคำนวณขนาดของ order

เพื่อให้เข้าใจง่าย เราจะอธิบายด้วยตัวอย่างแทน

คนนี้เป็นมือใหม่ ชื่อ Ned

นานมาแล้ว ตั้งแต่เขาไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับการเทรดเลย เขาล้างพอร์ท เพราะว่าเขาเทรด Lot ใหญ่เกินไป เขาเทรดด้วย Position ที่ใหญ่เกินไป

Ned ไม่ได้เข้าใจความสำคัญของ ขนาดของ order ต่อขนาดบัญชีของเขา

เขากลับมาเรียนรู้ในโรงเรียน School of Pipsology คราวนี้เพื่อให้เขาเข้าใจยิ่งขึ้น และเพื่อเขาจะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขา และมันจะไม่เกิดกับคุณ !

ตามตัวอย่าง เราจะแสดงให้คุณเห็นว่า เราจะคำนวณขนาดของ order ของคุณในบัญชี และขนาดของความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้

ขนาดของ order นั้นไม่เกี่ยวกับว่า หน่วยเงินในบัญชีจะตรงกับ ค่าเงินที่คุณเล่นหรือไม่

หน่วยเงินในบัญชีกับค่าเงินหน่วยเดียวกัน

Ned ได้ฝากเงิน 5,000 เหรียญสหรัฐในบัญชีเทรด เขาพร้อมที่จะเทรดอีกครั้ง ตอนนี้เขาใช้ระบบ Swing Trade และเทรด EUR/USD และเขาเสี่ยงที่ 200 จุดต่อการเทรด 1 ครั้ง

หลังจากที่เขาล้างพอร์ทมาหนึ่งครั้งเขา สัญญากับตัวเองว่าจะไม่เสี่ยงมากกว่า 1 % ของบัญชีเทรดของเขาต่อการเทรด 1 ครั้ง มาดูที่ขนาดของ order ขนาดไหนที่เขาควรจะเสี่ยง

ใช้ยอดเงินในบัญชี และจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่คุณอยากเสี่ยง และคำนวณเป็นหน่วยดอลล่าร์

USD 5,000 x 1% (or 0.01) = USD 50

แล้ว ต่อไปเอาจะนวนเงินที่คุณเสี่ยงได้ หารด้วยจำนวนจุดที่คุณ ตั้ง Stop loss คุณก็จะได้ขนาด กำไรขาดทุนต่อ 1 จุด ของค่าเงิน

(USD 50)/(200 pips) = USD 0.25/pip

สุดท้าย เราคูณ จำนวนมูลค่าต่อจุดด้วย มูลค่าเงินของ EUR/USD ขณะนั้น ซึ่ง กรณีนี้เท่ากับ 10 k (บัญชี mini Lot) ซึ่งแต่ละจุดมีค่า 1 เหรียญ

USD 0.25 ต่อ จุด x ((10k ค่าเงิน EUR/USD)/(USD 1 per pip)) = 2,500 หน่วยของค่าเงิน EUR/USD

ดังนั้น Ned สามารถใช้ตัวเลข 2,500 หน่วยของค่าเงิน EUR/USD เพื่อใช้ในการควบคุมความเสี่ยง

ไม่ยากใช่รึเปล่า? แต่ว่า ถ้าบัญชีของคุณ เป็นมีหน่วยค่าเงินไม่ตรงกับค่าเงินที่คุณเล่นหล่ะ ?

หน่วยเงินในบัญชี กับ ค่าเงินที่ต่างกัน

สมมติว่า Ned กำลังอยู่ในประเทศแถบยุโรป และอยากเทรดโฟเร็กกับโบรกเกอร์ท้องถิ่น เขาจึงฝากเงิน 5000 ยูโร

Using the same trade example as before (trading EUR/USD with a 200 pip stop) what would his position size be if he only risked 1% of his account?

EUR 5,000 x 1% (or 0.01) = EUR 50

ตอนนี้เราต้องคำนวณกลับเป็นดอลล่าร์เพราะว่า ค่าเงินนั้นจะถูกคำนวณเป็นค่าเงินฐาน สมมติว่า อัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโรเท่ากับ 1.5000 ดอลล่าร์ (EUR/USD = 1.5000)

สิ่งที่เราต้องทาคือหามูลค่าของ USD ในอัตราแลกเปลี่ยน ของค่าเงิน EUR/USD แล้วคูณด้วยจำนวน ความเสี่ยงเป็นค่าเงินยูโรที่เราจะเสี่ยง

(USD 1/EUR 1.5000) x EUR 50 = ประมาณ USD 33.33

ต่อไปหาด้วยความเสี่ยงเป็นดอลล่าร์ ตาม Stop loss ของคุณ :

(USD 33.33)/(200 จุด) = $0.16 เหรียญต่อจุด

ซึ่งจะทำให้ Ned ได้ตั้ง Stop loss 200 จุด อยู่โซนที่ไม่เสี่ยง

สุดท้าย คูณด้วยมูลค่าต่อจุด ต้องรู้มูลค่าต่อจุดซะก่อน :

(USD 0.16 ต่อ จุด) x [(10k ของค่าเงิน EUR/USD)/USD1 ต่อจุด )] = 1,666 หน่วยของ EUR/USD

ดังนั้นการเสี่ยง 50 ยูโร หรือน้อย ในการเทรดบน Stop loss 200 จุด จะต้องใช้ขนาด 1,666 หน่วย (ประมาณ 0.16 lot ในโบรค MT4)

ไม่ยากใช่ไหม?

ทีนี้มาดูอะไรที่ซับซ้อนกว่านั้นกัน

ไม่ต้องเครียด เราจะพยายามอธิบายให้มันง่าย

ขนาดออเดอร์ที่ซับซ้อน

ในบทเรียนนี้ เราจะสอนคุณว่าจะคำนวณค่าเงิน ซึ่งใช้ค่าเงินฐานที่คุณไม่ได้ใช้เทรดด้วย

บัญชีที่ไม่ได้ใช้ค่าเงินฐานก็คือ ไม่ตรงกับเงินฐานของค่าเงินที่เทรดอยู่ในขณะนั้น

Ned นั้นอยู่ในสหรัฐ ฯ (เราคิดว่าเขาเป็นสายลับระดับโลกที่ชอบเที่ยวพักผ่อนไปทั่วโลก) และวันนี้เขาอยากจะเทรดค่าเงิน EUR/GBP ด้วยจุด Stop loss 200 จุด เพื่อหาขนาดออเดอร์ที่ถูกต้องเราต้องหาค่าของความเสี่ยงของบัญชีของ Ned เป็นเงินปอนด์

จาได้ไหม? มูลค่าของค่าเงินนั้นคิดตามเงินที่เป็นฐาน

โอเค มาดูเรื่องนี้กัน เขาเทรดเปิดบัญชีด้วยโบรกเกอร์ในสหรัฐฯ ซึ่งเขาใช้ Sell EUR/GBP และเขาอยากจะเสี่ยงเพียงแค่ 1 % ของเงินที่เขามี 5000 เหรียญ หรือ 50 ดอลล่าร์

การหาขนาดออเดอร์ที่ถูกต้องในเหตุการณ์นี้ เราต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงิน GBP/USD สมมติว่า เป็น 1.7500 และเพราะบัญชีของเขานั้นเป็นบัญชีUSD เราต้องคิดกลับให้เป็นแบบเงินปอนด์ก่อน

USD 50 x (GBP 1/USD 1.7500) = GBP 28.57

ตอนนี้เราก็ก็ได้เงินปอนด์มา เราก็ทาแบบตัวอย่างก่อนหน้านี้ คือ หารค่า Stop loss ออกมาเป็นจุด :

(GBP 28.57)/(200 จุด) = GBP 0.14 ต่อจุด

และสุดท้ายคุณด้วยอัตรามูลค่าหน่วยต่อจุด :

(GBP 0.14 ต่อจุด ) * [(10k ของค่าเงิน EUR/GBP)/(GBP 1 ต่อ จุด)] = ประมาณ 1,429 หน่วย ของค่าเงิน EUR/GBP

Ned สามารถ Sell ไม่ควรจะมากกว่า 1,429 ของค่าเงิน EUR/GBP เพื่อไม่ให้เสี่ยงมากนัก

บัญชีที่ไม่ได้ใช้ค่าเงินฐานก็คือ ไม่ตรงกับเงินฐานของค่าเงินที่เทรดอยู่ในขณะนั้น

Ned อยากจะไปเล่น Snow Board ในสวิตเซอร์แลนด์ และระหว่างนั้นนั้น เขาเปิดบัญชีเทรดผ่านมือถือของเขา ด้วยโบรกเกอร์ท้องถิ่น เขาเห็นว่าราคา CHF/JPY กำลังจะไปได้ส่วย และเขาตัดสินใจว่าเขาจะ ตัดขาดทุนถ้า มันชนแนวต้าน ซึ่งประมาณ 100 จุด Ned จะเสี่ยงที่ 1 % ของเงินในบัญชี 5000 ฟรังค์ หรือ 50 ฟรังค์

อันดับแรกเราต้องหาค่าเงินฟรังค์ 50 ฟรังนี้เป็นเงินเยนเสียก่อน และเพราะว่า บัญชีฐานนั้นไม่ได้ตรงกับค่าเงินฐานที่เทรดอยู่ เราต้องคูณด้วยจำนวนความเสี่ยงของค่าเงิน CHF/JPY สมมติอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ (85.00) :

CHF 50 x (JPY 85.00/ CHF 1) = JPY 4,250

ตอนนี้เราก็เพียงแค่คำนวณเหมือนวิธีปกติอื่น ๆ คือ หาร Stop loss ด้วยจุด :

JPY 4,250/100 จุด = JPY 42.50 ต่อจุด

และสุดท้ายก็คูณด้วย อัตราหน่วยต่อจุด :

JPY 42.50 ต่อจุด x [(100 หน่วย ของค่าเงิน CHF/JPY)/(JPY 1 ต่อจุด )] = ประมาณ 4,250 หน่วยของค่าเงิน CHF/JPY

อะแฮ่ม เห็นมั๊ยเสร็จแล้ว !

Ned ไม่ควรจะเทรดมากกว่า 4250 หน่วย ของค่าเงิน CHF/JPY เพื่อจะให้ ความเสี่ยงของเขาอยู่ที่ 50 ฟรังค์

สรุป : ขนาดของออเดอร์

หลังจากที่เราผจญภัยข้ามโลกกับ Ned มา กับตัวอย่างการคิด ขนาดของออเดอร์ดังกล่าว ตอนนี้คุณเป็นนักจัดการความเสี่ยงที่ชานาญแล้ว

ตอนนี้ถ้าคุณรู้ว่าจะต้อง ขนาดของออเดอร์ที่ถูกต้องอย่างไร นั้นเป็นส่วนของการจัดการความเสี่ยง

ส่วนที่เหลือก็คือ วินัยในการเทรด

คุณต้องทำตาม Stop Loss เข้าออกตามกฎของคุณ และเมื่อคุณมั่นใจคุณก็จะมั่นใจในการทำกำไรยิ่งขึ้น

สุดท้าย เรารู้ว่าคุณไม่ชอบพกเครื่องคิดเลข และ ไม่ได้มีโปรแกรมคำนวณขนาดของออเดอร์ ติดกับโปรแกรมเทรดของคุร เรามี เครื่องช่วยคำนวณ ออเดอร์สำหรับคุณ position sizing calculator ! (www.babypips.com/tools/forex-calculators/positionsize.php)

เยี่ยมไหม ถึงเวลาปรมมือแล้ว เย้ ๆ ๆ ๆ ๆ ขอบคุณครับ ไม่เป็นไร

ใช้เครื่องคิดเลข ถ้าคุณอยากจะใช้ ...

คุณควรจะใช้มันทุก ๆ ครั้งที่คุณอยากจะเทรด

เหมือนที่ คำเก่า ๆ กล่าวไว้เสมอว่า “ พูดว่าปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่ามาพูดว่า เสียใจ ทีหลัง

เนื้อหาต่อไป : Stop Loss คืออะไร?

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : Leverage กระทบกับต้นทุนของ order เทรดอย่างไร