อัตราดอกเบี้ย 101

ถ้าจะอธิบายง่ายๆ ก็คือ อัตราดอกเบี้ยทำให้โลกแห่งโฟเร็กหมุนต่อไป หรืออีกทางหนึ่งก็คือ ตลาด Forex ถูกกำหนดโดยอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน

อัตราดอกเบี้ยค่าเงิน บางทีก็เป็นปัจจัยหลักในการบอกมูลค่าของค่าเงิน ดังนั้น ถ้าเรารู้ว่า ธนาคารกลางแต่ละประเทศนั้นมีนโยบายการเงินของเขาอย่างไร อย่างเช่น การตัดสินใจเรื่อง อัตราดอกเบี้ยของพวกเขา ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณหัวหมุนได้เหมือนกัน

สิ่งที่ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจต่อการขึ้นลง และความเสถียรของค่าเงินคือ เงินเฟ้อ

เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอยู่ต่อเนื่องเนื่องจากราคาของสินค้าและบริการที่เพิ่มขี้น

เงินเฟ้อ เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมเงินผู้ปกครองหรือพ่อแม่ของพ่อแม่ของคุณจ่ายตังค์แค่ไม่กี่ สลึงซื้อก๋วยเตี๋ยวซักถ้วยเมื่อ 80 ปีที่แล้ว แต่ว่าตอนนี้พวกเรากลับจ่ายเป็น 20 เท่ากับก๋วยเตี๋ยว เหมือนกัน

เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นนั้นมาพร้อมกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ เพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อที่เยอะเกินไปสามารถทำให้เศรษฐกิจอยู่ในอันตรายได้ ซึ่งนี่เป็นเหตุผล ว่าทำไมธนาคารกลางแต่ละที่จะคอยควบคุมเงินเฟ้อให้มีความสำคัญกับเครื่องมือทางเศรษฐกิจ ตัวอื่น เช่น CPI และ PCE (ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค กับ ดัชนีรายจ่ายภาคครัวเรือน)

ประเทศธนาคารกลาง
ออสเตรเลีย
แคนาดา
สหภาพยุโรป
ญี่ปุ่น
นิวซีแลนด์
สวิตเซอร์แลนด์
สหราชอาณาจักร
สหรัฐฯ
Reserve Bank of Australia (RBA)
Bank of Canada (BOC)
European Central Bank (ECB)
Bank of Japan (BOJ)
Reserve Bank of New Zealand (RBNZ)
Swiss National Bank (SNB)
Bank of England (BOE)
Federal Reserve (Fed)

ในการพยายามรักษาเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ธนาคารกลางซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจเรื่อง อัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลในต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและชะลอเงินเฟ้อได้

ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงในทำให้ผู้บริโภคลดการกู้ยืมและประหยัดมากขึ้น มากกว่าที่จะเอาเงินไปลงทุนภาคธุรกิจ การกู้เงินจะเริ่มมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นซึ่งการฝากเงินนั้นมี ผลตอบแทนดีพอสมควร

อีกนัยหนึ่งเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคและภาคธุรกิจจะเริ่มเพิ่มการกู้ยืม (เพราะว่าธนาคาร จะลดข้อจำกัดในการกู้ลง) ซึ่งทำให้ธุรกิจรายย่อยนั้นมีเงินทุนหมุนเวียนและทำให้เศรษฐกิจ เติบโตขึ้น

ยิปปี้ !

แล้วเราจะใช้มันกับตลาด Forex ยังไง?

ค่าเงินนั้นขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยเพราะว่ามันเคลื่อนไหวตามตามกระแสเงินที่ไหลเข้าและออก จากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่ง และมันยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้ตัดสินว่าพวกเขา จะเข้าลงทุนในประเทศนั้นๆ หรือไม่

ถ้าคุณมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ดอกเบี้ย 1 เปอร์เซ็นต์ และอีกธนาคารหนึ่งให้ดอกเบี้ย .25 เปอร์เซ็นต์ คุณจะฝากธนาคารไหนล่ะ

คุณไม่จำเป็นต้องบอกเราก็รู้

ใช่ คำตอบก็ไม่ได้แตกต่างกันหรอก เอาเงินไปใส่ไหฝังดินดีกว่า? เราพูดเล่นนะ

ฮ่า ๆ ๆ เราก็ต้องเลือก 1 % ใช่ไหม?

เราก็คิดเช่นนั้น เพราะว่า 1 ก็ต้องมากกว่า .25 อยู่แล้ว !

ยิ่งประเทศนั้นมีอัตราดอกเบี้ยสูงเท่าไหร่ และยิ่งทำให้ค่าเงินนั้นแข็งค่าขึ้น ค่าเงินที่ดอกเบี้ยต่ำนั้นเป็นค่าเงินที่อ่อนค่าในระยะยาว

ไม่ยากเลยใช่ไหม?

จุดประสงค์หลักที่เราต้องเรียนรู้ที่นี่คืออัตราดอกเบี้ยภายในประเทศนั้นส่งผลต่อความรู้สึกของ นักลงทุนในตลาดโลกรู้สึกยังไงกับมูลค่าของค่าเงินหนึ่งซึ่งเทียบกับอีกค่าเงินหนึ่ง

ความคาดหวังเรื่องอัตราดอกเบี้ย

ตลาดนั้นเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยที่และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน อัตราดอกเบี้ยก็เหมือนกัน มัน จะเปลี่ยนแต่ว่าไม่ได้เปลี่ยนบ่อยมากนัก

เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้เวลามากมายสนใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยเพราะว่าตลาดนั้นได้รับรู้ราคา นั้นก่อนล่วงหน้าไปแล้ว แล้วอะไรที่สำคัญว่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยที่เต็มไปด้วยความคาดหวังว่าจะ ทำให้ค่าเงินเคลื่อนไหวในทางที่ทุกคนคิด

มันก็เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันที่จะรู้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับ นโยบายทางการเงิน และวัฏจักรทางการเงิน

ถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าในช่วงที่ผ่านมา มันเป็นไปไม่ได้ที่การเคลื่อนไหวค่าเงินจะเป็นไปใน ทิศทางตรงกันข้าม

อัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นเพราะบางเหตุผลเท่านั้น

และคุณสามารถตรวจสอบดูได้ว่านักเก็งกำไรพยายามที่จะคาดหวังว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากที่ อัตราของเบี้ยได้ประกาศออกมาและเคลื่อนไหวอย่างไร

ตลาดจะบอกเขาเอง มันเป็นธรรมชาติ ความคาดหวังนั้นเป็นสัญญาณที่บอกว่าการเก็งกำไรจะ เริ่มขึ้นและจะมีโมเมนตั้มของอัตราดอกเบี้ยจะเปลี่ยนในไม่ช้า

ขณะที่อัตราดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลงและนโยบายการเงินก็มีการเปลี่ยนแปลง อารมณ์ตลาดก็ จะเปลี่ยนไปด้วยทันทีเพียงเมื่อมีรายงายเรื่องนั้นออกมา

นี่เป็นสาเหตุให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงตลาด ไม่ว่าข่าวนั้นจะเป็นที่คาดการณ์ไว้ก่อนแล้วก็ตาม

ดังนั้น คุณก็ควรติดตามข่าวเหล่านั้นด้วย !

เนื้อหาต่อไป : ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย

prevcontentnext

เนื้อหาก่อนหน้า : การวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานคืออะไร ?