2. ประเภทของกราฟโฟเร็ก

ลองมาดูกราฟที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสามอันดับกัน :

1. Line chart

2. Bar chart

3. Candlestick chart

Line Charts

เป็นกราฟแบบธรรมดาที่วาดเส้นจากราคาปิดที่หนึ่งไปยังราคาปิดอีกจุดหนึ่ง เมื่อเอาเส้นมาเชื่อมกัน เราก็จะเห็นราคาเคลื่อนไหว ในช่วงเวลานั้นๆ

นี่เป็นตัวอย่างของ line chart ของ EUR/USD :

Bar Charts

Bar chart ก็แสดงราคาปิดเหมือนกัน แต่ว่าก็บอกราคาเปิดได้ด้วย พร้อมทั้งจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของราคา เส้นแนวตั้งที่แสดงจุดที่อยู่ต่ำสุดของบาร์แสดง ราคาที่ต่ำสุดที่มีการเทรดในช่วงเวลานี้ ขณะที่จุดยอดสุดของบาร์ก็คือราคาสูงสุดของช่วงเวลาดังกล่าวเหมือนกัน ดังนั้นมันจึงบอกระยะของราคาที่เคลื่อนไหว และเส้นแนวขวางด้านซ้ายของบาร์นั้น เป็นราคาเปิด และด้านขวาของบาร์เป็นราคาปิด

นี่เป็นตัวอย่างของ bar chart ของ EUR/USD :

หมายเหตุ : ตลอดที่ผ่านมาของบทเรียนของเรา คุณจะเห็นว่า คำว่า “bar” หมายถึงขีดหนึ่งขีดบนชาร์ท bar 1 bar แสดงหนึ่งช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห์ หรือหนึ่งชั่วโมง เมื่อคุณเห็นคำว่า ‘bar’ คุณก็ต้องรู้ว่ามันอยู่ในช่วงเวลา (time frame) ใด

Bar charts อาจจะเรียกว่า “OHLC” เพราะว่ากราฟเหล่านี้บอกได้ถึงราคาเปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุดและราคาปิด (the Open, the High, the Low, and the Close) สำหรับค่าเงินค่าเงินหนึ่ง ตามตัวอย่างดังนี้ :

Open : เส้นแนวนอนทางซ้ายเป็นราคาเปิด

High : จุดยอดของเส้นแนวตั้งบอกถึงราคาที่สูงที่สุดของเวลาที่ใช้อยู่

Low : จุดต่ำสุดของเส้นแนวตั้ง บอกถึงราคาที่จุดต่ำสุดของเวลาที่ใช้อยู่

Close : เส้นแนวนอนทางด้านขวาคือราคาปิด

Candlestick Charts

หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือกราฟแท่งเทียนซึ่งแสดงข้อมูลประเภทเดียวกันกับ bar chart, แต่ว่าในรูปแบบที่ดูดีกว่า และมีมิติมากกว่า

กราฟแท่งเทียนสามารถบอกราคาสูงสุดและต่ำสุดด้วยการใช้เส้นแนวตั้งแนวนอน อย่างไรก็ตามกราฟแท่งเทียน มีกล่องสี่เหลี่ยมใหญ่ๆ อยู่ตรงกลางในระยะระหว่าง ราคาเปิดกับราคาปิด โดยทั่วไปแล้ว ถ้าบล็อคที่อยู่ตรงกลางมีสี แสดงว่าค่าเงินนั้นปิดต่ำกว่าราคาเปิด

ตามตัวอย่างข้างล่าง สี่ที่เติมลงไปเป็นสีดำ สำหรับเส้นด้านบนของบล็อคเป็นราคาเปิด และเส้นด้านล่างของกล่องสี่เหลี่ยมเป็นราคาปิด ถ้าราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด บล็อคก็จะมีสีขาว หรือว่าไม่มีสีใดๆ

เราไม่นิยมใช้กราฟแท่งเทียนสีดำและสีขาว เรารู้สึกว่าดูง่ายกว่าถ้าชาร์ทมีสี ทีวีสีย่อมดีกว่าทีวีขาวดำ จริงมั๊ย?

โดยปกติเราใช้สีเขียวแทนสีขาว และใช้สีแดงแทนสีดำ ซึ่งหมายถึงราคาปิดที่สูงกว่าราคาเปิด และกราฟแท่งเทียนจะกลายเป็นสีเขียว ถ้าราคาปิดอยู่ต่ำกว่าราคาเปิดกราฟแท่งเทียนจะเป็นสีแดง ในบทต่อไปคุณก็จะเห็นว่าการใช้สีเขียวและสีแดงจะทำให้คุณเห็นและเข้าใจอะไรได้เร็วขึ้น เช่นขาขึ้น ขาลงและจุดกลับเทรนด์ ตอนนี้แค่จำไว้ว่า เราใช้สีแดง และสีเขียวในกราฟแท่งเทียนแทนการใช้สีดำและสีขาวและเราจะใช้สีนี้ตั้งแต่นี้ไป

ลองมาดูกราฟแท่งเทียนเหล่านี้กันในแบบของ BabyPips ว้าววววววว เรารู้คุณชอบ ใช่มั๊ยล่ะ!

นี่เป็นตัวอย่างของกราฟแท่งเทียนสำหรับค่าเงิน r EUR/USD ดูดีใช่มั๊ย?

จุดประสงค์ของการใช้กราฟแท่งเทียนคือ เพราะมันง่ายต่อการทำความเข้าใจ และให้ข้อมูลได้ละเอียดเช่นเดียวกันกับ OHLC bar chart จุดที่ได้เปรียบกว่าของกราฟแท่งเทียนมีดังนี้ :

- กราฟแท่งเทียนเข้าใจได้ง่ายกว่าและ ง่ายสำหรับมือใหม่ ในการใช้กราฟในการวิเคราะห์

- กราฟแท่งเทียนใช้ง่าย ซึ่งตาของคุณจะรับรู้ข้อมูลที่มันแสดงอย่างง่ายดาย

- กราฟแท่งเทียน และรูปแบบของกราฟแท่งเทียนมีชื่อที่เก๋ไก๋ เช่น shooting star ซึ่งช่วยให้คุณจำได้ว่ารูปแบบอย่างนี้หมายความว่ายังไง

- กราฟแท่งเทียนใช้ในการวิเคราะห์จุดกลับตัวในตลาดได้ดี

– จุดกลับตัวจากเทรนด์ขาขึ้นกลายเป็นขาลงคุณจะได้เรียนรู้เรื่องนี้ในบทต่อไป

ตอนนี้คุณก็รู้แล้วว่าทำไมกราฟแท่งเทียนถึงใช้ได้ดี และมันถึงเวลาแล้วที่คุณจะใช้กราฟแท่งเทียน แม้จะยังมีกราฟอื่นๆ อีก ที่เราจะพูดถึง

3. บทสรุปของการวิเคราะห์และกราฟ

ชนิดของการเทรด :

- มีการวิเคราะห์อยู่สองชนิดคือ การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค

- การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานคือการวิเคราะห์ภาวะตลาดผ่านความแข็งแกร่งของภาวะเศรษฐกิจ (ตัวอย่างเช่น เงินดอลล่าร์กำลังแข็งค่าเพราะว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเป็นขาขึ้น)

- การวิเคราะห์ทางเทคนิคคือการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา การวิเคราะห์ทางเทคนิค = การใช้กราฟ

- กราฟทางเทคนิคจะช่วยให้เราวิเคราะห์เทรนด์ซึ่งทำให้เรามีโอกาสในการทำกำไร

- การที่จะเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ คุณต้องใช้และรู้จักกับการวิเคราะห์ทั้งสองแบบ

เนื้อหาต่อไป : 1. กราฟแท่งเทียน คืออะไร?

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : 1. ประเภทของการเทรด