แนวรับและแนวต้าน Support and Resistance

แนวรับ และ แนวต้านเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีคนใช้เยอะมากในการเทรด ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะมีความคิด หรือแนวคิดของตัวเองในการประมาณว่า อะไรคือแนวรับอะไรคือแนวต้าน

ลองมาดูตรงพื้นฐานกันก่อน

ดูที่ภาพด้านบน คุณจะเห็น รูปกราฟ ซิกแซก กำลังเป็นเทรนด์ขาขึ้น(ตลาดกระทิง) เมื่อตลาดปรับตัวขึ้นแล้วปรับฐานลงมา จุดสูงสุดที่เคยมาถึงก่อนหน้ำมันจะปรับฐาน จุดนั้นเรียกว่า แนวต้าน

เมื่อตลาดเคลื่อนตัวขึ้นอีกครั้ง จุดต่ำสุดที่มันปรับฐาน คือจุดที่ใช้เป็นแนวรับ กรณีนี้ แนวต้านและแนวรับจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแม้จะเกิดการกลับเทรนด์กลายเป็นตลาดขาลงก็จะยังมีแนวต้านแนวรับอยู่เช่นเดิม

การกำหนดแนวรับแนวต้าน

สิ่งหนึ่งที่ควรเข้าใจไว้เกี่ยวกับแนวรับและแนวต้านคือไม่ใช่ตัวเลข หรือว่า จุดตายตัว ทุกครั้ง คุณจะเห็นแนวรับแนวต้านถูกทำลาย แต่บางครั้งคุณจะพบว่ามันเป็นการขึ้นไปทดสอบแนวรับแนวต้านเฉย ๆ ซึ่งถ้าเรามองโดยใช้ กราฟแท่งเทียน การทดสอบแนวรับแนวต้านนั้น จะใช้ตัวไส้เทียนเสมอ ในการวัดว่าเป็นการทดสอบแนวรับแนวต้าน

สังเกตไส้ของแท่งเทียนทดสอบที่แนวต้าน 2500 ซึ่งดูผิวเผินแล้วตลาดเหมือนจะทำท่าทำลายแนวต้าน แต่ว่าเราจะเห็นได้ว่า ตลาดเพียงแค่ทดสอบแนวต้านเท่านั้น

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า แนวรับแนวต้านถูกทำลายแล้ว?

ไม่มีคำตอบที่ถูกที่สุดของคำถามนี้ บางคนอาจจะบอกว่าแนวรับแนวต้านถูกทำลายแล้วเพราะว่าตลาดนั้นปิดเหนือ แนวต้านนั้น อย่างไรก็ตามคุณจะพบว่า บางครั้งจุดนี้ก็ไม่สามารถวัดได้ (ตามภาพ) ดูตัวอย่างจากภาพคุณจะพบว่า เรายังใช้จุดนี้วัดไม่ได้ได้ว่ามันทะลุขึ้นไปเหนือจากเส้น 2500 แล้ว

ตัวอย่างกรณีนี้ ราคาปิดเหนือแนวต้าน ที่เส้น 2500 สองครั้งแต่ว่าเวลาดังกล่าว ก็ย้อนกลับมาปิดต่ำกว่าเส้นแนวต้านอีก ถ้าคุณเชื่อว่า นี่เป็นการทำลายแนวต้านจริง และซื้อ ณ ตอนนั้น คุณก็คงจะเจ็บตัว ลองดูที่กราฟสิ คุณจะเห็นว่ามันร่วงลงมาในที่สุดเพราะว่าราคาไม่สามารถทะลุแนวต้านไปได้ และราคาได้อ่อนตัวลงเป็นระยะๆ และอ่อนตัวได้อย่างชัดเจน ท้ายที่สุด

ดังนั้นในการที่จะกรองสัญญาณ breakout ต่อไปนี้ คุณควรจะคิดว่า แนวรับและแนวต้านนั้น เป็นโซน มากกว่า การที่จะใช้เพียงแค่ตัวเลขเดี่ยว ๆ วิธีหนึ่งที่ช่วยในการหาโซนนี้คือการวางแนวรับแนวต้าน โดยการใช้ Line Chart แทนที่จะใช้ กราฟแท่งเทียน เหตุผลเพราะว่ามันแสดงให้คุณเฉพาะราคาปิด ขณะที่กราฟแท่งเทียนนั้น ยังแสดงราคา สูงสุด และต่ำสุด ซึ่งทำให้เข้าใจผิด และอาจจะผิดได้บ่อย ๆ เพราะว่ามันเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ของสภาวะตลาด มันทำให้คนบางคน ตัดสินใจอะไรออกมาก แต่ถ้าเราถามเขา เขาจะบอกว่า “ขอโทษที มันเป็นปฏิกิริยาจากภาวะตลาด”

เมื่อเราพล็อตเส้น แนวรับ และ แนวต้าน คุณไม่จำเป็นต้องใช้ปฏิกิริยาจากภาวการณ์เคลื่อนไหวของตลาด คุณแค่พล็อตมันออกมาอย่างคร่าว ๆ ก็พอ

ลองดู Line Chart ข้างล่าง คุณต้องพล็อตแนวต้านและแนวรับรอบ ๆ พื้นที่ ที่คุณเห็นราคาขึ้นไปจุดสูงสุด

จุดอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ แนวรับและแนวต้าน

1. เมื่อตลาดทะลุผ่านแนวต้าน และแนวต้านนั้นจะกลายเป็นแนวรับ

2. ยิ่งราคาทุดสอบแนวรับหรือแนวต้านบ่อยครั้งเท่าไหร่ และไม่สามารถผ่านไปได้ ยิ่งทำให้เห็นว่าแนวรับแนวต้านนี้เป็นแนวที่แข็งแกร่ง

เนื้อหาต่อไป : เส้นเทรนด์ไลน์

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : บทสรุปของกราฟแท่งเทียน