เราจะใช้ Pivot Points ในการเทรดอย่างไร
การเทรดโดยใช้ Breakout
Pivot point ควรจะเป็นสิ่งแรกที่คุณควรจะใช้ในการเทรด เพราะมันเป็นทั้งแนวรับและแนวต้านแรก การเคลื่อนไหวของราคาครั้งใหญ่ ปกติแล้วจะเกิดขึ้นที่ช่วงราคาของ Pivot Point อยู่แล้ว
เมื่อราคาถึง Pivot Point จะสามารถบอกได้ว่าเราควรจะส่ง Buy หรือ Sell และตั้งจุดทำกำไร และ จุด หยุดขาดทุนไว้ตรงไหน โดยปกติถ้าราคาอยู่เหนือเส้น Pivot นั่นคือภาวะตลาดกระทิง และถ้าต่ำกว่าเส้น Pivot นั่นคือตลาดอยู่ในภาวะตลาดหมี
สมมติว่า ราคากำลังขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่แถวจุด Pivot Point และปิดต่ำกว่าจุด Pivot Point ดังนั้นคุณจะควรตัดสินใจ ส่ง order Sell จุดหยุดขาดทุนก็จะอยู่เหนือจุด Pivot Point และจุดทำกำไรของคุณจะอยู่เส้นแนวรับแรก
อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเห็นราคายังเคลื่อนไหวในขาลงอย่างต่อเนื่อง แทนที่คุณจะทำกำไรที่แนวต้านที่หนึ่ง ในดูอย่างใกล้ชิด ซึ่งแนวรับที่สองก็จะเป็นจุดต่ำสุดที่ราคาจะเคลื่อนไหวไปถึงได้แทนในวันทำการและควรจะเป็นจุดทำกำไรที่ยอดเยี่ยม ซึ่งไม่ควรจะขยับไปอีก
การเกิดการกลับตัวมาเป็น ขาขึ้น ถ้าราคาปิดเหนือจุด Pivot Point คุณจะต้องส่ง order Buy ถ้าราคาปิดสูงกว่าราคา Pivot Point และเราจะตั้งจุดทาตัดขาดทุน ที่จุดต่ำกว่าจุด Pivot Point และใช้แนวต้านที่ 1 และ แนวต้านที่สองเป็นจุดทำกำไรของเรา
การเทรดโดยการใช้จังหวะสวิงของราคา
ความแข็งแกร่งของแนวรับและแนวต้านที่จุด Pivot ในระดับที่แตกต่างกันซึ่งจะวัดจากจำนวนครั้งที่ราคามาทดสอบแนวรับแนวต้านที่ Pivot นั้น
ยิ่งราคาทดสอบแนวรับแนวต้านแล้วไม่สามารถผ่านไปได้ ยิ่งหมายความว่าจุด Pivot จุดนั้นเป็นแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่ง Pivot นั้นหมายถึงการเข้าไปทดสอบแนวรับแนวตต้านและหลังจากนั้นจะกลับตัว ดังนั้นเราจึงเรียกว่า Pivot
ถ้าราคาอยู่ใกล้ระดับแนวต้านข้างบนคุณสามารถส่งคำสั่ง Sell และตั้งจุดหยุดขาดทุนที่จุดเหนือเส้นแนวต้าน
ถ้าราคา ยังคงเคลื่อนไหวไปในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่องเหนือเส้นแนวต้าน ซึ่งเป็นจุดการเกิดเบรคเอาท์ขาขึ้น เราก็ควรจะปิด order ของเรา แต่ถ้าคุณเชื่อว่า ราคาจะยังเคลื่อนไหวรุนแรงต่อไป คุณอยากจะไหลไปตามเทรนด์คุณก็สามารถส่ง Buy แล้วก็ใส่จุดตัดขาดทุนให้ต่ำกว่าจุดแนวต้านที่คุณเพิ่งจะใช้เป็นจุด Stop loss ใน order ก่อนหน้า ซึ่งตอนนี้จะกลายมาเป็นแนวรับแล้ว
ถ้าราคาอยู่ใกล้เส้นแนวรับข้างล่าง คุณสามารถสอง order Buy และใส่จุดตัดขาดทุนต่ำกว่าเส้นแนวรับได้ เช่นเดียวกัน
ความสมบูรณ์แบบของทฤษฎี ?
ในโลกของทฤษฎี มันฟังจะดูเหมือนง่ายและเป็นไปตามใจเราทุกอย่างจริงมั๊ย? !
แต่ในโลกแห่งความจริง Pivot point ไม่ได้สมบูรณ์แบบไปทุกครั้ง การเคลื่อนไหวของราคาดูเหมือนจะแกว่งตัวขึ้นๆ ลงๆ ในช่วงของ pivot point อยู่ตลาดเวลา และบางครั้งมันก็ยากจะบอกว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
บางครั้ง ราคาก็หยุดก่อนที่มันจะถึงราคาที่ Pivot point กำหนดขึ้น และบางครั้งอาจจะไม่ถึงจุดทำกำไรของคุณ หรือว่าในบางครั้ง เส้นแนวรับแนวต้าน ก็ไม่ได้เป็นเส้นแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่งจนคุณเห็นแต่ราคาร่วงเอาร่วงเอาอย่างไม่คิดจะหยุด
คุณต้องเลือกที่จะเล่นซักหน่อย และคุณต้องสร้างเงื่อนไขให้กับ Pivot Point ที่คุณคิดว่าจะเป็นจุดในการตัดสินใจอย่างเคร่งครัด
ลองมาดูที่กราฟข้างล่างว่า จุดไหนที่ยากและง่ายในการทำความเข้าใจ กันบ้าง
โอ๊ว สีสันเยอะดี เราชอบ.......
มองดูที่วงรีสีส้ม จะเห็นว่า Pivot Point เป็นแนวรับที่แข็งแกร่งแต่ถ้าคุณส่ง order BUY มันก็ไปไม่ถึง เส้นแนวต้านที่หนึ่งเลย
มองดูที่วงกลมสีม่วง ค่าเงินทะลุ Pivot Point แต่ว่าไปไม่ถึงแนวรับที่ 1 ก่อนที่จะวกกลับไปที่เส้น Pivot Point ครั้งที่สองของการทะลุจุด pivot Point ขึ้นไป (จุดวงกลมสีม่วงตาแหน่งที่สอง) พยายามจะไปทดสอบแนวต้านที่ 1 ก่อนที่จะกลับตัวเข้ามาอยู่ต่ำกว่าเส้น pivot point อีกครั้ง
ดูที่วงรีสีชมพูอีกครั้ง จุด Pivot Point เป็นแนวรับที่แข็งแกร่งแต่ว่าราคาก็ไม่สามารถทะลุผ่านแนวต้านที่ 1 ไปได้
ในวงกลมสีเหลือง ค่าเงินเปลี่ยนมาเป็นขาลงอีกครั้ง ทะลุผ่านแนวรับที่หนึ่งและลงไปจนถึงแนวรับที่สอง
ถ้าคุณพยายามที่จะส่งคำสั่ง Buy ในกราฟลักษณะนี้ order ของคุณจะชน Stop loss ทุก ครั้ง
โดยส่งตัวแล้ว เราไม่เคยคิดจะแนะนำให้คุณส่ง order Buy ในค่าเงินนี้เลย ทำไมนะหรอ? เรามีความลับนิดหน่อย ซึ่งเราไม่ได้ใส่ลงไปในกราฟนี้เนื่องจากราฟนี้เป็นเทรนด์ขาลง
จำไว้ว่า เราต้องเกาะเทรนด์เสมอ เราไม่ต้องไม่แทงข้างหลัง(ทะลุถึงหัวใจ ฮา) เพื่อนของเราด้วยการเทรดตรงข้ามกับเทรนด์เมื่อเทรนด์คือเพื่อนของเรา
ในบทต่อไป คุณจะได้เรียนรู้การใช้ Time Frame หลายๆ Time Frame ในการเทรด์ให้ถูกเทรนด์ ดังนั้นคุณก็จะสามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นเช่นกราฟข้างบนได้