1. ประเภทของการเทรด

ขอแสดงความยินดีกับคุณด้วย คุณผ่านชั้นเตรียมอนุบาลได้แล้ว ตอนนี้คุณพร้อมแล้วที่จะมาเรียนวันแรก คุณผ่านชั้นเตรียมอนุบาลมาแล้วใช่มั๊ย ตอนนี้คุณก็รู้เรื่องเกี่ยวกับโฟเร็กบ้างแล้ว ว่ามันได้เงินหรือเสียเงินยังไง แล้วมันจะเปลี่ยนแปลงราคายังไง แล้วก็......แล้วก็........แล้วก็

เรารู้ว่าคุณกำลังคิดอะไร น่าเบื่อ บอกเราซะทีสิว่าจะทำกำไรยังไง

เอาละ ไม่มีอีกแล้วแบบนั้น เพราะว่าต่อไปนี้จะเป็นก้าวแรกของการเดินทางในฐานะโฟเร็กเทรดเดอร์… นี่เป็นโอกาสสุดท้ายของคุณที่คุณสามารถหันหลังกลับไปได้ ทานยาเม็ดสีแดงแล้วเราจะพาคุณกลับไปที่ที่คุณจะลืมทุกอย่างที่คุณอ่านมา คุณก็จะกลับไปมีชีวิตอย่างปกติสุข ในการทำงานตั้งแต่ 9 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็นทุกๆวัน ทำงานให้คนอื่นตลอดชีวิต

หรือ

คุณเลือกยาเม็ดสีเขียว(สีเขียวสำหรับเงินของคุณ เย้ๆๆ) แล้วมาเรียนรู้ว่าจะทำกำไรให้คุณเองในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้ได้ยังไง ซึ่งก็ต้องใช้สมองกันหน่อย แต่จำไว้ว่า สิ่งที่คุณต้องเรียนรู้ยังมีอีกเยอะ แม้ว่าหลังจากที่คุณเรียนจบไปจาก BabyPips.com คุณต้องศึกษาด้วยตัวคุณเองอีก และถ้าคุณอยากกลายมาเป็นมืออาชีพด้านการเทรด forex ตอนนี้คุณได้เวลากินยาเม็ดสีเขียวแล้ว ตามด้วยโอวัลติน แล้วก็เอาปิ่นโตข้าวกลางวันของคุณมา เราจะไปโรงเรียน…School of Pipsology กัน!

หมายเหตุ : ยาเม็ดสีเขียวมีส่วนประกอบของสารล้างสมอง ตอนนี้คุณต้องเชื่อฟังทุกอย่างที่เราพูด ฮ่าๆๆๆๆๆๆ! <--หัวเราะแบบหัวหน้าแก๊ง

การเทรด มีสองประเภท

มีการเทรด อยู่สองประเภทที่เป็นพื้นฐานในกาเทรด forex ดังนี้ :

1. การวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน หรือ Fundamental analysis

2. การวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยทางเทคนิค หรือ Technical analysis

ทั้งสองประเภทมักจะมีคนมีแสดงความคิดเห็นหรือว่า โต้แย้งกันอยู่เสมอว่าแบบไหนจะดีกว่ากัน แต่ว่า เราบอกความจริงคุณได้อย่างหนึ่งคือ คุณจำเป็นต้องรู้ทั้งสองอย่าง อย่างละหน่อย ตอนนี้เรามาเจาะลงไปในสองเรื่องนี้กัน แล้วค่อยนำมันกลับมารวมกันทีหลัง

การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน หรือ Fundamental Analysis

การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน คือวิธีการที่มองหาทิศทางตลาดผ่านทางทิศทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองซึ่งมีผลต่อ อุปสงค์และอุปทาน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คุณมองไปที่เศรษฐกิจของแต่ละประเทศว่า ประเทศไหนดีกว่า และเศรษฐกิจประเทศไหนที่กำลังย่ำแย่ ความคิดพื้นฐานในการวิเคราะห์แบบนี้ คือ ถ้าประเทศที่มีเศรษฐกิจดี ค่าเงินของพวกเขาก็จะดีตามไปด้วย เพราะว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจดีกว่า ความน่าเชื่อถือต่อค่าเงินนั้นย่อมมีมากกว่า

ตัวอย่างเช่น เงินดอลล่าร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นเพราะว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากที่เศรษฐกิจเช่นนี้ อัตราดอกเบี้ยก็ต้องสูงขึ้นตามไปด้วยเพื่อใช้ในการควบคุมเงินเฟ้อ และมูลค่าของเงินดอลล่าร์ก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และนี่คือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

และในช่วงท้ายของบทเรียนคุณจะได้เรียนเกี่ยวกับข่าวที่มีผลก็การเคลื่อนไหวของค่าเงินมากที่สุด ตอนนี้เราแค่ทำความรู้จักกับการวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานอย่างคร่าวๆไปก่อน ว่าจะใช้วิเคราะห์โดยใช้การวัดความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจยังไง

การวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยทางเทคนิค

การวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นการศึกษาทิศทางของราคา หรือเรียกอีกอย่างว่า การวิเคราะห์ กราฟ แนวคิดก็คือ เราสามารถใช้ทิศทางการเคลื่อนไหวของในอดีต และพื้นฐานของพฤติกรรมราคา มาตัดสินว่าราคาจะไปในทิศทางใด โดยการดูกราฟนั้นจะทำให้คุณบอกทิศทางหรือรูปแบบของกราฟ ซึ่งสามารถช่วยหาโอกาสในการเทรดดีๆได้

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือของการเรียนรู้การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานคือเทรนด์ หลายคนพูดว่า เทรนด์เป็นเพื่อนของคุณ เพราะว่าคุณสามารถทำกำไรได้เมื่อคุณหาเทรนด์เจอและเทรดไปในทิศทางเดียวกับมัน การวิเคราะห์ทางพื้นฐานจะช่วยคุณหาเทรนด์ได้เมื่อมันเริ่มก่อเทรนด์ ดังนั้นคุณก็จะมีโอกาสที่จะทำกำไรได้สูง

ตอนนี้คุณอาจจะกำลังคิดว่า “ไอ้หมอนี่ ฉลาดแน่ๆเลย” พวกเขาใช้คำพูดที่หรูหราดูดีเป็นวิชาการ เช่น "technical" บ้างละ "fundamental" บ้างละ “เราคงเรียนไม่ได้หรอกเพราะมันคงยาก” อย่าพึ่งไปกังวลมาก หลังจากที่คุณจบจากโรงเรียน School of Pipsology คุณอาจจะ อืมมมมมมม!!! อาจจะ ฉลาด! เหมือนเรานี่แหละ

ยังไงก็ตาม คุณรู้สึกว่ายามันออกฤทธิ์รึยัง? ไหนลองเห่าให้ฟังซิ!

แล้วการวิเคราะห์แบบไหนที่ดีกว่า?

อะฮ่า คำถามนี้มีมูลค่า 1 ล้านเหรียญ ระหว่างที่คุณเดินทางในเส้นทาง forex ของคุณ เพื่อต้องการเป็นนักเทรด forex คุณต้องหาข้อดีข้อด้อย ทั้งการวิเคราะห์โดยการใช้ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์โดยการใช้ปัจจัยทางเทคนิค คุณจะมีคำถามนี้ขัดแย้งในตัวคุณตลอดว่า fundamentals อย่างเดียวจะช่วยผลักดันตลาดได้หรอ? แล้วรูปแบบต่าง ๆ เหล่านั้นมันเกิดขึ้นโดยบังเอิญอย่างนั้นหรอ? หรือว่า อาจจะมีใครคนนึงแย้งว่า ที่รูปแบบกราฟเป็นไปตาม technicals เพราะว่า เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคนี้ ทำให้รูปแบบการเคลื่อนไหวของราคา ในอดีตสามารถทำนายรูปแบบราคาในอนาคตได้

อย่าพึ่งมาใส่ใจกับเรื่องอะไรพวกนี้ ไม่มีอะไรดีกว่ากันหรอก...

ในการที่จะกลายมาเป็นนักเทรดมืออาชีพ คุณจะต้องรู้ว่าเราจะใช้การวิเคราะห์ทั้งสองชนิดให้มีประสิทธิภาพอย่างไรมากที่สุด ไม่เชื่อใช่มั๊ย? ลองมาดูตัวอย่างซักตัวอย่างกัน ว่าการรู้แค่อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียวนั้นอาจจะสร้างความเสียหายให้กับคุณได้

- ถ้าคุณกำลังมองที่กราฟของคุณเพื่อหาโอกาสในการเข้าเทรดที่ดี คุณจะรู้สึกตื่นเต้นเหมือนกับว่าเงินเยอะแยะมากมายกำลังจะหล่นลงมาจากฟ้าราวกับสายฝน คุณคงจะพูดกับตัวเอง “ฉันไม่เคยเห็นโอกาสงามๆในการเทรดอย่างนี้มาก่อนเลยหว่ะ ฉันชอบกราฟของฉันจังเลย”

- คุณเข้าเทรดด้วยรอยยิ้มบนใบหน้าที่ฉีกยิ้มกว้างๆ (แบบว่าเห็นฟันของคุณหมดเลย)

- แต่เดี๋ยวก่อน เมื่อผ่านไปสักพัก คุณขาดทุน 30 จุด และคุณพึ่งมารู้ว่ามีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยและทุกคนก็เทรดในทิศทางตรงกันข้ามกับคุณ

- ร้อยยิ้มของคุณเมื่อกี๊เปลี่ยนเป็นบูดบึ้ง และคุณเริ่มหงุดหงิดให้กับกราฟของคุณ คุณเหวี่ยงคอมพิวเตอร์ของคุณลงไปกองกับพื้น และเริ่มกระทืบมัน คุณเพิ่งจะเสียเงินของคุณไป และตอนนี้คอมพิวเตอร์ของคุณก็พัง และมันก็จบลงแบบนี้เพราะว่าคุณไม่ได้ใส่ใจกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

(หมายเหตุ : เรื่องนี้ไม่ได้มาจากเค้าโครงเรื่องจริง นี่ไม่ได้เกิดกับเรา ฉันไม่เคยไร้เดียงสาขนาดนั้น ฉันเป็นนักเทรดที่ฉลาดเสมอ .... จากเรื่องที่กล่าวมา เราคิดว่าคุณคงนึกภาพออก)

โอเค โอเค ถึงแม้เรื่องจะเว่อร์ไปหน่อยแต่ว่ามันก็ทำให้คุณเข้าใจผมได้

โฟเร็กเป็นเหมือนลูกบอลพลังงานขนาดใหญ่ และภายในลูกบอลมีความสมดุลกันของปัจจัยทางพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางของตลาด

จำไว้ว่า แม่และพ่อของคุณเคยบอกคุณเมื่อตอนเด็กๆ ว่าอะไรก็ตามที่เยอะเกินไปย่อมไม่เป็นผลดีกับตัวเรา เอาละคุณอาจจะคิดว่า เรื่องนั้นมันไม่เห็นเกี่ยวกันแต่ว่าในโฟเร็กเราต้องสินใจว่าเราจะใช้การวิเคราะห์แบบไหนในสถานการณ์ไหน อย่าให้ความสำคัญไปที่อย่างเดียว แทนที่คุณจะเรียนรู้การใช้ทั้งสองอย่างอย่างสมดุลกัน เพราะว่ามีคุณเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าสิ่งไหนดีที่สุดในการเทรดของคุณเอง

เนื้อหาต่อไป : 2. ประเภทของกราฟ Forex

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า :