ศักดิ์ของตัวหมากรุก

ศักดิ์ของตัวหมากรุก การนับศักดิ์ในหมากรุกมี ๒ ลักษณะ นับศักดิ์กระดาน - นับศักดิ์หมาก บทสรุปการต่อสู้ของหมากรุกไทยมี ๓ ลักษณะคือ อับ - เสมอ - จน เมื่อเพลี่ยงพล้ำใช่ว่าจะแพ้เสมอไป หากฝีมือไม่ห่างชั้นกันมากยังมีทางออกเพื่อแก้หน้าได้ อย่างน้อยก็ยังได้ชื่อว่าไม่แพ้แค่เพลี่ยงพล้ำไป ๑ กระดาน เปรียบเหมือนการศึกในความเป็นจริงที่บ่อยครั้ง จอมทัพสูญเสียไพร่พลแต่ตนเองเอาตัวรอดกลับไปได้เพื่อจะนำทัพมารบใหม่ ตราบที่ยังไม่จัดการตัวจอมทัพได้อยู่หมัดก็ถือว่าไม่ชนะได้จริง การนับศักดิ์จึงเหมือนการต่อรองกลางสนามรบซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา

ศักดิ์หมากรุกไทย

หมากรุกไทยแต่ละตัวต่างมีศักดิ์ ยกเว้นขุนเท่านั้นที่ไม่มีศักดิ์ เพราะในการเล่นหมากรุก ต้องเดินให้อีกฝ่ายพ่ายแพ้ หมากรุกแต่ละตัวจึงมีศักดิ์ของตนดังนี้

เบี้ย..ไม่มีศักดิ์ เพราะเปรียบเสมือนทหารเลว ไม่สามารถจะเดินออกนอกกรอบของตนได้ ต้องเดินในแนวหน้าตรงไปตลอดถอยหลังไม่ได้จนกว่าจะหงาย คือเดินถึงแนวตั้งของเบี้ยฝ่ายตรงข้าม จะกลายเป็นเบี้ยหงายหรือเป็นเม็ดอีกตัวจึงจะมีศักดิ์ของตัว

เม็ด มีศักดิ์ ๖๔

โคน ๑ ตัว มีศักดิ์ ๔๔ - โคนคู่ มีศักดิ์ ๒๒

ม้า ๑ ม้า มีศักดิ์ ๖๔ - ม้าคู่ มีศักดิ์ ๓๒

เรือ ๑ ลำ มีศักดิ์ ๑๖ - เรือคู่ มีศักดิ์ ๘

จะเห็นว่าหากตัวหมากมีเหลือมากกว่า ๑ ตัวศักดิ์ของหมากจะลดลง ยกเว้นศักดิ์ของเม็ดที่ไม่มีการลดเพราะมีเม็ดเพียงตัวเดียว อาจมีเบี้ยที่หงายกลายเป็นเม็ดอีกตัวไม่นำมายกย่องเท่าเม็ดเดิม เป็นแต่เพียงเบี้ยหงายโดยให้ความสำคัญกับเม็ดเดิมเท่านั้น

การถือศักดิ์ของหมาก

ให้ถือเมื่อตอนปลายกระดาน โดยให้นับถือศักดิ์ตามลำดับนี้

- หากมีเรือเหลือ ให้นับศักดิ์เรือ

- ไม่มีเรือมีม้าเหลือ ให้นับศักดิ์ม้า

- ไม่มีเรือและม้ามีโคนเหลือ ให้นับศักดิ์โคน

- ไม่มีเรือม้าและโคนมีเม็ดเหลือ ให้นับศักดิ์เม็ด

หลักการนับศักดิ์ของหมากรุกไทย next