Fibonacci Retracement Lines
ในขาขึ้น เราควรจะส่งคำสั่ง Buy ในระดับเส้น Fibonacci และในการที่จะหาค่าของเส้นฟิโบนาชี่นั้น คุณสามารถคลิ๊กใช้เครื่องมือ แล้วลากจากจุดที่สวิงต่ำสุด ไปยังจุดที่สวิงสูงสุดของราคา แล้วมันจะปรากฏเส้นต่าง ๆ ที่แสดงเป็นอัตราส่วน และเป็นไปตามสัดส่วนของฟิโบนาชี่ เราลองมาดูตัวอย่าง ตลาดในขาขึ้นกัน
นี่เป็นกราฟ USD/JPY ที่ Time Frame 1 ชั่วโมง ซึ่งเราจะวางเส้นฟิโบนาชี่ โดยการคลิ๊กที่จุดที่ราคาสวิงที่ราคาต่ำที่สุด ณ 110.78 ในวันที่ 07/12/05 แล้วก็ลากเม้าส์ไปที่จุดราคาสวิงสูงสุดคือ ที่ 112.27 ในวันที่ 07/13/05 คุณจะเห็นว่า จะมีระดับฟิโบนาชี่ต่าง ๆ ที่โปรแกรมสร้างขึ้น ซึ่งมีระดับต่าง ๆ ดังนี้ 111.92 (0.236), 111.70 (0.382), 111.52 (0.500), และ 111.35 (0.618). ตอนนี้ การคาดการณ์ของเราก็คือ ถ้า USD/JPY ราคาลดลงมาจากจุดสูงสุด มันจะชนกับแนวรับที่เส้น แรกของฟิโบนาชี่ และเทรดเดอร์จะส่งคำสั่ง ซื้อที่ ราคานี้ ถ้าเทรดเดอร์คาดการณ์ว่าตลาดจะตีกลับขึ้นไปอีก

ทีนี้เราลองมาดูว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากที่ราคาสวิงไปที่จุดสูงสุดแล้ว ตลาดได้ปรับฐานลงมาที่ระดับ 0.236 และเคลื่อนไหวไปที่ระดับ 0.382 แต่ว่าไม่สามารถทำการปิดต่ำกว่าระดับนี้ได้ และในวันถัดมา ตลาดก็วิ่งเป็นเทรนด์ขาขึ้นต่อไป ซึ่งถ้าเราซื้อที่ ระดับ 0.382 เป็น order ที่ดีมากสำหรับการเทรดระยะสั้น

ตอนนี้เราลองมาดูการใช้ ฟิโบนาชี่กับขาลงกันบ้าง นี่เป็นกราฟ 1 ชั่วโมง ค่าเงิน EUR/USD ตามที่คุณเห็น เราพบว่าราคาสูงสุดครั้งก่อนอยู่ที่ 1.3278 ในวันที่ 02/28/05 และจุดที่ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 1.3169 ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น จากนั้นเราจะลากเส้น Fibonacci และจะมีระดับต่าง ๆ ดังนี้ 1.3236 (0.618), 1.3224 (0.500), 1.3211 (0.382), และ 1.3195 (.236). เราคาดว่า จะยังเป็นขาลง และถ้าราคามาชนแนวต้านใดๆ ในเส้นฟิโบนาชี่ เทรดเดอร์จะส่ง order sell ที่ระดับนั้นๆ

แล้วเราลองมาดูว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ไม่นาน คุณจะเห็นว่า เราเข้าได้ราคาดีขนาดไหน ตลาดพยายามจะวิ่งเปลี่ยนทิศทางผ่าน ระดับ 0.500 ไปจนถึงราคาที่ 1.3227 และมันก็ปิดต่ำกว่าเส้น ฟิโบนาชี่ของเรา หลังจากแท่งนั้น คุณจะเห็นได้ว่า ตลาดหมีได้แสดงพลังอย่างชัดเจน และ ถ้าเราส่งคำสั่งขายที่ระดับ 0.382 ก็ถือเป็น รางวัลก้อนโตสำหรับเราเลย

นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่เห็นเป็นกราฟ ใน Time frame 1 ชั่วโมงของค่าเงิน GBP/USD เรามีจุดที่ราคาขึ้นไปสูงสุดที่ 1.7438 ณ วันที่ 07/26/05 และจุดที่ราคาปรับตัวต่ำสุดที่ ราคา 1.7336 ในวันถัดไป ดังนั้น ระดับของเส้นฟิโบนาชี่เป็นดังนี้ 1.7399 (0.618), 1.7387 (0.500), 1.7375 (0.382), และ 1.7360 (0.236). หลังจากนั้นเรากลับมามองดูที่ กราฟ ตลาดเหมือนจะพยายามทำลายแนวต้านที่ระดับ 0.500 หลายครั้ง แต่ว่า มันก็ไม่สามารถทะลุไปได้ ดังนั้น เราอาจจะส่ง order Sell ที่ ระดับ 0.500 ซึ่งอาจจะเป็นจุดเข้าที่ดี

ทีนี้เราลองมาดูผลกัน ถ้าคุณส่ง order คุณจะเสียหายอย่างใหญ่หลวง ลองดูในกราฟว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น จุดต่ำสุดของราคาเป็นจุดที่ต่ำสุดของขาลงด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้ตลาดปรับตัวเองขาขึ้น

จากตัวอย่างคุณจะเห็นว่า ตลาดนั้น พยายามที่จะหาจุดแนวรับแนวต้านของมันเอง ทั้งในช่วงขาขึ้นหรือขาลง ตามจุดต่างๆ ของเส้น ฟิโบนาชี่ที่เราขีดขึ้นมา ซึ่งก็มีปัญหานิดหน่อยในการตัดสินเรื่องนี้ เพราะว่าเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า จุดไหนที่มันจะกลายเป็นแนวรับหรือแนวต้าน ที่จุด 0.236 ดูเหมือนจะเป็นแนวรับแนวต้านที่อ่อนไปหน่อย แต่จุดอื่นๆ ก็ให้แนวรับแนวต้านในระดับความแข็งแกร่งของมันเท่าๆ กันหมด แม้ว่ากราฟในนี้จะเห็นว่ากราฟส่วนใหญ่จะทำการปรับตัวที่ ระดับ 0.382 แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะยึดจุดนี้เป็นจุดตัดสินตายตัวได้ทุกครั้งว่ามันจะกลับตัวหรือไปต่อ บางครั้งมันก็ไปชนระดับ 0.500 แล้วก็กลับตัว หรือบางครั้งมันอาจจะไปจนถึงระดับ 0.618 หรือว่าบางครั้ง มันอาจจะพุ่งตรงทะลุแนวฟิโบนาชี่เหล่านี้ไป ผ่านระดับที่เราขีดขึ้นมาอย่างไม่สนใจใยดี เหมือนกับที่ อัลเลน ไอเวอร์สัน (นักกีฬาบาสเก็ตบอล) พาลูกผ่านแนวรับไปซะอย่างนั้น จำไว้ว่า ตลาดจะไม่บอกว่าเป็นขาขึ้นทุกครั้ง ถ้ามันเจอแนวต้าน และบางครั้งราคาอาจจะกลับมาเป็นขาลงตามเดิมถ้ามันไม่สามารถทำลายแนวต้านได้ และอาจจะทำราคาต่ำสุดครั้งใหม่ขึ้น หรือ อีกนัยหนึ่ง ตลาดอาจจะทะลุแนวต้านแล้วกลับไปทำราคาสูงสุดใหม่ขึ้น ก็เป็นไปได้เช่นกัน
การใส่จุด SL ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง ซึ่งมันจะดีมากถ้าเราใส่จุด SL ที่จุดที่ราคาทำราคาต่ำสุดเดิมเมื่อกี้ (ในกรณีที่เป็นขาขึ้น) หรือว่า เหนือจุด ที่ราคาเคลื่อนที่ไปได้สูงสุดเดิม (ในกรณีขาลง) แต่ว่ามันก็รวมถึงความเสี่ยงก้อนใหญ่ที่เราต้องแบกรับ ซึ่งเรียกว่า อัตรา Reward ต่อ Risk ในบทต่อๆ ไปคุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การจัดการการเงิน และการควบคุมความเสี่ยง ซึ่งคุณจะเทรดเมื่อคุณเข้าใจอัตรา Reward ต่อ Risk ชัดเจนแล้ว
อีกปัญหาหนึ่งเกี่ยวกับการตัดสินใจ คือการตัดสินว่าจุดไหนเป็นจุดต่ำสุดของราคาและจุดไหนเป็นจุดสูงสุดของราคาแล้วเพื่อการขีดเส้นแบ่งระดับ Fibonacci เราสามารถมองดูที่กราฟ คุณจะเห็นว่า มันมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไป แต่ประเด็นคือ ไม่มีวิธีการที่ตายตัวหรอกว่าเราจะตัดสินจุดต่ำสุดของเทรนด์ยังไง ซึ่งบางครั้งอาจจะฟังดูแย่ที่มันขาดหลักการ แต่นี่ก็เป็นสิ่งที่เราต้องเดากันละ