บทที่ 4

Wedge

รูปแบบถัดไป คือ wedge (รูปที่ 4.4 ) เมื่อมองแบบผิวเผิน จะมีความละม้ายความคลึงกับ pennants แต่ไม่เหมือนกันตรงที่ว่า ระยะในการฟอร์มตัวของ wedge นั้น จะยาวนานกว่าการฟอร์มตัวของ pennants

และที่สำคัญคือ การเกิดก้นบึ้งอันใหม่ในช่วงฟอร์มตัว จะอยู่ต่ำกว่าก้นบึ้งในช่วงก่อนหน้า เช่น 3 อยู่ต่ำกว่า 2 และ 2 อยู่ต่ำกว่า 1 ส่วน wedge ที่เกิดตอน downtrend นั้น การเกิดยอดอันใหม่ ในช่วงฟอร์มตัวจะอยู่สูงกว่ายอดอันเดิม เช่น ยอด 3 อยู่สูงกว่ายอดที่ 2 และยอด 2 อยู่สูงกว่ายอดที่ 1 (เป็นไง รวบรัดดีไหมครับ)

ดูตัวอย่างจริงของการฟอร์มตัวแบบ wedge ซะหน่อยครับ จากตัวอย่างที่ 4.3 จะเห็นได้ว่า หลังจากการฟอร์มตัวแบบ wedge แล้วการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น NFS ยังคงรักษาแนวโน้มเดิมได้อยู่ หรือพูดง่ายๆว่า จากแนวโน้มเดิมที่เป็น uptrend หลังจากเกิด wedge แล้วก็ยังคงเป็น uptrend อยู่ต่อไป

อย่าเพิ่งมึน นะครับ เพราะเหลืออีกเพียงแค่ 2 รูปแบบเท่านั้น ก็จะจบในส่วนของ continuation แล้วครับ อดทนหน่อยหนึ่ง

.Rectangle.

เอา rectangle ก่อนแล้วกัน ตอนนี้อยากให้ผู้อ่านนึกย้อนถึงรูปแบบของ triple tops หรือ triple bottoms เพราะจะทำให้การอธิบายนั้นง่ายขึ้น กล่าวคือ สมมติว่าแนวโน้มเดิมเป็น uptrend เมื่อเกิด triple tops ขึ้นแล้ว ก็จะมีการปรับตัวลง จนราคาได้ทะลุผ่าน base line ลงไป แต่ rectangle จะไม่ใช่อย่างนั้น กล่าวคือ เมื่อมีการปรับตัวลงหลังจากยอดที่ 3 ปรากฏว่าได้มีการดีดตัวขึ้นจากจุด x แล้ว ราคาก็ได้มีการเคลื่อนตัวขึ้นต่อไป จนทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ และนี่เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า rectangle เป็นรูปแบบของ continuation ไม่ใช่ reversal อย่างเช่น triple tops หรือบางคนอาจจะบอกว่า ในช่วง rectangle นั้น มันไม่ต่างจากการเคลื่อนไหวแบบ sideways เลยก็คงจะใช่ครับ ไม่ได้ว่าอะไรครับ แต่ก็ขอบอกว่าผู้อ่านเริ่มเข้าใจแล้ว จริงไหม?

เกือบลืมบอกไป ว่ากันว่ามีข้อสังเกตบางประการ ในการแยกแยะระหว่าง triple tops หรือ triple bottoms กับ rectangle ก็คือ การเกิด triple tops หรือ triple bottoms นั้น จะมีช่วง (channel ) ค่อนข้างกว้างกว่าช่วง (channel ) ของ rectangle พูดอีกอย่างหนึ่งคือ ในกรณีของ triple tops หรือ triple bottoms นั้น การเคลื่อนไหวขึ้นลงจะรุนแรงกว่า ในกรณีของ rectangle

หลังจากที่ผู้อ่านเข้าใจ rectangle ในกรณี uptrend แล้ว ดังนั้นรูปที่ 4.5b ที่แสดงถึง rectangle ในกรณี downtrend ก็น่าจะหวานหมูสำหรับผู้อ่าน ดังนั้น ผู้เขียนจึงจะขอข้ามไปพูดถึงรูปแบบสุดท้ายเลยดีกว่า

Inverted Head & Shoulders

รูปแบบสุดท้าย คือ Head& Shoulders ชื่อมันคุ้นๆๆ อยู่นะ เพราะมันมีชื่อที่เหมือนกับรูปแบบทีเกิดใน reversal แต่ความหมายในที่นี้จะต่างกัน ที่ต่างกันคือ ในกรณีก่อนหน้านั้น เป็น reversal pattern แต่ตอนนี้จะเป็น continuous pattern ดูรูปที่ 4.6a จะเห็นว่ารูปร่างมันเหมือน Head& Shoulders ในกรณี uptrend เพียงแต่กลับหัว กล่าวคือพลิกเอาหัวและไหล่ชี้ลงมาข้างล่าง

แต่ถ้าแนวโน้มเดิมเป็น downtrend การเกิด Head& Shoulders ลักษณะของหัวและไหล่ จะอยู่ในลักษณะปกติ (คือหัวและไหล่ชี้ขึ้น ดังในรูปที่ 4.6b ) ซึ่งกลับด้านกับกรณีของ Head& Shoulders ที่เป็น reversal ดังนั้น บางคนจึงเรียก Head& Shoulders ที่เป็น continuation pattern ว่าเป็น Inverted Head& Shoulders เพราะ มันกลับหัวกับกรณี reversal pattern

ตัวอย่างที่ 4.5 เป็นการนำหลักเกณฑ์ที่เราได้เรียนรู้ มาใช้ประยุกต์กับราคาหุ้น ในลักษณะที่ผสมผสานกันมากขึ้น ทั้งในส่วนของแนวรับแนวต้าน และรูปแบบของการฟอร์มตัว ณ จุดของเวลา ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้อ่านลองสังเกตดูว่าทีรูปแบบใด ตรงไหน อย่างไร ก็ลองดูแล้วกัน ของแบบนี้ต้องหมั่นฝึกฝนครับ

เนื้อหาต่อไป : Gaps

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : Broadening Formation